คนรักชาติที่ถูกเรียกว่าไทยเฉย


คนรักชาติที่ถูกเรียกว่าไทยเฉย

เมื่อคืนเปิดทีวีดู ทั้งช่องราชดำเนินและสนามราชมังคลา รู้สึกว่าไม่เห็นทางออกของประเทศไทยเลย นอกจากจะแตกเป็น 2 ประเทศ เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้สึกภาคภูมิใจมากในการรักชาติของตัวเอง ต้องรักษาชาติของตัวเองไว้ให้ได้ และรักชาติของตัวเองอย่างมากๆๆ พร้อมที่ยกพลประมาณสองล้านเป็นอย่างน้อยมาถล่มกัน หันไปดูทั้งราชดำเนินและราชมังคลา ที่ต่างก็รักชาติกันอย่างแรงกล้า ด้วยแรงรักชาติที่เห็นเลยไม่เห็นทางออกเลย นอกจากต้องเสียเลือดเนื้อของกลุ่มชนพี่น้องเรา ประชาชนตาดำๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของขั้วอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ที่เคยเกิดจลาจลมาทั้งหมด กี่ครั้งในประเทศไทย เคยเห็นผู้นำจลาจลตายบ้างไหมคะ

ญี่ปุ่นโดนซึนามิ ฟิลิปปินส์โดนพายุถล่ม แล้วประเทศไทยโดนคนไทยกันเองถล่ม ความเสียหาย ไม่ต้องพูดถึง แค่ที่ต้องเลืองตั้งใหม่ก็เกือบ 20,000 ล้านแล้วคะ... และนี่คือความคิดหนึ่งที่คุณเรียกว่าไทยเฉย...ที่รักชาติไม่น้อยไปกว่าคุณ และอยากให้เมืองไทยสงบสุขเป็นที่สุด

จริงๆ ปัญหาของประเทศไทยทั้งหมด ...ไม่ใช่ใช้เวลาแก้กันแค่วันสองวันนะ ...ไม่ใช่การล้มรัฐบาลนี้ แล้วรัฐบาลใหม่ขึ้นแล้วมันจะแก้ได้ .... เพราะปัญหามันอยู่ที่ราก มันอยู่ที่ประชาชน ...แล้วเราแก้ปัญหาอย่างไรล่ะ ...นอกจากการสร้างคุณภาพให้ประชาชน ซึ่งมันไม่ใช่ง่ายๆ เลย ...ดูซิ ตอนนี้ แค่ปัญหาการเลือกหัวหน้าชั้นของเด็กอนุบาล ก็ซื้อเสียงกันแล้ว ...การสร้างคุณภาพนี่แหละ สำคัญมาก เราต้องเริ่มจากตัวเอง ครอบครัว... หมู่บ้าน ...ชุมชนเล็กๆ ...ต้องช่วยกัน เราต้องรณรงค์ให้พัฒนาแบบ bottom up เพราะ top down มันเน่าเฟะ ทั้งระบบ...ไม่ว่าจะฝ่ายไหนขึ้น ก็เน่าพอๆ กัน ...แล้วลองพิจารณาดูซิ เราจะยอมตาย เพื่อประโยชน์อะไร...น่าเสียดายไหมล่ะ ...แทนที่จะรณรงค์และโพส..เรื่องประท้วง...ที่ต่างฝ่ายต่างด่าใส่กัน...เรามาหาวิธีการรณรงค์ให้คนไทยรักชาติด้วยวิธีการสร้างคุณภาพของคนไทย มาสู้กับกลุ่มนักการเมืองเหล่านั้น ไม่ดีกว่าหรือ

การพัฒนาแบบ Bottom up เป็นมุมมองที่มองการพัฒนาจากฐาน หรือรากขององค์ประกอบ คือประชาชน ครอบครัว หรือชุมชนเล็กๆ ไปสู่ระบบชุมชนใหญ่ๆ ระดับตำบล หรือระดับจังหวัด และระดับประเทศ เริ่มจากการทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับการพัฒนา มันจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และสามารถพัฒนาเป็นรูปแบบและกระบวนการ ในที่สุด ก็จะพัฒนาประเทศต่อไปได้...แต่ต้องใช้เวลา ...

26 พฤศจิกายน 2556

หมายเลขบันทึก: 564892เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท