viva
นางสาว อรวรรณ แซ่อึ้ง ระย้า

พัฒนาการธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล ในประเทศไทย


สำหรับประเทศไทยเริ่มมีแนวคิดธรรมาภิบาลเข้ามาในช่วงปี 2540 (ค.ศ. 1997) แต่หลังจากนั้นธรรมาภิบาลในบริบทของประเทศไทยกลับเร่งสร้างและให้ความสนใจส่งเสริมธรรมาภิบาลระดับองค์การมากกว่าธรรมาภิบาลระดับชาติ ด้วยเหตุนี้มาตรฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ และการปกครองของประเทศไทยจึงยังขาดไร้ซึ่งธรรมาภิบาลอยู่มาก นอกจากนี้ แนวคิดธรรมาภิบาลมักปรากฏควบคู่กันไปกับแนวคิดและศัพท์วิชาการจำพวกประชาธิปไตย ประชาสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ทั้งยังเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการปฏิรูปภาครัฐอีกด้วย

ภาครัฐมักใช้คำว่า ธรรมาภิบาล เป็นการบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม แนวคิดของธรรมาภิบาลในภาครัฐได้ริเริ่มในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้มีการบรรจุแนวคิดของธรรมาภิบาลไว้ในเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งหมายถึง ธรรมาภิบาลของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 หลักการธรรมาภิบาลของรัฐ ประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

ภาคเอกชนมักใช้คำว่า บรรษัทภิบาล  แนวคิดนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในระดับสากล นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย และกรณีการล่มสลายของบริษัท ENRON และ WORLDCOM เป็นต้นมา บรรษัทภิบาลทวีความสำคัญสำหรับองค์กรที่เป็นบริษัทมหาชน เนื่องจากต้องรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้มีส่วนได้เสีย) มากมายหลายฝ่าย เช่น ผู้ถือหุ้นภายนอก พนักงานลูกจ้าง ชุมชน สังคมส่วนรวม นั่นคือ ผู้ถือหุ้นภายนอก ต้องได้รับความคุ้มครองในการลงทุน พนักงานลูกจ้างต้องได้รับความคุ้มครองในด้านสิทธิมนุษยชน สังคมส่วนรวมต้องได้รับความพิทักษ์ ดังนั้น องค์กรต้องจึงต้องจัดให้มีระบบการบริหารงาน การควบคุมสอดส่องดูแลเพื่อพิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว อันจะเป็นการสร้างมูลค่าให้กับองค์กรเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวด้วยเช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 565399เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2014 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2014 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท