การเพิ่มผลผลิตลำไยให้เป็นสองเท่า (จากที่ไม่เคยทำมาก่อน)


ถ้าที่สวนมีดอกไม้ดี หรือมีพืชพันธุ์อืนๆ ในระดับพื้นดินที่มีเกสรเยอะ จะหาอาหารได้ง่าย แพร่พันธุ์ เพิ่มจำนวนตัว และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี เกษตรกรสามารถทำการแยกรัง (แบ่งเอามาใส่กล่องเลี้ยงกล่องใหม่) เพิ่มขึ้นได้ 1-2 เท่าตัว

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

 

การเพิ่มผลผลิตลำไย หรือไม้ผลชนิดอื่นๆ :
.
.
.
.
อยากให้ดอกลำไย หรือดอกไม้ของผลไม้ชนิดอื่นๆ ติดดก แบบว่าได้ปริมาณการติดผลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (จากที่ไม่เคยมี)

ขอแนะนำให้เลี้ยงแมลงผสมเกสร "ชันโรง" ......ค่ะ
.
.
.

ชันโรง : หรือชาวบ้านบ้านชอบเรียก "ผึ้งจิ๋ว" ตัวเล็ก ขยัน

(ไม่อู้งาน ไม่พูดมาก ไม่เบิกค่าแรงล่วงหน้า ไม่กินเบียร์ ไม่จีบหญิง ไม่เมา ไม่ตืนสาย ไม่ลางาน)

ระยะปฏิบัติการออกหาน้ำหวาน และการผสมเกสร : รัศมีรอบๆ รัง ไม่เกินระยะทาง 300 เมตร

การผสมเกสร : ชันโรงจะบินลงบนดอกไม้ อย่างนุ่มนวล ดอกจึงไม่หลุดร่วง ไม่ปล่อยฟีโรโมล ชันโรงตัวอื่นๆ จึงบินมาตอมซ้ำบ่อยๆ

เปอร์เซ็นต์การติดดอก : ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย

การแพร่พันธุ์ : ถ้าที่สวนมีดอกไม้ดี หรือมีพืชพันธุ์อืนๆ ในระดับพื้นดินที่มีเกสรเยอะ จะหาอาหารได้ง่าย แพร่พันธุ์ เพิ่มจำนวนตัว และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี เกษตรกรสามารถทำการแยกรัง (แบ่งเอามาใส่กล่องเลี้ยงกล่องใหม่) เพิ่มขึ้นได้ 1-2 เท่าตัว

น้ำผึ้งชันโรง : ขายได้ราคาดี ต่างประเทศกวาดซื้อเรียบ คนไทยเลยไม่ค่อยได้เห็น หรือได้ชิม ส่วนมากเอาไปทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ในทางการแพทย์

ชันโรง ไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้ง จึงไม่ต่อย เราเลยไม่รู้สึกเจ็บ
หากถูกรบกวน ก็จะออกมาไล่เราด้วยการตอม กวนเพื่อจะไล่ศัตรู

วิธีป้องกัน : ถ้าจะไปยกรังเปลี่ยนที่วาง หรือหันประตูรังเปลี่ยนทิศ ให้ดำเนินการตอนกลางคืน รอให้มันเข้ารังให้หมดก่อน มันจะได้ไม่งง ตอนกลับจากหาอาหาร หาทางเข้าบ้าน (กล่องรัง) ไม่เจอ

ถ้าจะแยกรัง เราจำเป็นต้องเปิดฝารัง ซึ่งจะทำให้พวกมันตกใจ และบินเข้ารุมเรา

ดังนั้น ก่อนเปิดฝากล่องรังชันโรง เราต้องหา หมวก นำมาเย็บกับผ้าตาข่ายมุ้ง เพื่อใช้สวมคลุมศรีษะป้องกันใบหน้า จมูก คอ และหู ให้เรียบร้อยเสียก่อน และสวมเสื้อกันฝนพลาสติก หรือเสื้อกันฝนชนิดใส่หนเดียวทิ้ง (ทำด้วยพลาสติกก็อปแก๊ป) ดังในภาพสุดท้าย

แล้วให้ใช้ "ฟ๊อกกี้" (อย่างเดียวกับที่เรารีดผ้า) เอาน้ำธรรมดาใส่ ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย

ละลองน้ำที่ฉีดพ่นไปนั้น จะมีน้ำหนักมาก ทำให้ติดปีก ติดตัวพวกมัน ทำให้บินได้ไม่สะดวก พวกมันจึงต้องเสียเวลาไปบินสลัดน้ำออกให้หมดก่อน จึงทำให้ไม่มาตอมเราไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะถ้ามันตกใจ มันจะโจมตีเรา โดยใช้วิธีเอาปาก "กัดผิว" ของเราเพียงอย่างเดียว

แต่เนื่องจากผิวของคนเราหนา และเหนียว (ยิ่งแก่ยิ่งเหนียว) พื้นผิวเป็นแผ่นกว้าง ทำให้พวกมันกัดไม่สะดวก จึงทำได้แต่กัดเส้นไยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ เพราะเส้นใย จะพอดีกับขนาดของปากพวกมัน

เวลามันกัดได้แล้ว ปากของมัน จะ "ล็อก" และไม่ยอมปล่อย (ถ้าเส้นไยไม่ขาด)

ถ้าจะเอามันออกได้ จึงมีเพียงกรณีเดียว คือ "ปัด หรือ ดึงออก" นั้นหมายความว่า มันจะคอขาด และ "ตาย" สถานเดียว

ดังนั้น ถ้าสงสารมัน และไม่อยากรำคาญที่มันจะมาตอม เข้าจมูก เข้าปาก เข้าหูเรา กรุณาดำเนินการตามที่แนะนำข้างต้น

อีกไม่นานผลงานของชันโรง ก็จะปรากฎต่อสายตาของเกษตรกร (ถ้าไม่มีศัตรูดอกลำไยอย่างอื่นมาทำลายดอกที่ติดผลไปซะก่อน..นะ)

หลังดอกลำไยได้รับการผสมเกสรแล้ว ลูกลำไยที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรเอง ที่จะดูแลลำไย โดยใช้ความรู้ความสามารถของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด...ค่ะ

เกษตรกรผู้ปลูกลำไย และไม้ผลทุกชนิด ที่ต้องการให้ไม้ผลของท่าน มีผลผลิตเพิ่ม
ขึ้น ควรหาโอกาสเข้ารับการอบรมฯ ที่ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตร ในเขตจังหวัดใกล้เคียงกับภูมิลำเนาของท่าน...นะคะ
.
.

ที่จะมีการอบรมฯ เร็วที่สุดตอนนี้ คือ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง)
จะได้จัดให้มีการอบรมการเลี้ยงชันโรง ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2557

รับจำนวนจำกัด 30 ท่าน...ค่ะ

ตอนนี้จองมาทางเว็ปลำไยกิ๊บ..กิ้วว... แล้วจำนวน 10 ท่าน ...ค่ะ
แต่ยังไม่ไดนับ คนที่จองผ่านทางศูนย์ฯ ...นะคะ

คาดว่าอาจจะเหลือเพียงประมาณ 10 ที่นั่ง...ค่ะ
อย่าตัดสินใจนาน..ค่ะ
สำรองที่นั่งไว้ก่อน...ชัวร์กว่า
.
.
.

ท้ายนี้ ขอประชาสัมพันธ์ อีกหน่อย...นะคะ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) ร่วมกับ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร และกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

จะได้จัดให้มีการอบรมสัมมนา "กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงจังหวัดจันทบุรี-ตราด"
ในวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557
ณ ห้องประชุม คณะเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีฯ

เปิดรับลงทะเบียนเวลา 12.30 น.
เริ่มสัมมนาเวลา 13.00 - 16.30 น.
.
.
.
ขอบคุณ ภาพต่างๆ ที่ยุ้ยแอบจิ๊ก มาประกอบการเขียนเนื้อหาในครั้งนี้...ค่ะ

ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงชันโรง..ค่ะ

 

อุปกรณ์ใช้สาธิตในการให้การอบรมฯ

 

ชุดเครื่องแต่งกายสำหรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับชันโรง..ค่ะ

 

ฟ๊อกกี้ อุปกรณ์ที่จำเป็น ป้องกันชันโรงรบกวน..ค่ะ

 

ภาพตอนยุ้ยไปรับการอบรมฯ ขันโรงตอมเสื้อไม่ยอมปล่อย เลยตายไปหลายตัวอยู่..ค่ะ

 

กล่องไม้ พร้อมขาตั้ง ใช้เป็นรังสำหรับการเลี้ยงชันโรง

 

รังชันโรงที่ปล่อยไว้นานแล้ว ถึงเวลาต้องแยกกล่องรัง..ค่ะ

เปิดฝาออกมา ก็มักจะพบสภาพแบบที่เห็นข้าต้น

 

เอามือประคองออกมา เพื่อจะแบ่งรังแต่ละส่วน เพื่อย้ายไปกล่องรังใหม่..คะ

 

ใช้มีดปลายแหลมค่อยๆ แซะรังชันโรงในส่วนที่ต้องการย้ายไปยังรังใหม่...ค่ะ

 

ดอกลำไยกำลังเริ่มบาน

 

ชันโรงก็เริ่มลุยงาน เพื่อหาเกสร และน้ำหวาน

 

ชันโรงจะเริ่มเก็บเกสรตัวผู้

 

มาดูเจ้าชันโรงกันชัดดๆ

 

ดอกลำไยตัวเมียที่ได้รับการผสมแล้ว จะกลายเป็นผลลำไย..ค่ะ

 

จากนั้นก็จะพัฒนาเป็นผลลำไย

ช่วงนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ และประสบการณ์ของเกษตรกรเอง..ค่ะ ชันโรงไม่เกี่ยวแล้ว..ค่ะ

 

ผลผลิตตามความสามารถของยุ้ย..ค่ะ

 

เอาเหรียญ 10.-บาท มาเทียบขนาดผลดู

 

ผลผลิตลำไยที่เริ่มจากการผสมของแมลงผสมเกสร + ฝีมือการดูแลของเจ้าของสวน = สิ่งที่เห็นในภาพ..ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 565424เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สุดยอด ยกนิ้วให้..สองข้างเลย

คุณ สามสัก ดูจากภาพคัตเอาท์ ต้องบอกว่า ยกงวง..ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท