ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace


ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace     

                ภาพยนตร์เรื่อง amazing grace เป็นภาพยนตร์ที่มีการดำเนินโดยการกล่าวนำเรื่องของศาสนามาข้องเกี่ยว ตัวเอกของเรื่อง คือ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ ที่ทำหน้าที่แสดงออกให้เห็นว่าการมีทาสและฝันในเสรึภาพที่มนุษย์ทั้งมวลจะต้องมีโดยเท่าเทียม และเป็นคนที่เติบโตเข้าสู่เส้นทางการเมือง จึงมีเป้าหมายที่แนวแน่ คือ การรณรงค์ให้มีการออกกฎหมายเลิกค้าทาสในประเทศอังกฤษอย่างเป็นทางการ แม้ว่าการร่างกฎหมายนั้นไม่ได้เป็นไปอย่างราบลื่น พบอุปสรรคปัญหาที่เข้ามาขัดขวาง มากมาย จากในสภาและสาธารณชน แต่เขาก็ยั่งยืนหยัด มุ่งมานะ อดทน และเผชิญหน้ามาตลอด ในบางครั้งเขาก็มีความอ่อนล้า เขาก็จะกลับไปที่โบสถ์เพื่อรับพรจากพระเจ้า และกำลังใจจากบาทหลวงจอห์นที่คอยปลอบ และให้กำลังใจเสมอมา หลังจากนั้นเขาก็ต่อสู้และใช้ความพยายามจนสำเร็จผล จนในที่สุดก็ได้นำมาบังคับใช้ อันนำไปสู่การเลิกทาส ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้รับข้อคิดจากการดูภาพยนตร์ดังกล่าว ดังนี้ 

               ประการแรก คือ ความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ในภาพยนตร์จะให้ได้ว่า เกิดความโหดร้ายของชีวิตของทาส ผู้ค้าทาสนิยมขนทาสมาครั้งละมากๆ จนเต็มลำแทบไม่มีที่จะยืน ทาสต้องทนทรมานจากการเดินทางไกลเป็นแรมเดือน ถูกล่ามโซ่ไว้ตลอดเวลา ถูกเฆี่ยนตี จนทาสจำนวนมากตายบนเรือเพราะทนความหิว ทนทรมานไม่ไหว ทาสบางคนที่ป่วยก็โดนโยนลงทะเลยเพื่อประหยัดส่วนแบ่งอาหารและหลายคนตัดสินใจจบชีวิตตนโดยการกระโดดลงทะเลหนีความทุกข์ทรมาน ซึ่งมนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมต้องมีสิทธิในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรตกอยู่ภายใต้อำนาจของบุคคลอื่น หรือมีการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สิน ในกรณีนี้มีหลักกฎหมายที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ.๒๔๙๑ วางหลักไว้ว่า                       ข้อ ๑ มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างๆเป็นของตนเอง  ซึ่งมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ                                                                                            ข้อ ๔ บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และการค้าทาสทุกรูปแบบ                                                                                                                                               ประการที่สอง คือ การวางแผนที่เป็นไปอย่างสงบสุข และมีการระดมความคิดเห็นในกลุ่มของตนโดยใช้วิถีตามหลักประชาธิปไตย เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งกันเอง หรือใช้ความรุนแรงต่อกัน และเป็นสิ่งที่ให้ได้ชัดว่า ผลที่จะออกมาสมบูรณ์แบบหรือเป็นไปตามที่ได้ตั้งเป้าหมายนั้น จะต้องมีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ เคารพในการแสดงความความเห็น และยอมรับที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช้วิธีที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็วแต่ไม่ได้คุณภาพที่เสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ให้ประชาชนได้รับรู้และมีสิทธิในการเข้าร่วมในการร่างกฎหมายนั้นด้วย                                                                                                                                                  ประการที่สาม คือ ผลักดันด้านการใช้กฎหมาย ในภาพยนตร์จะแสดงให้เห็นว่า การที่ให้ประเทศอื่นที่เข้ามากับประเทศอังกฤษนั้นต้องชักธงอังกฤษขึ้น ซึ่งในสมัยนั้นเรือค้าทาสส่วนใหญ่จะชักธงของประเทศอเมริกาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระภาษี การชักธงชาติอังกฤษนั้นเป็นการแสดงว่าเป็นเรือของประเทศอังกฤษนั้น ส่งผลให้เรือจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศอังกฤษ จึงทำให้การค้าทาสนั้นลดน้อยลง เป็นเหตุให้นำไปสู่การยกเลิกการค้าทาสโดยสมบูรณ์ในเวลาต่อมา ในกรณีนี้มีหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการให้สัญชาติแก่เรือ การชักธงของรัฐที่ให้สัญชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างเรือกับรัฐเจ้าของธง มีปรากฏอยู่ในอนุสัญญาระหว่างประเทศบางฉบับที่เกี่ยวกับกฎหมายทะเล เช่น อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๕๘  อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลที่ลงนาม ณ Montego Bay ; วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๑๙๘๒ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์พื้นฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัญชาติของเรือและการจดทะเบียนเรือ                                                                     ข้าพเจ้าเห็นว่า ภาพยนตร์ดังกล่าว ได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบความคิดที่เป็นระบบ การวางแผนในการทำงาน และการดูภาพยนตร์ทำให้เกิดแนวคิด วิเคราะห์เหตุการณ์ จับประเด็นเชื่อมโยงกับกฎหมายที่ได้มีการใช้บังคับในปัจจุบัน ซึ่งนำมาให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นและยังเป็นการศึกษาบทกฎหมายล่วงหน้าอีกด้วยฃ

                อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า ได้มีการออกกฎหมายยกเลิกการค้าทาสมาบังคับใช้แล้ว ก็ยังพบเห็นว่ามีการจ้างแรงงาน ข่มขู่ ข่มเหง เบียดเบียนจากผู้มีอำนาจอยู่ดี แต่ก็มีใครหลายคนมองว่าปัจจุบันยุคสมัยใหม่ ยุคแห่งวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตย ยังตั้งคำถามว่า เรื่องพวกนี้หลงเหลืออยู่อีกหรอ เรื่องของการค้าทาส ก็คงจะเป็นเรื่องที่ล่าสมัย โบราณ  แต่ยังพบเห็นในความเป็นจริงอีกเยอะที่ยังมีการจ้างแรงงาน ข่มขู่ ข่มเหง อีกจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการถูกละเมิดสิทธิ์เชนนี้ โดยเฉพาะแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้

หมายเลขบันทึก: 565213เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2014 01:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท