หลักการเทียบเคียง (Benchmarking) ตอนที่ 0


สวัสดีครับ
ใกล้จะวันหยุดยาวสงกรานต์กันแล้ว ท่านใดมีแผนจะไปท่องเที่ยวที่ใดก็ขอให้สนุกสดชื่นและปลอดภัยกันทุกท่านนะครับ ก่อนวันหยุดยาวนี้ผมจะได้นำข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรมาฝากกันครับ ที่ผ่านไปเป็นเรื่องของหลุมพรางในการใช้ระบบสมรรถนะ ถ้าเราจะถามกันว่าองค์กรใดในประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการพัฒนาสมรรถนะ ผมมักจะแนะนำ SCG ครับ 
ผมเคยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสมรรถนะให้กับองค์กรภาครัฐหลายแห่ง ก็มีคำถามว่า "ระบบสมรรถนะที่ใช้ได้ดีกับ SCG ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน จะนำมาใช้ได้ดีกับภาครัฐเหรอครับ (คะ)" ผมก็บอกไปว่า "ตอนที่ SCG เริ่มนำมาใช้ก็มีคำถามแบบนี้เหมือนกันล่ะครับ ว่าแล้วจะนำมาใช้ได้ดีกับองค์กรเอกชนอย่างเราเหรอครับ" เพราะระบบสมรรถนะนั้นถือกำเนิดจากองค์กรภาครัฐนั่นคือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกานั่นเองครับ แล้วทำไมจะนำมาใช้กับภาครัฐไม่ได้ล่ะครับ เพียงแต่เราต้องศึกษากระบวนการในการนำมาใช้จากหน่วยงานหรือองค์กรต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่มากมาย และวิธีการศึกษานั้นเราเรียกว่า "การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ" หรือที่เรียกว่า Benchmarking นั่นเอง

Benchmarking คืออะไร?
“คนฉลาดจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง ส่วนคนเจ้าปัญญาจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น” เป็นคำกล่าวที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ “คนโง่ คนฉลาดและคนเจ้าปัญญา” ซึ่งเป็นประโยคที่สื่อถึงการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น แล้วนำมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กรของตนเอง ซึ่งตรงกับหลักการพัฒนาองค์การคือ หลักการเทียบเคียง (Benchmarking) ดังนั้น กระบวนการในการจัดทำกลยุทธ์หรือการพัฒนาองค์กรจึงควรจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษารูปแบบการพัฒนาของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ผู้เกี่ยวข้องมีความเห็นตรงกันว่า มีความเหมาะสมในการเป็นหน่วยงาน / องค์การต้นแบบ (Best Practice) ที่ใช้ทำการศึกษา เพื่อกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรต่อไป
ตอนหน้าผมจะมาชวนคิดชวนคุยต่อไปว่า ถ้าเราจะใช้กระบวนการเทียบเคียงมาพัฒนาองค์กร จะเริ่มต้นอย่างไรดี พบกันตอนหน้านะครับ

มองหาผลลัพธ์ ขยับหา GO

หมายเลขบันทึก: 565639เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท