กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" ในทางปฏิบัติ เมื่อนักโทษได้ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว ต้องรอฟังพระบรมราชวินิจฉัยเสียก่อน จึงจะดำเนินการขั้นต่อไป ฎีกาของนักโทษประหารให้ยื่นได้ครั้งเดียวเท่านั้น ในการประหารชีวิตนักโทษนั้น ให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำในท้อง ที่ที่ทำการประหาร เป็นประธานกรรมการ เจ้าพนักงานเรือนจำระดับหัวหน้าฝ่าย แพทย์การประหารชีวิตส่วนมากจะทำที่เรือนจำกลางบางขวางซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการนนทบุรีหรือผู้แทนร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย โดยกรมราชฑัณฑ์จัดผู้แทนไปดูแลความเรียบร้อยในการประหารชีวิต ก่อนวันประหารชีวิต ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ถูกประหาร พร้อมทั้งรับแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของนักโทษที่มีอยู่ในสำนวนและหมายศาลมาทำการตรวจสอบ การตรวจสอบนั้นให้สอบกับแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือที่เก็บอยู่ ณ กองทะเบียนประวัติอาชญากร ตามเลขคดีและนามผู้ต้องโทษ เมื่อตรวจแล้วรายงานผลการตรวจสอบและส่งแผ่นพิมพ์ลายนิ้วซึ่งได้จัดการพิมพ์ขึ้นคราวนี้ 1 ฉบับ กับแบบพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องโทษที่เอาไปจากสำนวนตามหมายศาลไปยังคณะกรรมการ เรือนจำซึ่งมีหน้าที่ต้องทำการประหารทำการตรวจสอบคดี ตำหนิ รูปพรรณตามทะเบียนรายตัว ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อมิให้มีการประหารผิดตัว

แนวความคิดฝ่ายสนับสนุนให้ใช้โทษประหารชีวิต
1) การประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่แก้แค้นทดแทน อันสาสมกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และการกระทำที่ร้ายแรงถึงทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต อันเป็นสาเหตุอุกฉกรรจ์ โดยถือหลักที่ว่า เมื่อฆ่าผู้อื่นตาย ผู้ฆ่าควรถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกันจึงจะสาสมเป็นการตอบแทนให้แก่ผู้ตายและญาติครอบครัวของผู้ตาย
2) ทำให้เกิดการยุติธรรมในสังคม และเป็นการถูกต้องชอบธรรม
3) ทำให้เกิดการเกรงกลัวมิให้เอาเยียงอย่าง
4) เป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยด้วยการกำจัดอาชญากรโดยเด็ดขาด เป็นการลดอาชญากรรมที่ได้ผลแน่นอน
5) การมีโทษประหารชีวิตทำให้ผู้กระทำผิดร้ายแรง ยอมรับสารภาพเมื่อถูกจับกุมและสอบสวนดำเนินคดี ซึ่งเป็นผลดีแก่รูปคดีและการพิจารณาของศาล เพราะการรับสารภาพจะเป็นเหตุบรรเทาโทษ ฉะนั้นโทษประหารชีวิตจึงมีส่วนเอื้ออำนวยในการสืบหาข้อเท็จจริงแห่งคดี
6) การมีโทษประหารชีวิตจะทำให้ผู้กระทำผิดยับยั้งในการกระทำรุนแรงแก่ผู้อื่นถึงชีวิต เพราะหากทำให้ผู้อื่นตายตนเองก็จะถูกประหารด้วย
7) โทษประหารชีวิตจำเป็นต้องมีอยู่ในกฎหมายอาญา และการที่จะลงโทษประหารแก่ผู้กระทำผิดคนใดนั้น ศาลย่อมต้องพิจารณาถึงลักษณะความรุนแรง และประเภทแห่งการกระทำผิดประกอบกันไปเสมอโดยรอบคอบ
8) การลงโทษประหาร เป็นการช่วยบรรเทาและผ่อนภาระแก่รัฐในการที่จะต้องควบคุมนักโทษเด็ดขาดคดีอุกฉกรรจ์
เป็นเวลานานหลายสิบปีอันเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของรัฐซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ควรนำเงินดังกล่าวไปใช้พัฒนาประเทศที่จำเป็นจะมีประโยชน์แก่ส่วนร่วมมากกว่า
นอกจากนี้ยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลนักโทษเด็ดขาดเหล่านี้ เพราะนักโทษคดีอุกฉกรรจ์เหล่านี้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี ส่วนใหญ่ก็จะคิดคบหลบหนีแหกคุกตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและเสี่ยงตายมากตลอดเวลา ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครียดมาก
9) การลงโทษประหารเป็นการยับยั้ง การกระทำและลดอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิง คือเป็นการตัดตัวก่อเหตุให้หมดไป
นักอาชญาวิทยา นักสังคม และนักวิชาการสาขาต่างๆที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่าจำเป็นต้องมีอยู่ในกฎหมายอาญา เช่น
เซอร์ เจมส์ สเตฟิน (Sir James Stephen) นักอาชญาวิทยาที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ได้แสดงความเห็นสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่า “ไม่มีบทลงโทษอื่นใดที่จะมีผลยับยั้งบุคคลมิให้กระทำผิดทางอาญาเท่ากับโทษประหารชีวิต”
บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมฝ่ายสนับสนุน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโทษประหารชีวิตควรมีอยู่เชื่อมั่นว่าการที่จะพิจารณา
ลงโทษประหารชีวิตแก่ผู้กระทำผิดรายใดนั้น ย่อมต้องผ่านการพิจารณาไตรตรองอย่างรอบคอบแล้ว
ผู้พิพากษาทั่วไปมักจะหลีกเลี่ยงการสั่งลงโทษประหารชีวิต ผู้พิพากษาอังกฤษถือคติว่า
“ปล่อยคนผิด 100 คนดีกว่าประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว” คตินี้เลยเป็นสุภาษิตคติของผู้พิพากษาทั่วโลก
ข้อคัดค้านโทษประหารชีวิต
1. ไม่มีมนุษย์หรือคนกลุ่มใดที่สามารถอ้างสิทธิทำร้ายผู้อื่นหรือคร่าชีวิตผู้อื่นถึงตาย ไม่ว่าด้วยเหตุใด
ชีวิตเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคน และเป็นสิทธิที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ขณะเดียวกันความยุติธรรมไม่ใช่เครื่องชั่งหรือวัดความเท่าเทียมว่า หนึ่งชีวิตที่เสียไปนั้นต้องได้รับการชดใช้ด้วยอีกชีวิตหนึ่ง ความเข้าใจที่ว่าชีวิตต้องแลกคืนด้วยชีวิตนั้นเป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าการประหารชีวิตเป็นการทำลายชีวิตอย่างโหดร้าย ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์และอาจประหารผิดคนได้2. บางครั้งผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตและไม่มีหนทางชดใช้
ทางนิติวิทยาศาสตร์เผยให้เห็นว่า มีการตัดสินลงโทษประหารผิดคนมากขึ้น มีหลายกรณีที่ผู้ต้องโทษและถูกประหารชีวิตนั้น กระทำผิดข้อหาฆาตกรรมจริง แต่มีเหตุแวดล้อมที่ระบุชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นไม่ควรต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต ความผิดพลาดอันเป็นธรรมชาติขิองมนุษย์ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้หากคนที่ได้รับโทณประหารชีวิตนั้นเสียชีวิตไปแล้วมีคนบริสุทธิ์เสียชีวิตไปแล้วกี่ราย? อาจจะ 7-10% ซึ่งอันที่จริงไม่ควรเกิดขึ้นเลยแม้แต่รายเดียว
3. ข้อโต้แย้งที่ว่าการประหารชีวิตเป็นมาตราการปรามอาญากรรมร้ายแรงได้นั้นเป้นข้อสันนิษฐานที่ขาดพื้นฐานรับรอง ความเปลี่ยนแปลงของสถิติอาชญากรรมเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ซับซ้อน ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่อัตตราฆาตกรรมลดลงก็มี ปละความแปลงในระยะยาวเป็นไปได้ว่าอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้
4. เชื่อกันว่าโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นที่สร้างความพอใจให้กับครอบครัวของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ที่ต้องการให้อาชญากร จบชีวิตด้วยการชำระหนี้เลือด
การให้ผู้กระทำความผิดนั้นต้องตายตกไปตามกันนั้นไม่ถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนและไม่ควรนำมาใช้คำนวนกันแบบเลขคณิต
5. ทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมความเท่าเทียมกัน
แต่ในความเป็นจริงไม่มีความเท่าเทียมกันในการตัดสินลงโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่าคนจน คนไม่มีความรู้และชนขั้นล่างสุดของสังคม มีโอกาสที่จะต้องโทษนี้ได้มากที่สุด จึงเห็นได้ว่าคนที่รวยกว่า คนที่มีการศึกษามากกว่า หรือมีฐานทางสังศาสนาและโทษประหารชีวิต
ประเด็นทางศีลธรรมเป็นหัวใจของทุกศาสนาและศาสนาควรมีอิทธิพลต่อแนวคิดเรื่องการประหารชีวิต อย่างไรก็ดี ทำนองเดียวกันกับสงคราม เราคาดการณ์ได้ว่าคำสอนในโลกอุดมคติกับการปฏิบัติในโลกความเป็นจริงมันคนล่ะเรื่องกันคมดีกว่า มักจะรอดจากโทษประหารชีวิตเสมอ
ดังน้นข้าพเจ้าเห็นว่าโทษประหารชีวิตควรจะมีหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทำความผิดของแต่ละประเทศ ส่วนจะเป็นการริดลอนสิทธิมนุษยชนหรือไม่สำหรับประเทศที่ใช้โทษประหารชีวิต ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าเป็นการริดลอนสิทธิ ้เพราะการลงโทษประหารชีวิตนั้นแล้ว แสดงให้เห็นว่าเป็นโทษสูงสุดของการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อกฎหมายได้มีกรอบบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แล้วทุกคนปฏิบัติตามก็ต้องยอมรับในโทษนี้ด้วย เพื่อให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์และสามารถใช้บังคับให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

กรณ์เชษฐ์ โชติวราธนศักดิ์
20 เม.ย. 2557

1.โทษประหารชีวิต. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : 

http://th.wikipedia.org/wiki/% (20 เม.ย. 2557)

2.แนวความคิดโทษประหารชีวิต. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://sevenstars61.exteen.com/20080618/entry (20 เม.ย. 2557)

หมายเลขบันทึก: 566394เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2014 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท