แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น


           ผ่านพ้นไปอีกครั้งกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวเรื่อง เด็กสมาธิสั้น เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม 2557 ในช่วงเช้า ณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา งานนี้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง และคุณครู จำนวนรวมถึง 24 ท่าน มาบอกเล่าเรื่องราว ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

             ในช่วงแรกมาทำความรู้จักกับเด็กสมาธิสั้น ........ในคำถามที่ว่า คุณรู้ไหมว่าเด็กสมาธิสั้นคืออะไร?

ผู้ปกครอง “ ตอนนี้น้องอายุ 3 ขวบ คุณหมอยังไม่ได้ฟันธงว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น แต่น้องไม่ค่อยสื่อสาร ที่มาฟังวันนี้อยากรู้เหมือนกันว่าจะนำไปปรับใช้กับน้องอย่างไร? ”

คุณครู “ ที่โรงเรียนมีเด็กที่เข้าข่ายเด็กสมาธิสั้นหลายคน อยากทราบวิธีการประเมินและการดูแล ”

        ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ เช่น

                    -  คุณพ่อสังเกตว่าน้องน่าจะเป็นเด็กกลุ่มนี้แต่คุณหมอบอกยังไม่ระบุว่าเป็นอะไร ในกรณีนี้                    จะทำอย่างไร

                -  คุณครูมีความลำบากในการสื่อสารกับผู้ปกครอง ที่ตั้งความหวังสูงกับการดูแลลูกที่                          โรงเรียน

                -  ผู้ปกครองหนึ่งท่านกังวลกับการจัดหาโรงเรียนให้กับลูก อยากหาโรงเรียนใกล้ๆบ้านที่                        เหมาะกับลูกที่เป็นเด็กสมาธิสั้น

                -  ผู้ปกครองท่านหนึ่งอยากเรียนรู้วิธีการจัดการขณะที่ต้องสอนการบ้านให้ลูก จะดึงความ                      สนใจเขาให้ทำการบ้านให้ไวๆอย่างไร

                -  คุณครูและผู้ปกครองยังสับสนว่าเด็กสมาธิสั้นที่มีภาวะออทิสติกร่วม นั้นจะแยกแยะ                          อย่างไร

 

     กิจกรรมช่วงแรก ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง ตอบคำถามต่างๆจากความรู้และประสบการณ์ ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับคุณครู โดยตรง

     หลังจากพักเบรกแรก ได้จัดกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมเป็น 5 กลุ่มย่อย ตามจำนวนผู้ปกครอง ในกลุ่มจะมีสมาชิกคือ ผู้ปกครองและ คุณครู แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย เพื่อช่วยค้นหาสิ่งที่ต้องพัฒนาและการพัฒนาเด็กในหัวข้อ

  • การพัฒนาบุคลิกภาพ
  • ปัญหาการเรียน
  • การปรับตัว
  • การเข้าสังคม


ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ 1

     เด็กชาย อายุ 6 ขวบ ......

กลุ่มช่วยค้นหาสิ่งที่น้องต้องพัฒนา ดังนี้

-          การเข้าสังคม น้องติดคุณแม่ง่าย

-          การปรับตัว น้องต้องเข้า รร. ใหม่

-          การเรียน

-          ครูไม่เข้าใจนักเรียน

-          อยู่ไม่นิ่งเป็นบางเวลา

-          ชอบดูการ์ตูนซ้ำๆในไอแพด

กลุ่มช่วยหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ดังนี้

-          สร้างความรู้ความเข้าใจต่อครูและนักเรียน

-          สร้างความคุ้นเคยระหว่างครูและนักเรียน

-          ค้นหาวิธีหาแรงจูงใจให้น้องคล้อยตาม

-          ควรมีกฎกติการะหว่างผู้ปกครองและนักเรียนว่าเวลาใดควรทำอะไรและเมื่อมีแล้วจะต้องมีสิ่งเสริมแรง เช่น การให้รางวัล หรือคำชมเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กมีแรงจูงใจ

รอการแก้ไขจากที่บ้าน

-          ผู้เลี้ยงดูต้องมีระเบียบวินัยในการเลี้ยงดู

-          ควบคุมการดู TV เล่น Ipad เป็นเวลานานๆ ควรตั้งกติกาให้เล่นเป็นเวลา

-          มีกิจกรรมที่เหมาะสมทำตามวัย

นอกจากจะแลกเปลี่ยนเรื่องการดูแลเด็กสมาธิสั้นแล้ว การดูแลตนเองของแต่ละท่านเป็นอย่างไร?

-          คุณครูหนึ่งท่านแลกเปลี่ยนว่าตนเองคล้ายกับภาพนี้

                คุณครูใช้หลักความเมตตา ทำความเข้าใจในลักษณะของเด็ก .....ถ้าความอดทนหมดขอพักโดยการเดินออกจากสิ่งกระตุ้นความเครียดสักพัก หรือเปลี่ยนให้เพื่อนครูในทีมมาดูแลเด็กสักพัก....คุณครูบอกก็จะหาย

          คุณพ่อท่านหนึ่งบอกว่า ทุกวันนี้ก็ยังยอมรับว่าตนเองขี้โมโหง่ายอยู่ แต่จะพยายามควบคุมตนเองมากขึ้น...........

สุดท้ายก่อนกลับบ้านวันนี้ ทุกคนได้ลองฝึกหายใจแบบ Breating exercise ง่ายๆด้วยตนเองก่อนกลับบ้าน

.....ขอบคุณสำหรับการติดตามกิจกรรมจากโครงการกิจกรรมบำบัดศึกษาสุขภาวะค่ะ ^ ^

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 565228เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


..มีเมตตาและมีความอดทนนะคะ .... ขอบคุณ แทนผู้ป่วยด้วยนะคะ

ขอบคุณอาจารย์เปิ้ลและคุณอัญชัญ ครุฑแก้ว มากค่ะ ^ ^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท