สิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต”

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง  บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง[1]

  ผู้หนีภัยความตาย” คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบส่วนภัยความตาย โดยอ้อม โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท  คือ [2]

                ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้  จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด

                 ภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน รสนิยมทางเพศ เป็นต้น

ซึ่งผู้หนีภัยความตายนั้นจริงๆแล้วก็ไม่ได้ต่างกันเป็นเรื่องเดียวกันกับผู้ลี้ภัย เหล่าผู้หนี้ภัยความตายนั้นมักประสบกับเหตุการณ์ต่างๆจนต้องลี้ภัยมาอยู่ในประเทศอื่นๆ หรือกล่าวคือมีเหตุเหมือนกันนั่นเอง แต่ส่วนที่ต่างกันนั้นคือผลของการเป็นผู้หนีภัยความตายและผู้ลี้ภัยจะต่างกัน เพราะสิ่งที่ผู้หนีภัยความตายมีลักษณะต่างกับผู้ลี้ภัยคือประเทศที่พวกเขาลี้ภัยไปนั้น ไม่ได้เป็นสมาชิกภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951  ซึ่งจะทำให้ผู้หนีภัยความตายไม่ได้รับการคุ้มครองจากภาคีดังกล่าวนั่นเอง

ซึ่งประเทศไทยของเราเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ไมได้เข้าร่วมภาคีดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และไม่มีกฎหมายหรือนโยบายในการจัดการเฉพาะสำหรับผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะ ทำให้สถานะของผู้ลี้ภัยในประเทศไทยจะเป็นเพียงผู้หนีภัยความตายเท่านั้นซึ่งผู้ลี้ภัยความตายในไทย ที่รู้จักกันดีคือชาวกะเหรี่ยงที่หลบหนีมาจากประเทศพม่า

ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ฐานที่มั่นของกองกำลังกู้ชาติกระเหรี่ยง หรือ Karen National Union (KNU) ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า ได้ถูกกองทัพรัฐบาลทหารพม่าตีแตก จึงทำให้มีผู้คนอพยพลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เมื่อทางรัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถส่งคนเหล่านี้กลับไปชายแดนอีกฝั่งหนึ่งได้เพราะต้องเผชิญกับภัยความตาย จึงอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว โดยอนุญาตให้องค์กรการกุศล (เอ็นจีโอ) จากต่างประเทศเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก ยารักษาโรค เป็นต้น แต่ไม่อนุญาตให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เข้าไปให้ความช่วยเหลือ แต่เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ในบริเวณชายแดนตรงข้ามประเทศไทยไม่ดีขึ้น ประกอบกับจำนวนของผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น ทางรัฐบาลไทยจึงได้รวมเอาผู้ลี้ภัยกลุ่มต่างๆ เข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกันในแต่ละจังหวัดเท่าที่สามารถทำได้ และในที่สุดได้อนุญาตให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเรียกผู้ลี้ภัยเหล่านี้ว่า เป็นผู้หนีภัยการสู้รบ และกำหนดกรอบการให้ความช่วยเหลือเพียงแค่การทะเบียนเพื่อการส่งกลับประเทศพม่าเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้พิจารณาสถานะภาพผู้ลี้ภัย ส่วนความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ยังคงให้องค์กรการกุศลดำเนินการช่วยเหลือต่อไปภายใต้การควบคุมของรัฐบาลไทย  จนกระทั่งปัจจุบันมีผู้หนีภัยการสู้รบอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวทั้งหมด ๙ แห่ง รวมจำนวนกว่า ๑๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาสถานะภาพผู้หนีภัยการสู้รบประจำจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และหน่วยงานความมั่นคงในจังหวัดเป็นคณะกรรมการ ซึ่งทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ได้รับอนุญาตเป็นผู้สังเกตการณ์ แต่การอนุญาตให้สถานะภาพและการให้อยู่ในพื้นที่พักพิงฯ นั้น ไม่ได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่เป็นการใช้อำนาจตามจารีตประเพณีทางการปกครอง จึงทำให้ผู้หนีภัยการสู้รบมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองรอการส่งกลับประเทศต้นทางเท่านั้น[2]

ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตไม่ให้มีอุปกรณ์การสื่อสาร กล้องถ่ายรูป และกล้องวีดีโอ ถูกยึดทั้งหมด เพราะไม่ต้องการให้ภาพของพื้นที่พักพิงฯ และภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ เผยแพร่สู่สาธารณะชนภายนอกเหล่านี้รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถออกจากบริเวณที่พัก ทำให้ไม่สามารถทำงานได้รวมถึง เด็กๆก็ได้รับการศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ได้รับการศึกษาเลย ซึ่งการกระทำเช่นนี้ผมเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะการที่คนเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ไม่ได้รับการศึกษาที่ควรได้รับ และถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในค่ายพัก เช่นนี้แม้ว่าคนเหล่านี้จะรอดและปลอดภัยจากสงครามแต่ชีวิตของเขาก็ต้องถูกจำกัดและลดคุณค่าลงไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้หนีภัยความตายแม้จะมีสาเหตุที่มาเดียวกันกับผู้ลี้ภัยแต่ด้วยการที่ไม่มีภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัย คุ้มครองจะทำให้สิทธิมนุษยชนของพวกเขาถูกละเมิดได้ง่ายกว่าเพราะไม่มีกฏหมายคุ้มครองอย่างชัดเจน ซึ่งประเทศไทยเองก็ควรจะพิจารณาถึงเรื่องนี้เพราะการที่ไทยทำเช่นนี้นอกจะเป็นผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศเนื่องจากจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่ละเมิดสิทิมนุษยชนแล้ว การไม่เป็นสมาชิกภาคีนี้จะทำให้ไทยไม่สามารถเป็นประเทศที่สาม ที่จะรับผู้ลี้ภัยมาในประเทศได้ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีจำนวนมากที่มีฝีมือและความสามารถการที่รับพวกเขามาเป็นประชากรจะมีผลดีที่ได้ประชากรมาพัฒนาชาติ ดีกว่าการที่นำคนเหล่านี้มากักกันไว้เฉยๆไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดต่อประเทศเพราะจะมีผลดีกว่ามากต่อประเทศไทย และเพราะผู้ลี้ภัยเหล่านี้หลบนีมาเพราะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองสิทธิของพวกเขาให้มีชีวิตที่ดีกว่านั่นเอง

ดังนั้นสรุปปัญหาที่เห็นได้ชัดของผู้ลี้ภัยนั้นมี  2  ประการ  คือ สิทธิในการได้รับการศึกษา และสิทธิในการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 

ประการแรก   คือ   สิทธิในการที่จะได้รับการศึกษา เด็กที่อยู่ในค่ายลี้ภัยส่วนใหญ่นั้นไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียน ซึ่งขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 26(1) ที่มีหลักอยู่ว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม ทำให้เด็กเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้พัฒนาตนเองและโตขึ้นอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเด็กคนอื่นได้ซึ่งเมื่อพิจารณาหากผู้หนีภัยความตายของไทยนั้นเป็นเด็กย่อมต้องต้องได้รับผลกระทบดังที่กล่าว

                   ประการที่สอง   คือ   สิทธิในการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอยู่การเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายนั้น ไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เพราะต้องอาศัยอยู่ในค่ายหรือที่พักพิงที่ทำขึ้นชั่วคราว รอผู้คนบริจาคปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตคือทางการไทยจะนำอาหาร(ข้าวสารเป็นครั้งๆต่อปี)ไปให้ ความเป็นอยู่ที่ลำบาก ซึ่งขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25(1) คือ ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น

ส่วนกรณีที่น่าศึกษาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยอีกรณีหนึ่งก็คือกรณีของประเทศ ซีเรีย ในประเทศซีเรียแรกเริ่มเดิมทีนั้นมีการต่อต้านรัฐบาลชองนาย บัชชาร อะสัด ที่เป็นรัฐบาลเผด็จการที่มีการปกครองกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปีตั้งแต่รุ่นพ่อของนาย บัชชาร อะสัด แต่เมื่อเกิดการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลนั้นแต่เดิมผู้ชุมนุมได้ชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ โดยการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธนั้นเป็นการชุมนุมทางการเมืองของชาวซีเรียนั้นที่ได้รับการคุ้มครองจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 20 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการ

ชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ (2) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัด สมาคมหนึ่งได้ การกระทำของรัฐบาลซีเรียจึงเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนเป็นอย่างมาก

ทางรัฐบาลกลับปราบปรามอย่างรุนแรงและใช้กำลังต่อประชาชน จนเกิดเป็นสงครามกลางเมืองเพราะภายหลังฝั่งของประชาชนเองก็มการติดอาวุธกันเช่นเดียวกัน  ซึ่งหากค้นคว้าดูแล้วจะพบว่าลึกๆนั้นความขัดแย้งของซีเรียเกิดจากศาสนาด้วย เพราะฝ่ายรัฐบาลและประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลนั้นเป็นนิกาย ชีอะฮ แต่ฝ่ายผู้ต่อต้านเป็นฝ่ายสุหนี่ ซึ่งประเด็นทางศาสนานี่เองทำให้เกิดความช่วยเหลือจากกลุ่มมุสลิมอื่นภายนอกด้วย ทำให้เรื่องนี้บานปลายเกินกว่าจะเป็นเพียงสงครามกลางเมืองและเป็นสงครามเต็มรูปแบบ แต่ทางการยูเอ็นก็ไม่สามารถเขาไปช่วยเหลือได้โดยกแงกำลังของตนอย่างเต็มรูปแบบเพราะสมาชิกถาวรสองประเทศคือจีนและรัสเซีย ทำการคัดค้านเนื่องจากตนมีผลประโยชน์กับรัฐบาลชุดนี้นั่นเอง

ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยและผู้หนีภัยความตายจากสงครามากมายเพราะชาวซีเรียได้หลบหนีไปยังหลายประเทศจึงต้องติดตามกันต่อไปในเรื่องเหตุการณ์นี้

อ้างอิง

[1] ผู้ลี้ภัยคือใครhttps://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนhttp://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

http://www.thai4syria.com/

5 บทสัมภาษณ์ : “สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ  http://salweennews.org/home/?p=986

 

หมายเลขบันทึก: 565624เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท