HR-LLB-TU-2556-TPC-ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


                ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน เป็นต้น

                ในส่วนของปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลกที่เห็นได้ชัด และผู้คนส่วนใหญ่ได้ทราบถึงปัญหานี้คือกรณีของชาวโรฮิงญา

โรฮิงญาเป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงญา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงญาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า

ปัจจุบันมีชาวโรฮิงญาที่หลบภัยออกมาจากรัฐอารากันจำนวนมาก ตั้งแต่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในประเทศไทยนับว่าค่อนข้างจะเลวร้ายเช่นเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มน้อย 14 กลุ่มที่รัฐบาลไทยกำลังตรวจสถานภาพทางกฎหมาย ชาวโรฮิงญาไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้งๆที่ในกลุ่มนี้มีประชาชนชาวพม่าอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับชาวโรฮิงญาน้อยเลยไม่ได้รับสิทธิใดๆเลย

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การที่ชาวโรฮิงญาเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ก็เนื่องด้วยต้องการหนีความยากลำบากที่เกิดจากการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า[1]

                แม้ชาวโรฮิงญาจะหนีเข้ามาในประเทศไทยได้ แต่ก็ยังต้องพบกับการถูกทรมาณหรือทารุณกรรม รวมถึงการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

                การถูกทารุณกรรม

สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ได้เผยแพร่วิดีโอบันทึกภาพคนเรือชาวโรฮิงญา แสดงให้เห็นว่า ถูกทหารไทยดำเนินการต่อคนเหล่านี้อย่างไร ซึ่งรอยเตอร์ระบุว่า เป็นไปในแนวทางเดียวกับที่ถูกกล่าวหาจากหลายฝ่ายว่า เป็นการปฏิบัติต่ออย่างไร้มนุษยธรรมจากฝ่ายทหารของไทย 
          นอกจากนี้ ยังมีบทสัมภาษณ์ นายอิคบาล ฮุสเซน เหยื่อผู้รอดชีวิต ซึ่งถูกจับกุมตัวไว้โดยกองกำลังป้องกันภัยพลเรือนของไทยบนเกาะแห่งหนึ่งในแถบทะเลอันดามัน อ้างว่า เป็นคนเรือในเรือลำหนึ่งจากจำนวนทั้งหมด 6 ลำ ที่ถูกทางการไทยจับกุมและถูกทหารเรือของไทยลากออกไปปล่อยกลางทะเลลึก จนเสียชีวิตเกือบทั้งหมด นอกเหนือจากคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวแล้ว รายงานของซีเอ็นเอ็นดังกล่าวมีภาพนิ่งที่แสดงให้เห็นถึงชาวโรฮิงญาจำนวนมากขณะถูกจับกุม ภาพที่แสดงให้เห็นตอนที่กำลังลากจูงเรือออกทะเล และภาพเรือลำหนึ่งที่อัดแน่นไปด้วยชาวโรฮิงญากำลังล่องลอยอยู่ในทะเล[2]

การที่ชาวโรฮิงญาที่ถูกทางการไทยจับกุมและถูกทหารเรือของไทยลากออกไปปล่อยกลางทะเลลึก จนเสียชีวิตเกือบทั้งหมด เป็นการกระทำที่โหดร้าย ผิกมนุษยธรรม ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ5 บุคคลใดๆจะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้

                การตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี(5) อ้างข้อมูลการสืบสวนยาวนาว 2 เดือนใน 3 ประเทศ เผยให้เห็นว่ามีการลอบนำตัวเหล่าผู้ลี้ภัยโรฮิงญาจากศูนย์กักกันผู้อพยพของไทย ขายให้กับขบวนการค้ามนุษย์และส่งมอบกันกลางทะเล จากนั้นชาวโรฮิงญาเหล่านี้ก็จะถูกพาไปยังภาคใต้และกักขังในค่ายลับกลางป่าติดกับชายแดนมาเลเซียจนกว่าญาติๆจะยอมจ่ายเงินค่าไถ่ ด้วยบางส่วนถูกทุบตีและบางคนก็ถึงขั้นเสียชีวิต[3]

การที่ชาวโรฮิงญาถูกขายให้กับขบวนการค้ามนุษย์เป็นการกระทำให้บุคคลตกอยู่ในสภาวะจำยอมและอยู่ในลักษณะเดียวกับการค้าทาส ซึ่งขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 4 บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และการค้าทาสทุกรูปแบบ
ส่วนการที่ชาวโรฮิงญากักขังในค่ายลับกลางป่าติดกับชายแดนมาเลเซีย ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ9 บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได

และชาวโรฮิงญาบางส่วนที่ถูกทุบตีและบางคนก็ถึงขั้นเสียชีวิต เป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ5 บุคคลใดๆจะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้

ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลกนอกจากปัญหาของชาวโรฮิงญาแล้วก็ยังมีปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยอื่นๆอีก เช่น ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน

ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้น การละเมิดสิทธิเด็กจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยสามารถจำแนกกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิไว้ได้พอสังเขป ดังนี้

  1. เด็กที่ไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ จากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาด้านสาธารณูประโภค เป็นต้น ได้แก่ เด็กพิการ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เด็กกำพร้า เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุก
  2. เด็กที่ถูกปล่อยปะละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัว จนทำให้เด็กอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา แบะพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ
  3. เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกทำทารุณหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอก เช่น เด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างหนัก ถูกนายจ้างทุบตีทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น[4]

การที่เด็กไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ จากรัฐและเด็กที่ถูกปล่อยปะละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวดังที่ได้กล่าวมาเป็นการขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน

(2) มารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับการดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งปวงไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน

ข้อ26 (1)ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐานการศึกษาระดับประถมจะต้องเป็น        ภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไปและการศึกษาระดับสูง ขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับ           ทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม

ส่วนการที่เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกทำทารุณหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอกเป็นการขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรมและควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

ข้อ 5 บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมานหรือ การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้

 

[1] ประวัติของชาวโรฮิงญา. Thai Action Committee for Democracy in Burma

.  [Website] Nov 2010 [cited 2014 Apr 19]. Available from: http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58

[2] สื่อนอกรุมจวกไทย ทารุณ โรฮิงญา พร้อมโชว์หลักฐาน. kapook.  [Website] [cited 2014 Apr 19]. Available from: http://hilight.kapook.com/view/33230

[3] UNจี้ไทยสอบตม.ส่งมอบโรฮิงญาให้แก๊งค้ามนุษย์กลางทะเล. ASTVผู้จัดการออนไลน์.  [Website] Dec 2013 [cited 2014 Apr 19]. Available from: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000151092

[4] ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศและแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา. โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม.  [Website] 2013 [cited 2014 Apr 19]. Available from: https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha-siththi-mnusy-chn-ni-prathes-laea-naewthang-kaekhi-payha-laea-phathna

หมายเลขบันทึก: 566390เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2014 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ บันทึกดีดีนี้ค่ะ


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท