ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


     ปัญหาความขัดแย้ง มีขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบัน ซึ่งประเทศที่มีความขัดแย้ง มีต้นเหตุมาจากหลายสาเหตุ อย่างเช่น ความขัดแย้งทางด้าน ศาสนา ความขัดแย้งทางด้านการเมือง เป็นต้น ซึ่งความขัดแย้งนี้เป้นต้นเหตุปัจจัยสำคัญของ ปัญหาผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศผู้ลี้ภัย[1]คือ บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เนื่องจาากความกลัวที่จะถูกประหัตประหาร หรือ ความกลัวต่อภัยคุกคามต่อชีวิต เนื่องจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง ซึ่งผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494สำหรับประเทศไทย ไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 ดังนั้น หากมีผู้อพยพมายังประเทศของเรา ผู้อพยพนั้นจะถูกเรียกว่าผู้หนีภัยความตาย ไม่ใช้ผู้ลี้ภัยแต่อย่างใดผู้หนีภัยความตาย[2]คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบส่วนภัยความตาย โดยอ้อม โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือประเภทที่หนึ่ง ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัดภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับผู้ลี้ภัยและผู้หนีภัยความตายนั้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยความตายมีหลายรูปแบบด้วยกัน[3]เช่น

ปัญหาเรื่องการดำรงชีวิต ไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขได้อีกต่อไปในประเทศของตน ต้องได้รับการคุ้มครองจากการทรมานและการปฏิบัติที่เลวร้ายต่างๆ

ปัญหาเรื่องสิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศผู้รับ คือ เมื่อไม่ได้มีสัญชาติของประเทศผู้รับ ก็ไม่สามารถใช้สิทธิพลเมืองได้ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง

ปัญหาเเรื่องเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย สิทธิในการเดินทางเข้าและออกนอกประเทศของตน คือ ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศของตนได้อีกต่อไป และสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เดินทางกลับประเทศของตน หากได้รับอันตราย หากประเทศผู้รับผลักดันให้เขากลับประเทศ ขณะที่ยังมีความรุนแรงอยู่ ก็จะละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อนี้หากมองถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ในประเทศซีเรีย เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น หรือที่เรียกว่า สงครามกลางเมืองซีเรีย ในปี 2554 ทำให้มีผู้อพยพกว่า 9 ล้านคน กว่า 2 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยไปอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น เลบานอน จอร์แดน ตุรกี อิรักส่วนประเทศซีเรียแล้ว ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย[4]โดยหลักมีอยู่สองประการด้วยกัน

ประการที่หนึ่ง หากพิจารณาถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 (1) กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน แต่ผู้ลี้ภัยในประเทศซีเรียนนั้น ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อนี้ เนื่องจากผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในเต๊นท์ในสภาพอากาศร้อนจัดหรือหนาวเหน็บ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องนอนกับพื้น บางคนเสียชีวิตเพราะทนกับสภาพอากาศหนาวจัดไม่ไหว ส่วนนี้ ผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่อยู่อาศัย

อีกส่วนหนึ่งท่ีผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในข้อ 25(1) คือ สิทธิในการได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากสภาพของห้องพยาบาลเป็นเพียงแค่เต๊นท์และเตียงผ้าใบเท่านั้น ไม่มีระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ไม่มีระบบป้องกันความเสี่ยงของผู้ป่วย ไม่มีระบบบริหารจัดการยารักษาโรคแต่อย่างใด ทำให้ผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์อย่างถูกวิธี ดังนั้น ผู้ลี้ภัยจึงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องนี้ด้วยอีก ประการที่หนึ่ง หากพิจารณาถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 26 (1)6 กล่าวคือ ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไป จะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม แต่เด็กๆที่เป็นผู้ลี้ภัยจากซีเรียนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในประเทศผู้รับแล้ว ไม่ได้รับการศึกษาแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแค่ขั้นประถมหรือขั้นพื้นฐาน ดังนั้น เด็กๆผู้ลี้ัยจึงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการศึกษาด้วจากที่กลาวมาจะเห็นได้ว่า ผู้ลี้ภัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มากมายหลายครั้ง ซึ่งสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถมีผู้ใดล่วงล้ำได้ ดังนั้น ปํญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จึงเป็นปัญหาที่มาระดับชาติที่ นานาประเทศพึงช่วงกันแก้ไข




[1] https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

[2] http://salweennews.org/home/?p=986

[3] http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceVIII/Download/Article_Files/3-PolicyStances-Sakkarin.pdf.

[4] http://www.thai4syria.com/content/264.

หมายเลขบันทึก: 565623เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท