จะทำตัวให้พ้นคำว่า "พระสมเด็จ เสร็จทุกราย" ได้อย่างไร??


มีคนอกหัก และมองโลกในแง่ร้าย มาเตือนและสอนคนที่กำลังหัดส่องพระว่า

"พระสมเด็จ เสร็จทุกราย" 

ที่ผมคิดว่า น่าจะมองโลกในแง่ร้ายเกินไป และคิดว่าทางออกก็ได้แก่ "การทำความเพียร" ที่ผมแยกออกมาได้ 7 ประการ

วิริเยน ทุกขมัจเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพีย

ดังนี้

1. เพียร ติดตามข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจ อย่างชัดเจน ว่า "พระผงของท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต" มีการปั่นกระแสตลาด อ้างอิทธิฤทธิ์ และอ้างความนิยมอย่างรุนแรง จนเป็นที่ยอมรับ และความฝันของคนจำนวนมาก ทั้งในสังคมไทย และสังคมการค้าวัตถุโบราณทั่วโล

2. เพียร ติดตาม ข้อมูลข่าวสาร การทำพระปลอม เพื่อป้อนเข้าสู่ "ตลาดแห่งความฝัน" ของคนทั่วไป ที่มีหลากระดับฝีมือ และราคา ตั้งแต่หลักสิบบาท จนถึง หลายสิบล้านบาท

3. เพียร เรียนรู้ ว่า แนวคิด มวลสาร และวิธีการสร้าง "พระสมเด็จ" ว่าทำมาอย่างไร มีพัฒนาการอย่างไร หลากหลายแค่ไหน มีการพัฒนาการของมวลสารอย่างไร จึงจะถือได้ว่าเป็น "พระเก่า" อย่างไร ถือว่า "พระเลียนแบบ" ทั้งเนื้อ และ พิมพ์ เพื่อการแยกแยะ เก๊-แท้ ได้อย่างถูกต้อง

4. เพียร เรียนรู้ว่า คนในวงการพระเครื่อง กำลังทำอะไรกับ "พระสมเด็จ" ทั้งการปั่นตลาด การใช้เป็นสินค้า ใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน และ ปั่นกระแส "พุทธพานิช" แล้วกำหนดตัวเองว่า เราควรจะอยู่ตรงไหนของระบบ

5. เพียร เรียนรู้ และ ศึกษา เส้นทาง การเดินทางของ "พระสมเด็จ" ว่าท่านเดินทาง จากไหน ไปที่ไหนบ้าง ถ้าเราจะนิมนต์ท่านมา "บูชา" เราต้องไปที่ไหน พูดอย่างไร ทำอย่างไร ลงทุนเรื่องอะไร เท่าไหร่

6. เพียร เรียนรู้ และศึกษา วิธีการ ค้นหา การดึงดูด และชักจูงให้พระสมเด็จ เดินทางมาหาเรา ตามระดับและขีดความสามารถที่เรามีจริง ไม่เพ้อฝัน แต่ "ใฝ่ฝัน" ตามความเป็นจริง และขีดความสามารถของตนเอง

7. เพียร สร้างกลุ่ม และเครือข่ายในการเรียนรู้ วิธีการแยกแยะเก๊-แท้ และการค้นหา พระสมเด็จ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อความเข้มแข็ง มั่นคง ไมหลงไหลไปกับของเก๊ ของปลอม และราคาปลอมๆ

--------------------------------------

ทำ "ความเพียร" ได้ ทั้ง 7 ข้อนี้แล้วไซร้ "พระสมเด็จ เสร็จท่านแน่นอน"

ไม่เชื่อ ลองเลย ไม่มีเสียหาย มีแต่ได้กับได้ อย่างเดียว

อิอิอิอิอิอิอิอิิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 565221เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

"เล่นสมเด็จ เสร็จทุกราย" จริงหรือ? ตอบแบบฟันธงเลยว่า ไม่จริงครับ ที่เสร็จนั้นส่วนใหญ่ไม่ว่าพระอะไรก็เสร็จครับ เพราะไม่มีความคิดที่จะเรียนรู้หรือติดตามข่าวสารต่างๆในวงการพระเครื่อง ย่ำอยู่กับที่ สร้างวิมาณในอากาศ อยากได้อยากมี แต่ไม่คิดจะเรียนรู้ บางคนตำรายังไม่ยอมซื้อเลย อาจารย์ดีๆก็ไม่เสาะแสวงหา ขาดความเพียรพยายาม เมื่อราว 30 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ยังเป็นเด็กวัยรุ่น ผมเองก็พยายามหาอาจารย์ดีๆที่สะสมอย่างมีหลักการ ตำราหรือนิตยสารพระเครื่องก็หาซื้อเข้ามาเป็นร้อยเล่ม อ่านทุกอย่างที่ปรากฏในหนังสือ แล้วสอบทานจากอาจารย์หรือผู้รู้อีกหลายๆท่าน จนคิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ ถึงจะเก็บเกี่ยวไว้ สิ่งหนึ่งที่ผ่านมาคือ การที่อาจารย์ท่านแรกสอนคือต้องหาพระแท้มาดูเท่านั้น และต้องเริ่มไต่ชั้นขึ้นมาก่อน ไม่ใช่จู่ๆก็มาเล่นพระระดับเบญจเลย ต้องรู้จักประมาณตนว่ายืนอยู่ตรงไหน และสอนให้มีความตั้งใจจริงในการศึกษา เมื่อสอนจนหมดภูมิก็กรุณาแนะนำอาจารย์ท่านต่อไปให้ โดยการบอกความนัยว่าอยู่ใกล้ตัว เพราะไม่แน่ใจว่าท่านจะยอมสอนหรือไม่ ผมใช้ความเพียรในการค้นจนพบ สิ่งที่ท่านสอนก็คือ ในความใหม่มีความเก่า ถ้าดูไม่ออกก็เลิกเล่นไป เมื่อตอบปัญหาของท่านได้ สิ่งเดียวที่ท่านทำคือนำพระสมเด็จที่ท่านสะสมมาให้ดู แล้วบอกว่าดูเอง สงสัยก็มาถาม จำให้ติดตาขึ้นใจ ในยุคนั้นพระเก๊ฝีมือดีๆยังไม่ปรากฏ มีแค่พระปิ้ง ย่าง ทอด เท่านั้น หรือคราบกรุก็เป็นการย้อมสีหรือใช้กาวเป็นหลัก การดูพระสมัยนั้นก็แค่ใช้ประสบการณ์แค่นั้น ยังไม่มีหลักการอะไรมากมาย ตำราก็ไม่มีแพร่หลาย เวลาผ่านไปการพัฒนาพระฝีมือก็สูงขึ้นเรื่อยๆ หากผมเองหยุดอยู่กับที่ก็คงเสร็จเหมือนกัน สำหรับนักเล่นก็ไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากมาย หากแต่นักสะสมเท่านั้นที่ต้องศึกษาและฝึกฝนตลอดไป ไม่มีใครช่วยใครได้หรอกครับ ถ้าผู้เรียนไม่คิดที่จะเรียนและพาตัวเองมายืนอยู่บนคำว่านักสะสม โชคดีมีความเพียรขยันเรียน......สวัสดีมีพระแท้ใช้

เด็ก 5 ขวบ ขี่จักรยานเป็นบอกว่า ขี่จักรยานนี่ง่ายจริงๆเว้ยยย

ตาอายุ 50 ขี่จักรยานไม่เป็น บอกว่าขี่จักรยานทำไม่มันยากเย็นอย่างนี้วะ

ถ้ามีคนสอนก้เป็นไวไม่เจ็บตัว ถ้าจะหัดเองก้ต้องล้มลุกคลุกคลานไป ปากแตกบ้าง เข่าถลอกบ้าง เป็นธรรมดา บางคนก็เป็นเร็ว บางคนก็เป็นช้า บางคนหัดทั้งชีวิตก็ยังไม่เป็น เรียนรู้ดูพระนั้นไซร้ไม่มีของจริงดู ไม่มีครูสอน เป็นยากจริงๆนะครับ อ่านแต่ตำราเหมือนหลับตาเดินลงเหว

มันอยู่ที่วิธีการครับ ลองใช้สติปัญญาไตร่ตรองดู สำหรับผมวิธีหนึ่งที่ใช้ก็คือ ไปงานประกวดพระที่มีมาตราฐานพอสมควร แล้วไปดูพระที่ติดรางวัลหลายๆงานครับ อ้อแล้วช่วยสังเกตด้วยว่าคณะกรรมตัดสินพระเป็นชุดเดียวกันหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นชุดเดียวกันก็ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ อาจารย์ย่อมไม่กระหายอยากได้ศิษย์ แต่ลูกศิษย์ต้องกระหายอยากได้อาจารย์ครับ ถ้าพื้นฐานด้านความรู้แน่น พูดคุยรู้เรื่อง คนสอนก็เบาและสอนได้สบายขึ้น ผมให้อ่านและประมวลผลจากนั้นก็สอบทานครับ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ถามไปเรื่อย ไม่มีของแท้ดู ผมก็เริ่มจากการไม่มีของแท้ดูเหมือนกันครับ หากแต่มีความรู้แน่นพอที่จะทำให้อาจารย์ท่านเอ็นดูที่จะสอน การที่เจ้าของพระอยากให้เราดูพระดีๆนั้น ส่วนใหญ่เขาต้องยอมรับว่าคนดูมีภูมิความรู้ก่อน ไม่ใช่อยู่ๆก็เอามาให้ใครก็ได้มาดู ผมใช้เวลาราว 6 ชั่วโมง ไขคำถามของอาจารย์คนที่ 2 ซึ่งท่านก็ยอมรับว่าใช้เวลาเร็วมาก หากแต่วิธีการของผมก็แค่พื้นๆ โดยนำพระ 2 องค์ ที่สภาพใหม่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่อายุของพระ ได้ข้อสรุปว่าองค์ที่เก่ากว่าผิวก็จะย่นมากกว่า ซึ่งก็เป็นหลักอนิจจังธรรมดาเท่านั้นเอง และพระที่นำมาเปรียบเทียบก็ไม่ใช่พระสมเด็จราคาแพงเลย หากแต่เป็นพระเนื้อผงของเกจิอาจารย์ในยุคปี 2500กว่าๆ พระเนื้อผงองค์แรกที่ผมซื้อมาในราคาหลักร้อยก็คือ สมเด็จปกโพธิ์มฤค 2 องค์ พร้อมกัน เป็นพระเนื้อผงเหมือนกัน แต่แตกต่างกันอย่างมาก เพราะองค์หนึ่งลักษณะเนื้อเทียน อีกองค์แก่ผงมาก เมื่อนำมาให้อาจารย์คนแรกดูแล้วแจ้งราคาให้ท่านทราบ ท่านยังทำหน้าไม่เชื่อ และเมื่อแจ้งว่าซื้อกับใคร ท่านก็ยิ่งไม่อยากเชื่อว่าจะซื้อในราคาแค่นั้น ท่านถามผมตอบง่ายๆว่า ผมว่าแท้ทั้งคู่ แต่ตอนซื้อ ผมพูดง่ายๆว่า มีโอกาศแท้ 1 องค์ เก๊ 1 องค์ หรือเก๊ทั้งคู่ เพราะเนื้อหาแตกต่างกันมาก คนขายไม่แม่นจริง เพราะไม่ได้ศึกษาประวัติการสร้างก็เลยขายให้ในราคานั้น ผมซื้อพระเนื้อผงมาโดยส่วนใหญ่จะไม่ดีเท่าไหร่ เพราะต้องการรู้ว่าที่ว่าไม่ดี มันไม่ดีอย่างไร มันผิดตรงไหน เอามาทดสอบอาจารย์เรื่อยๆ หากแต่ก็ใกล้เคียงมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ ทุกวันนี้พระฟอร์มดีๆก็ซื้อเข้ามา บางองค์ก็รู้อยู่เต็มอกว่าไม่ถึง หากแต่ก็เอาไว้เทียบเคียงให้ลูกค้าที่นำพระมาเช็คว่า องค์นี้ไม่ถึงนะครับ แต่ที่ไม่ถึงก็ดูดีกว่าพระที่นำมาให้เราดู บางคนใส่ตลับทองฝังเพชรมาอย่างดี ก็ต้องเอาของพวกนี้มาสกัด ไม่อย่างนั้นก็อาจผิดใจกันได้เมื่อไปตีพระเขาไม่ดี บางคนคิดว่าเราสร้างความสับสนหรือหลอกจะเอาพระเขา ผมก็บอกว่าถ้าคิดว่าพระที่ผมนำมาให้ดูนั้นแท้ถ้าจะซื้อผมก็ขายในราคาหลักพันหรือหมื่นต้นๆครับ แต่ย้ำอีกทีว่ายังไม่แท้นะครับ หากแต่มีโอกาศที่จะเป็นของเกจิท่านอื่นที่สร้างล้อพิมพ์ครับ วิธีการเรียนรู้มีมากมายหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับผู้เรียน และอาจารย์ก็มีอยู่มากมาย หากแต่เราจะดึงเอาความรู้ที่ท่านเหล่านั้นมีมาอยู่กับเราได้อย่างไร ก็คงต้องใช้ความคิดไตร่ตรองดูครับ จะบอกให้ไปซื้อพระแท้มาดู เดี๋ยวก็จะโดนด่าว่าอยากขายของอีก ให้อ่านเยอะๆ เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานทางทฤษฎีก่อน จากนั้นถ้าความรู้แน่นแล้วก็ค่อยลงภาคสนามครับ ไปซื้อมาให้ดูเพื่อสอบทานว่ารู้จริงหรือเปล่าก็แค่นั้นเอง ผิดเป็นครูครับ แค่บาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น มาใช้พื้นที่ของท่านอาจารย์แสวงอีกแล้ว ก็ต้องขอประทานโทษครับท่านอาจารย์ .......โชคดีมีความคิดทุกท่าน ....สวัสดี

อยากถามอาจารย์ครับ พระสมเด็จ ที่สมเด็จโตท่านสร้างนอกจากจะมีพิมพ์มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่นิยมกัน จนราคาสุดที่จะเอื่อมถึงแล้ว ยังมีพิมพ์โบราณไหมครับ หรือเป็นเพียงการตลาดของคนที่ต้องการสร้างจุดขายในรูปแบบใหม่เพื่อให้คนที่อยากจะได้พระสมเด็จไว้ครอบครอง

ราคาที่ไหนสุดเอื้อมครับ หลักร้อย หลักพัน ก็มีเยอะแยะ ถ้าดูเป็น

ถ้าไม่ยอมเรียนจะไปหวังพึ่งเซียน เขาก็ทุบเอาแน่ๆครับ

หันมาเรียนเลยครับ แล้วจะเอื้อมถึงแน่นอน รับประกันผลครับ

เห็นด้วยอย่างมากครับเรื่องราคา ราคาสมเด็จสำหรับคนดูเป็นนั้นไม่ควรเกินราคาหลักพันกลางครับ อาจารย์คนแรกเคยบอกว่าถ้าฝึกสำเร็จแล้ว "จับร้อยได้ล้าน" อย่างเอ็งถ้าซื้อเกิน 5000 บาท (ประมาณ 20 ปี ที่แล้ว) ถือว่าสอบตก ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ผมก็ได้มาในราคาหลักร้อยเท่านั้น สำหรับผมแล้วพระไม่ได้มีไว้ขายโดยตรงครับ ส่วนใหญ่เก็บเข้าธนาคารหมด ที่มีอยู่ในร้านก็แค่พระที่มีโอกาสเท่านั้น บางองค์ที่ผมตีว่าไม่ดีหรือให้เด็กนำไปแห่ แล้วถูกตีออกมาก็บอกให้ลูกค้าทราบตลอดว่ามีคนตีเก๊ นักสะสมบางคนก็ยังสงสัยว่าพระแบบนี้เก๊ได้อย่างไร ก็คงต้องบอกว่าส่วนใหญ่ตีเก๊ไว้ก่อนเพราะมันมีโอกาศถูกมากกว่าผิด แต่ถ้าซักถามว่าผิดตรงไหนส่วนใหญ่ตอบไม่ถูก ซึ่งก็บ่งบอกนัยยะสำคัญว่าความรู้ไม่ถึง พระองค์หนึ่งจะเก๊หรือแท้ขึ้นอยุ่กับปัจจัยหลายอย่างนะครับ อย่าให้ความผิดพลาดของบุคคลมาตัดสินพระอย่างเดียว ผมเคยให้หลักการสำหรับนักสะสมหน้าใหม่ว่า ถ้ายังไม่เก่งให้ซื้อพระแพงไปก่อน(แพงแบบมีหลักการนะครับ ไม่ใช่แพงเพราะโง่) เมื่อเก่งก็จะซื้อถูกลงไปเอง สิ่งที่ต้องใช้อย่างมากๆในวงการนี้คือความเพียรครับ ไม่มีใครแก่เกินเรียน อย่าอ้างฟ้าฝนอย่าอ้างอะไร ถ้าเรียนแบบมีหลักการและความตั้งใจแล้วไม่ได้ผล ก็คงเป็นเพราะวาสนาไม่ถึงครับ แต่ให้รู้ไว้อย่างหนึ่ง อย่างไรเสียคุณก็เก่งขึ้นแน่นอน เหมือนเราเรียนหนังสือครับ อาจสอบไม่ได้ที่ 1 แต่คงไม่ถึงกับสอบตกหรอกครับ เรื่องราคาซื้อเข้านั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ และราคาขายออกก็เช่นกัน อย่ากังวลว่าจะไม่ได้พระแท้ ถ้าเรียนสำเร็จแล้ว เพราะถ้าไม่ละความเพียรเป็นได้เจอแน่ครับ วาสนาฤาจะสู้น้ำมือตน .......โชคดีแค่บางครั้งฤาจะสู้การฝึกตน .......สวัสดีมีความเพียรครับ

เหมือนหนังจีนไหมครับอาจารย์ ถ้าเรียนวิชาไม่สำสำเร็จอย่าด่วน ลงเขาเข้ายุธภพเดี๋ยวพวกมาร มันจะลังแกเอา ….

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท