ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อสังคมโลก


ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อสังคมโลก

                ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยและในต่างประเทศ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่เกี่ยวข้องกับสังคมโลกด้วย

                เรื่องแรก คือเรื่องชาวโรฮิงยาที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย โรงฮิงยาเป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี อาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาร์และนับถือศาสนาอิสลาม[1]

เนื่องจากชาวโรฮิงยานับถือศาสนาอิสลาม และรัฐบาลเมียนมาร์มีความเชื่อว่าชาวโรฮิงยาไม่จงรักภักดีเพราะชาวโรฮิงยาบางส่วนต้องการสร้างรัฐอิสระในทางตอนเหนือของรัฐอาระกันและผนวกเข้ากับปากีสถาน ทำให้รัฐบาลเมียนมาร์ไม่ต้องการชาวโรฮิงยา จึงปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรงฮิงยา ทำให้ชาวโรฮิงยาต้องอพยพออกจากประเทศเมียนมาร์เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า เนื่องจากชาวโรฮิงยาหลายคนอื่นฆ่าและถูกเผาทั้งเป็น[2]

                ชาวโรฮิงยาได้อพยพไปยังประเทศข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นบังคลาเทศหรืออินเดีย ซึ่งไม่มีประเทศใดต้องการชาวโรฮิงยาเลย เนื่องจากผู้อพยพชาวโรฮิงยาทำให้เศรษฐกิจของประเทศบังคลาเทศถดถอยลงอย่างมาก[3] รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยไม่ได้รองรับอะไรให้ชาวโรฮิงยาเลย และประกอบกับรัฐบาลของประเทศที่ชาวโรฮิงยาได้จากมาก็ไม่ต้องการชาวโรฮิงยาเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ชาวโรฮิงยาเสี่ยงต่อการถูกค้าในลักษณะทาส หรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมาก

                เรื่องต่อมา คือเรื่องแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 มาตรา5 คนต่างด้าว หมายถึงบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

ส่วนแรงงานต่างด้าว มี2หน่วยงานที่ให้นิยามไว้ คือองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หมายถึง บุคคลที่ย้ายถิ่นจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงาน และรวมถึงบุคคลใดๆที่โดยปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้อพยพเพื่อทำงาน แต่ไม่รวมถึงคนที่ทำงานตามบริเวณชายแดน จิตรกร หรือสมาชิกของกลุ่มผู้ชำนาญการที่เข้าเมืองระยะสั้น ชาวเรือ และลูกเรือเดินทะเลต่างชาติ

อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 143 ยังไม่รวมถึงบุคคลที่เข้ามาเพื่อการศึกษาหรือการฝึกอบรมและบุคคลที่เข้ามาทำงานชั่วคราวเฉพาะด้านอันเนื่องมาจากการร้องขอของนายจ้างในประเทศไทย และต้องออกไปเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานนั้นแล้ว และองค์การสหประชาชาติ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของบรรดาแรงงานข้ามชาติ และสมาชิกในครอบครัว มาตรา 2 หมายถึง บุคคลซึ่งจะถูกว่าจ้างให้ทำงาน กำลังถูกว่าจ้าง หรือเคยถูกว่าจ้างทำงาน โดยได้รับค่าตอบแทนในรัฐที่ตนไม่ได้เป็นคนของชาตินั้น

เมื่อคนต่างด้าวไม่มีสัญชาติไทย แต่ได้มาทำงานในประเทศไทย จึงมีความเสี่ยงมากที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ถูกกดค่าแรง ถูกจำกัดพื้นที่ หรือแม้กระทั่งถูกจำกัดสิทธิในการสมรส เป็นต้น

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ล้วนเกิดจากการมองคุณค่าในความเป็นมนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา หรือสัญชาติ ซึ่งการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรจะเริ่มจากการมองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีสัญชาติใด ลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไรหรือ เป็นเพศใดก็ตาม ทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงควรเลิกกดขี่หรือเหียดหยาม และปฏิบัติต่อพวกเขาเหล่านั้นเหมือนกันที่เราปฏิบัติต่อมนุษย์ทั่วไป

[1] ประวัติของชาวโรฮิงญา. 10 พฤศจิกายน 2553. แหล่งที่มา :http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?...option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58...8 เมษายน 2557

[2] บทความแรงงานต่างด้าว ตอนที่1. 13 ตุลาคม 2554. แหล่งที่มา :http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=7269...8 เมษายน 2557

[3] รู้จัก"โรฮิงยา". แหล่งที่มา :http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/case/rohingya.htm... 8 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 565712เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท