ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


                                                Flag of the Rohingya Nation 

                                                              ธงของชาวโรหิงญา

                  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกๆคนที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ควรได้รับ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นจึงถือเป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่ควรจะต้องให้ความเคารพในด้านสิทะฺมนุษยชนแก่ทุกคนในประเทศอย่างเท่าเทียม รวมไปถึงผู้ลี้ภัยและผู้หนีภัยความตายด้วย แต่อย่างไรก็ดีในประเทศไทยยังมีการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอยู่ที่เห็นได้ชัดเช่นกรณีของผู้ลี้ภัยความตายชาวกะเหรี่ยง และรวมไปถึงชาวโรหิงญาด้วย

             โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่ามักมีคนเข้าใจผิดว่าอาระกันกับโรฮิงญาคือคนกลุ่มเดียวกัน จริงๆแล้วชาวอาระกันและชาวโรฮินยาเป็นคนละกลุ่มกัน  ชาว อาระกันมาจากรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ของพม่า ส่วนชาวโรฮินยาหรือโรฮิงญามาจากเมืองจิดตะกองของบังกลาเทศ ทั้งสองกลุ่มเป็นพวกเชื้อสายเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน แยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ต่างกันที่สัญชาติเพราะอยู่คนละประเทศ แต่นับถือศาสนาเดียวกันคือ อิสลาม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโรฮิงญาแล้วจะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอะรากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ  มากกว่าอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung, Akyab และ Kyauktaw

             ซึ่งชาวโรหิงญานั้นว่ากันว่าเป้นกลุ่มคนที่โลกไม่ต้องการก็ว่าได้ (world least wanted) ชาวโรงหิงญานั้นด้วยความที่รัฐบาลของพม่าไม่ต้องการทำให้ชาวโรงหิงญาต้องอพยพไปยังประเทศต่างๆแทบทุกๆที่ที่พวกเขาหาได้เช่นบังกลาเทศ มาเลเซีย ออสเตเลีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งประเทต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่ไม่มีใครต้องการชาวโรหิงญา โดยรัฐบาลพม่าเองก็ได้มีการกระทำอันทารุณกรรมต่างๆมากมายต่อชาวโรหิงญาจนพวกเขาไม่สามารถอยู่ได้เพราะความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติซึ่งการกระทำขแงพม่าเช่นนี้นับว่าขัดต่อสิทธิมนุษยชน เช่น

 ข้อ 13  ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ แต่พม่าได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อขับไล่ชาวโรหิงญาออกจากประเทศของตน จึงถือว่าขัดต่อข้อกฏหมายนี้

 รวมถึง ข้อ 15 (1) กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง แต่ตามข้อเท็จจริง พม่าปฏิเสธการให้สัญชาติกับชาวโรฮิงญา เช่นนี้ พม่าไม่ได้ให้ชาวโรฮิงญามีสัญชาติ พม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อนี้ด้วย

             โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 250,000 คน อาศัยอยู่ในบังคลาเทศในค่ายที่สหประชาชาติดูแลอยู่ในแถบบริเวณชายแดน บางคนกลับไปพม่าในเวลาต่อมา บางคนหลอมรวมเข้ากับสังคมบังคลาเทศ และประมาณ 20,000 คน ยังอาศัยอยู่ในค่ายใกล้กับเท็คนาฟ อย่างน้อยอีก 100,000 คน อาศัยอยู่นอกค่าย และทางการบังคลาเทศพิจารณาว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่ผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2542 ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้อย่างน้อย 1,700 คน ติดคุกในบังคลาเทศด้วยข้อหาข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมาย (UNHCR 1997:254; “Twenty-five” 1999)

              ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่มีรัฐบาลใดต้องการชาวโรหิงญาเลยรวมไปถึงไทยด้วย ในไทยนั้นมีชาวโรงหิงญาอพยพเข้ามามากในทางภาคใต้ จากข้อมูลของป้องกันจังหวัดระนอง ระบุว่า ชาวโรฮิงญา เริ่มอพยพเข้าประเทศไทยทางด้านจังหวัดระนองครั้งแรกเมื่อปี 2548 แต่ยังไม่มีการบันทึกสถิติไว้ ต่อมาในปี 2549 มีการจับกุมได้ 1,225 คน ปี 2550 จับกุม 2,763 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น 125% และ ล่าสุดปี 2551 จับกุม 4,886 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2550  คิดเป็น 77% ซึ่งยังไม่รวมที่เล็ดลอด ไปได้ และข้อมูลของจังหวัดอื่น ๆ ในจังหวัดแถบชายฝั่งอันดามันซึ่งมีการจับกุมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีชาวโรหิงญาจำนวนไม่น้อยเลยที่หนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เมื่อหนีมายังประเทศไทยเพื่อหวังชีวิตที่ดีกว่าแต่ความเป็นจริงกลับตรงข้ามในประเทศไทยเองก็มีการละเมิดสิทธืมนุษยชนต่อชาวโรหิงญามาก อย่างที่เห็นในข่าว โดยที่เห็นได้หลักๆคือการค้ามนุษย์

              ชาวโรฮิงญาก็คือ “เหยื่อ” ของขบวนการค้ามนุษย์ ในปัจจุบัน การค้าชาวโรฮิงญา กลายเป็นขบวนการใหญ่ และหลากหลายขบวนการ ผู้ที่อยู่ในขบวนการ มีทั้งชาวโรฮิงญาเอง และชาวพม่า เอาเย่นต์ชาวไทย และนายทุนชาวมาเลเซีย ในขณะเดียวกัน มีหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่หน่วยงานที่รับผิดชอบในน่านน้ำ บนบก ที่มีทั้งแค่เปิด “ไฟเขียว” ให้มีการนำชาวโรฮิงญาไปเป็น “สินค้า” ได้อย่างสะดวก จนถึงการเป็น “เอเย่นต์” ในการ “รับซื้อ” และมียานพาหนะในการ “ขนส่ง” ชาวโรฮิงญา ให้กับขบวนการ “รับซื้อ” ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา และที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เสียเอง และมูลค่าการซื้อ-ขาย ชาวโรฮิงญา เพื่อ “ส่งออก” จากปีละไม่กี่ล้านบาท ในอดีต จนมาถึงปัจจุบัน มูลค่าของการซื้อ-ขายมนุษย์ ที่เป็นชาวโรฮิงญา หรือ “อาระกัน” มีมูลค่าปีละพันล้านบาทขึ้นไป

             ซึ่งการค้ามนุษย์นับว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ใน ข้อ 4 บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และการค้าทาสทุกรูปแบบ  ซึ่งนอกจากเป็นทาสแล้วความเป็นอยู่ของชาวโรหิงญาก็อยู่กันอย่างยากลำบากต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆเพราะไทยไม่ต้องการ และไม่ให้สัญชาติ พร้อมกับพยายามขับไล่พวกเขาออกไป

             ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของไทยก็ไม่ต่างอะไรจากของทางรัฐเมียนมาร์เลย การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงมีอยู่และถูกละเลย รวมทั้งประชาชนของประเทศไทยเองก็มีจำนวนมากพอสมควรที่เกลียดชังและไม่ต้องการชาวโรหิงญาโดยได้โยงพวกเขากับกลุ่มผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ และเกลียดชังคนเชื้อชาติมลายูทั้งหมด ถึงกับมีการตั้งเพจในเฟซบุคด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อผมได้เข้าไปดูก็พบว่าน่าสลดใจอย่างมาก เพราะเรื่องราวต่างๆที่เขียนในเพจนั้นเขียนราวกับชาวโรหิงญาไม่ใช่มนุษย์ 

          ซึ่งขัดต่อ UDHR สิทธิมนุษย์ใน ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและ เสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตน มีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ และ ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวง ตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือ ทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น นอกเหนือจากนี้ จะไม่มีการ แบ่งแยกใดบนพื้นฐานของสถานะทางการเมือง ทางกฎหมาย หรือทางการระหว่างประเทศของ ประเทศ หรือดินแดนที่บุคคลสังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจำกัดอธิปไตยอื่นใด 

          ดังนั้นผมจึงคิดว่าประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องสิทะฺมนุษยชนอยู่มากไม่เพียงแต่ทางรัฐแต่ยังลงลึกไปถึงรากเหง้าอย่างความคิดของประชาชนเองด้วย จึงควรมีการปรับทัศนคติต่อเรื่องนี้เพราะชาวโรหิงญานั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา เราทุกคนเป็นมนุษย์และได้รับความคุ้มครองทางสิทธิมนุษยชน เรื่องแบบนี้ไม่ควรมีขึ้นเลย

 

อ้างอิง

1. ประวัติของชาวโรหิงญา http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58

2. สกู๊ปพิเศษ : ปัญหา‘โรฮิงญา’ต้องแก้ที่เจ้าหน้าที่ และจัดการกับแก๊งค้ามนุษย์ http://www.naewna.com/local/88389

3. UDHR http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

4. เฟซบุ้คต่อต้านโรหิงญา https://www.facebook.com/NORoHingya

หมายเลขบันทึก: 565714เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท