ฮักนะเชียงยืน 31


บันไดก้าวเเรกเเห่งภาพยนต์สารดคีสั้นเริ่มขึ้นเเล้ว ของฮักนะเชียงยืน

จุดประกายให้เล่าเรื่องเมืองเรา

        เล่าเรื่องเมืองเรา เมืองของเรา เราต้องเล่าถึงจะระเบิดออกจากด้านใน เมืองเราไม่ได้มีเพียงความสวยงามที่เห็น เเต่ยังมีปัญหาเเละเรื่องราวอีกเยอะที่ต้องให้คนในเมืองเอง เเละคนนอกเมืองมานั่งชม นั่งคิดร่วมกัน โครงการเล่าเรื่องเมืองเราในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-29 มีนาคม 2557 ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ณ บ้านกานนิสา จ.นนทบุรี มีจุดประสงค์ คือ การให้เด็กลุกขึ้นมาเล่าเรื่องเมืองของตนเองผ่านสื่อที่เรียกว่า ภาพยนต์สารคดี  ครั้งนี้ฮักนะเชียงยืนเรามากัน 3 คน กับครู 1 คน ด้วยความใหม่เเละความไม่เคยทำ ไม่รู้อะไรเลย มาถึงค่ายนี้ก็พยายามซึมซับเเก่นของภาพยนต์สารคดีอย่างเต็มที่ โดยกระผมเองก็มีความคาดหวังลึกๆว่า เราจะได้รู้ความหมายของภาพยนต์ รวมกับ สารคดี ในความหมายของตนเอง ว่าภาพยนต์กับสารคดีนั้นเมื่อรวมกันขึ้นมาจะเป็นอย่างไร

        ครั้งนี้มีพี่ๆที่ถนัดในหนังสั้น เเละสารคดีสั้นมาเป็นพี่เลี้ยงให้ คือ กลุ่ม ยังฟิล์ม มีหลายกลุ่มทั่วประเทศที่เข้ามาร่วมเล่าเรื่องเมืองของตนเองด้วย บางกลุ่มทำหนังสั้นมานานเเล้ว บางกลุ่มถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ บางกลุ่มไม่รู้อะไรเลยเหมือนฮักนะเชียงยืน หลากภาษาหลากเรื่องราวของทุกๆคนเเละความเป็นกันเองของพี่เลี้ยงที่เอื้อต่อการเรียนรู้(ในบริบทนี้) ... ครั้งนี้พบเจอกับพี่คนหนึ่งซึ่งผมเองขอให้ชื่อพี่คนนี้ว่า "บุหลันริมหน้าต่าง" เรื่องราวชีวิตของพี่คนนี้ไม่ไม่ใครๆ  เธอเติบโตมาด้วยการไม่มีสัญชาติไทยตั้งเเต่เด็กๆหรือเรียกอย่างว่าคนไทยพลันถิ่น เป็นเด็กก็พยายามเรียกร้องสัญชาติมาตั้งเเต่เล็ก เข้าสู้การต่อสู้ในเชิงโครงสร้างตั้งเเต่ยังเล็ก เวลาที่เรากำลังเล่นพ่อเเม่ลูก เวลาที่เรากำลังเล่นเเบบเด็กๆอยู่อย่างสนุกสนาน ในขณะที่เธอต้องลุกขึ้นมาทวงสัญชาติไทยของตนเองจนไม่มีเวลาของความเป็นเด็ก ชีวิตเริ่มต้นขึ้นจนถึงปัจจุบันที่มีอายุ ยี่สิบต้นๆ เฉียดตายจากลูกกระสุนมาเเล้ว อาจเพราะทำให้ผู้ยอตนเองว่ามีอิทธิพลไม่พอใจ ทุกวันนี้เธอก็ได้รับโอกาสที่ดีได้เข้าทำงานที่ดี เเต่ก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยเเต่ประการใด เห็นดังนี้เเล้วความคิดในอีกมุมหนึ่งของผมเองก็รู้สึกว่า สังคมไทยเรานี้ ยังมอบโอกาสให้คนน้อย  เเละได้พบอีกคนหนึ่ง ชื่อพี่น้ำนิ่งที่เขาลุกขึ้นมาทวงคืนหาดซิลิหลาเมืองสงขลาที่เคยมี คนนี้ก็ลุกขึ้นมาต่อสู้เมื่อยังเด็กๆ เฉียดตายมาเเล้วหลายครั้ง เพราะไปผิดใจกับคนที่ยอตนเองว่าเป็นผู้มีอิทธิพล ทำให้เราต้องมาย้อนมองดูอีกครั้งว่า ตอนนี้ผู้ใหญ่กำลังทำอะไรอยู่ ขณะที่เด็กกำลังลุกขึ้นมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ผู้ที่บอกว่าขอรับใช้ราษฎรทุกคนกำลังทำอะไรอยู่ ? จำเป็นโจทย์ให้ผู้ใหญ่ต้องคิดกันต่อไป 

        กิจกรรมทั้งหมดพี่เลี้ยงมิได้ให้คำตอบเเต่ประการใด เเต่ให้เราหาคำตอบด้วยตนเอง ไม่ได้สรุปให้ว่ามันเป็นอย่างไร เเต่ให้เข้าใจด้วยตนเอง ค่ายนี้ไม่เน้นวิชาการ เเต่เน้นการปฏิบัติ ลงทำสารคดีจริงเลยในระยะเวลาสั้น  กิจกรรมทั้งหมดได้เเนวคิด 

 

        หนังสารคดีนั้นเป็นสื่อที่ตั้งอยู่บนฐานของความจริง บริบทของความความจริง นักสารคดีต้องเป็นคนซื่อสัตย์เลือกถ่ายทอดความจริง เเก่ชนโดยรวม เริ่มจาการสังเกตุ เเล้วมาสำรวจข้อมูล ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เเล้วเชื่อมโยง จนเกิดเป็นลักษระของนักสารคดีซึ่งเรามีอยู่ในตัวกันทุกๆคนอยู่เเล้ว ขอเเต่เพียงการฝึกฝนตนเองเพิ่มเติม  หนังสารคดีมีองค์ประกอบหลักๆ คือ เเนวคิด อารมณ์ เเละรูปเเบบในการนำเสนอ ซึ่งเเนวคิดนั้นเรามีกันทุกๆคนอยู่เเล้ว เพียงเเต่เราจะสื่อออกมาในอารมณ์เเละรูปแแบบใดก็เพียงเท่านั้น ซึ่งรูปแแบบการนำเสนอเสนอเราอาจใช้คำตรงข้ามกับภาพที่ทำ ใช้สัญลักษณ์เเทน(สื่อความหมาย) การบรรยาย การสัมภาษณ์(ทำให้่าสนใจเเละน่าเชื่อถือ)  การใช้ตนตรีเล่าเรื่อง การสื่อด้วยภาพ เทคนิคมุมกล้องที่ให้ความรู้สึกว่าเราเข้าไปอยู่กับผู้เเสดง เเละการตัดต่อที่เร้าอารมณ์เป็นต้น ซึ่งต้องยึดตามความจริง ตามเหตุการณ์ที่พาไป   ภาพจะทำให้เรารู้ว่ามันเป็นอย่างไร เเล้วดำเนินไปอย่างไร จบอย่างไร เสียงจะทำให้เข้าใจเเละเข้าถึง อารมณ์ เเละเเนวคิดมากยิ่งขึ้น 

        ในการทำหนังสารคดีนั้น สิ่งเเรกๆเลย คือ เราต้องคิก Logline ของเรื่องสารคดีของเรา โดยเป็นประโยคที่สรุปทั้งหมดของเรื่อง เเล้วมาวิเคราะห์ข้อดีเเละข้อเสียว่ามันเป็นอย่างไร เเล้วมีความเปลี่ยนเเปลงอะไร หรือเกิดอะไรขึ้นบ้างกับผู้เเสดง  

        การทำบทสารดคีก็เหมือนกับละครเร่ที่มี 3 ภาพหลักได้เเก่ การปูตัวละคร  ว่ามันเป็นอย่างไร  วิธีการเเก้ไข  เเละตอนจบหรือความสำเร็จ

        มุมกล้องก็เป็นส่วนสำคัญ ได้เเก่ การถ่านเสยทำให้รู้สึกว่ามีอำนาจ  การถ่ายกดทำให้รู้สึกว่าถูกกดขี่  การถ่ายเสย(ก้มหน้า)ทำให้รู้สึกว่ากำลังเหยียดหยาม  การมีเส้นนำทางในความมืดสื่อให้เห็นว่ามันลึกลงไปหรือใหญ่ การถ่านเงาที่ทอดยาวทำให้รู้สึกถึงความน่ากลัว  การที่จัดให้คนหนึ่งอยู่ริมๆฉากทำให้รู้สึกว่าไม่เเน่นอน 

        ขณะเดียวกันสีก็เป็นส่วนสำคัญได้เเก่ โทนสีร้อน กับ โทนสีเย็น สื่อให้เห็นว่าเป็นคู่เเข่งกัน สีดำสื่อให้เห็นว่ามันลึกมาก(บางบริบท) สีขาวสื่อให้เห็นว่า มันกว้างใหญ่ 

        พี่คนหนึ่งที่ให้เเนวคิดอีกว่า ความสนุกของคนเรานั้นมีกันอยู่เเล้วซึ่งความสนุกนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของเราทุกๆคน ขึ้นอยู่กับว่าสื่อของเราจะไปกระตุ้นความสนุกนั้นมากน้อยเพียงใด การหาจุดร่วมมนความสนุกที่มีอยู่ในทุกคนเป็นส่วนใหญ่เเล้วจับประเด็นมาทพสารคดี ตอบตนเองว่า คุณค่าของสารคดีเรานั้น คืออะไร เเล้วในการทำสารคดีนั้นจำต้องมาจากฐานของความจริงเพราะเราไม่ได้โน้มน้าวคนเเต่เราให้คนมามองตนเอง เราอาจไม่สมบูรณ์เเบบ เเต่ให้รู้ไว้ว่าความสมบูรณ์เเบบมาจากความไม่สมบูรณ์เเบบ ให้มองเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เเล้วอย่าลืม อย่างทิ้งความสด อย่าทิ้งความเกรียนของตัวเองไป เพราะนั่น คือ ตัวของเราเอง ...

        ภาพยนต์สารคดีสั้นมีเรื่องราวมากกว่าสารคดีธรรมดา ... เราเองมีเรื่องราวที่ต้องถ่ายทอดให้คนภายนอกเเละคนภายในได้รับรู้ .. บันไดก้าวเเรกเเห่งภาพยนต์สารดคีสั้นเริ่มขึ้นเเล้ว ของฮักนะเชียงยืน...

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 565393เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2014 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2014 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท