ศรธรรม : ฝึกฐานกายพัฒนาฐานใจ


ศรธรรม เป็นเครื่องมือในการฝึกสติ สมาธิ ปัญญา ศรธรรม เป็นการฝึกพัฒนาปัญญา "ฐานกาย" อันเป็นประตูสู่ การพัฒนาปัญญา "ฐานใจ" ในที่สุด ตอนที่ใช้แรงกายดึงสายธนู และเล็งเป้านั้นเป็นการใช้ภาษากาย (Body sencing) อันเป็นวิธีการออกจากความคิดโดยปริยาย หนอ

ผมไปพบกลุ่ม "ศรธรรม" ใน FaceBook โดยบังเอิญที่

https://www.facebook.com/groups/410414022367495/

แรก ๆ มองอย่างผิดเผิน ก็ตั้งข้อสงสัยว่า

เอ! ธนู หรือ ศร น่าจะเป็นอาวุธ มันจะเกี่ยวกับธรรมะตรงไหน? ได้อย่างไร ?

จึงเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมละเอียดขึ้น

 

 

จึงทำให้ทราบว่า ผู้นำกลุ่มคือ ท่านอาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ แล้ว

ทำให้สิ้นสงสัยเลยครับ ต้องเกี่ยวกับธรรมะแน่ ๆ

เพราะอาจารย์ท่านได้พยายามเผยแผ่ธรรมะ ให้ผู้คนมากมายผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ครับ

 

 

ผ่านมาหลายเดือน ผมก็ยังลังเลที่จะเรียนรู้และปฏิบัติ "ศรธรรม"

จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แม่บ้านไปราชการต่างจังหวัดหลายวัน

ทำให้ผมต้องดูแลลูก ๆ ตามลำพัง ได้มีโอกาสพาลูก ๆ ไปว่ายน้ำ ไปทำกิจกรรมนอกบ้านในช่วงปิดเทอม

จึงเกิดแนวคิดขึ้นว่า อาจถึงเวลาแล้วที่ผมจะแปรรูปธรรมะ ที่ผมได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติมา

ให้เป็นหลักสูตรที่จะพัฒนาผู้คนได้ รวมไปถึงลูก ๆ ด้วย หนอ

 

 

 

ผมใช้วิธีการถ่ายทอดโดยประยุกต์มาจากห้องเรียน ป.เอก โท ตรี ที่ผมสอนอยู่

มาเป็นหลักสูตรธรรมะสำหรับลูก ๆ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

เช่น การว่ายน้ำ การล้างจาน การล้างรถ การนั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นต้น

 

 

 

แต่ผมสังเกตุว่า กิจกรรมส่วนใหญ่นั้นเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ สำหรับนิสิต ป.ตรี ขึ้นไป

และดูเหมือนว่า ไม่ค่อยหลากหลาย ไม่เหมาะกับลูก ๆ ซึ่งยังเป็นเด็กอยู่

ผมจึงตัดสินใจค้นหากิจกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะกับเด็ก ๆ

จึงหวนให้ระลึกถึงกลุ่ม "ศรธรรม" ครับ และกลับมาศึกษาอย่างลึกซึ้งอีกครั้ง

พร้อมกับตัดสินใจสั่งอุปกรณ์การเรียนการสอนชิ้นใหม่เรียบร้อยแล้วครับ

 

 

จึงขอนำเสนอเคล็ดวิชาที่คาดหวังจากการจะเข้าร่วมกลุ่ม "ศรธรรม" มีดังนี้ครับ

 

1. ศรธรรม เป็นเครื่องมือในการฝึกสติ สมาธิ ปัญญา

2. ศรธรรม เป็นการฝึกพัฒนาปัญญา "ฐานกาย" อันเป็นประตูสู่ การพัฒนาปัญญา "ฐานใจ" ในที่สุด

3. ตอนที่ใช้แรงกายดึงสายธนู และเล็งเป้านั้นเป็นการใช้ภาษากาย (Body sencing) อันเป็นวิธีการออกจากความคิดโดยปริยาย หนอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 565233เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในญี่ปุ่น..มีการฝึก..กันในมหาวิทยาลัย..หลายแห่ง..เท่าที่ทราบ..เป็นการฝึก..สมาธิ..ขั้นสูง..ของ..ซามูไรในสมัยนั้น..คันธนู..สวยมาก..เป็นไม้ดัด.ต้องใช้.ฝีมือทางช่างมากๆ...ราคาแพงมากหากใช้ทำด้วยไม่ไผ่...เป็นวิทยาการขั้นสูงเหมือนกัน..และยังเป็น..ประเพณีนิยมในญี่ปุ่นอยู่...ในเยอรมัน..ก็มี..สมาคม..เหมือนกัน..

(เคยสนใจ..และมี..ธนู..ประเภทนี้อยู่..ซื้อมาเมื่อ..สมัย..ยังสดๆอยู่..และเคยไฝ่ฝันอยากให้มีผู่ฝึกทำ..ธนูประเภทนี้บ้างในประเทศไทย...).."ไม่ใช่ในรูปที่เห็น"...เคยคุยกับ..ท่านมิซูโอะ.คเวสโก..ท่านให้ความเห็นว่าไม่เหมาะกับบ้านเรา..เด็กๆ..ไม่ควร..เริ่มฝึก..ที่อาวุธ..(เหตุผลคืออาวุธ..ใช้ผิด..คือ..อันตราย..)...

ขอบพระคุณสุดยอดแห่งความรู้ครับ

ลองเสก้ตภาพมาให้ดูเจ้าค่ะ

ที่เห็นเส้นสีแดงคือคันธนูห่อหุ้มด้วยผ้าพิมพ์ลายสไตล์ญี่ปุ่น..เป็นเรื่องที่มีความสนใจเป็นส่วนตัวอยู่..เจ้าค่ะเมื่อมาอ่าน.บล้อกนี้เข้าถูกใจเป๋งเลย..ถ้าคุณภูฟ้า..เปิด..workshopเรื่องนี้ได้ในเมืองไทยคงจะดีไม่น้อย..เพราะเคยเริ่มต้นเรียนในสมัยนั้น(นานมาแล้ว)..เพิ่งจะมาเข้าใจ..(บ้าง)..เพราะพุทธแบบ.เซ็นนั้น...ลึกซึ้งในด้านเรียนและปฏิบัติ..ลำพังฝึกทำธนู..สำหรับผู้ไม่ชอบล้างรถและขัดส้วม..คงจะทางหนึ่งของการรู้..ถึงคำว่าสัจจธรรม...ขอบพระคุณเจ้าค่ะ..ยายธี

ขอบพระคุณภาพสเก็ต และภาพธนูต้นแบบครับ

ผ้าพิมพ์ลายสไตล์ญี่ปุ่น น่าสนใจมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท