ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมโยงกับสังคมโลก


ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ งานประมงทะเล งานเกี่ยวเนื่องกับการประมง (ทำงานในโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง แกะกุ้ง ลอกหนังปลาหมึก) ทำงานในโรงงานปลาป่น ทำงานในโรงงานน้ำปลา ทำงานในโรงงานอาหารทะเลตากแห้ง ทำงานเกษตร เช่น กรีดยางในสวนยาง งานก่อสร้าง งานบริการ เป็นต้น

ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชยากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น  

ในปัจจุบันมีชาวโรฮิงญาจำนวนมากอพยพมายังดินแดนไทย เพื่ออยู่กินและใช้ชีวิตที่มีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน แต่ก็มีชาวโรฮิงญาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อขององค์กรการค้ามนุษย์ ที่จะนำชาวโรฮิงญานำไปขายเป็นแรงงานแก่นายทุนต่างๆ หรือกระทั่งบังคับให้ไปขายบริการ 

การที่ชาวโรฮิงญาอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่ากับว่าเขาเหล่านั้นมีฐานะเป็นคนต่างด้าว แต่กรณีนี้ชาวโรฮิงญาต้องอพยพมาจากประเทศพม่า เนื่องจากโดนบีบคั้นจากรัฐบาลพม่าในด้านต่างๆ จึงต้องออกจากดินแดนที่อาศัยอยู่ไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อความอยู่รอดของตน ชาวโรฮิงญาจึงเสมือนเป็นผู้ลี้ภัยเสียมากกว่า

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรูปแบบการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นประเทศทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเท่าเทียมกัน และต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน ความเสมอภาค และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

นอกจากนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีการวางหลักการของความเสมอภาคของมวลมนุษย์ และ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เคารพและนับถือในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทั้งมวล โดยที่จะต้องไม่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง เชื่อชาติ เพศ ภาษา หรือ เพศ เนื่องจาก มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เกิดขึ้มาอิสระ และเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

การแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาจึงควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังภายในหลักการของการเคารพสิทธิความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีตามหลักสิทธิมนุษยชน เพราะพวกเขาคือมนุษย์ที่เกิดบนโลกใบนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นภายใต้หลักการดังกล่าว การส่งกลับจะต้องไม่ใช่ส่งกลับประเทศต้นทางเพื่อให้เกิดการทารุณและการฆ่าได้อีก นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงการแก้ปัญหาในระยะยาวที่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งส่งผลกระทบกับประเทศได้อีก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่เห็นความชัดเจนถึงแนวทางแก้ไขปัญหาภายใต้หลักการดังกล่าว เพราะเรามักจะบอกเพียงหลักความมั่นคงของประเทศ แต่ไม่ได้มองถึงหลักความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

[1] ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ - แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha-siththi-mnusy-chn-ni-prathes-laea-naewthang-kaekhi-payha-laea-phathna

[2] แก้ปัญหาโรฮิงญา ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน - แหล่งที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sirinart/20130207/489261/แก้ปัญหาโรฮิงญา-ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน.html

[3] สิทธิมนุษยชนกับปัญหาสังคม - แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/oh-shit/2009/02/16/entry-1

หมายเลขบันทึก: 565710เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท