เล่าเรื่องโรงเรียนพ่อแม่ในคุณแม่ตั้งครรภ์จากอดีตถึงปัจจุบัน


ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ได้เริ่มดำเนินงานในปี 2547 ตามนโยบายของกรมอนามัยแล้วพบว่าผู้รับบริการ 93% ต้องการให้มีการจัดประชุมวิชาการ 1-2 ครั้ง/ปี

จากนั้นปี2548 ได้การทำการทดลองใช้หลักสูตรเร่งรัด เป็น หลักสูตรที่จัดอบรมวันเดียวครบ 7 วิชา เป็นการอบรมเพียงครั้งเดียวซึ่งไม่ตรงกับวันที่มา ANC ตลอดการตั้งครรภ์ พร้อมแจกหนังสือคู่มือการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเลี้ยงอาหารว่าง 2 มื้อ กลางวัน 1 มื้อ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่มาฝากครรภ์ปกติ ได้รับความรู้ตามเดิม

ผลลัพธ์พบว่า คะแนนสอบที่เก็บเมื่อหลังคลอดผ่านเกณฑ์ (80%) กลุ่มหลักสูตรเร่งรัดเทียบกับกลุ่มปกติ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 28.9 กับ 10.1 ตามลำดับ ความพึงพอใจก็ร้อยละ  82.0 กับ 86.1 ตามลำดับ เลยเห็นว่าถ้าเป็นงานประจำน่าจะเหมาะสมกว่าเพราะไม่เสียค่าใช้จ่าย แล้วความพึงพอใจก็ดีกว่า

ปี 2549 จากเดิมที่เราเร่ร่อนหาห้องสอน ปีนี้เราได้ห้องที่ใช้ปฏิบัติงานประจำแล้ว จึงทำการวิจัยเปรียบเทียบรูปแบบอีก 2 รูปแบบเป็นหลักสูตรพิเศษ คือ สอน 2 ครั้งแบ่งตามอายุครรภ์ (<28 สป. กับ> 28 สป.) กับอีกรูปแบบคือ หลักสูตรปกติ แบ่งเป็น 4 ครั้งตามอายุครรภ์(< 16 สป.,16-20สป.,16-28 สป. และ>32 สป.)

พบว่าความรู้ที่เพิ่มขึ้นของทั้งสองหลักสูตรไม่แตกต่างกัน การปฏิบัติตัวและความพึงพอใจใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาการทำงานพบว่าหลักสูตรปกติจะเหมาะกว่า เพราะจำนวนผู้เรียนแต่ละครั้งไม่มากจนแน่นห้อง เวลาที่ใช้ไม่นานเกินไป และสามารถทวนซ้ำได้หลายครั้ง ในระหว่างเก็บงานวิจัย มีแรงจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์คือ ถ้าเข้าครบทุกวิชาจะให้รับบริการนวดประคบเต้านมด้วยสมุนไพรฟรีหลังคลอด

ปี 2550 จึงเลือกใช้หลักสูตรปกติจนถึงปัจจุบัน และมีการเพิ่มกิจกรรมสนับสนุนสามีกับญาติให้มากขึ้น มีนวัตกรรมเสื้อคุณพ่อตั้งครรภ์ ให้คุณพ่อเข้าห้องคลอดระหว่างภรรยาคลอด มีกิจกรรมนวดกระชับผูกพันให้คุณพ่อนวดภรรยา มีจิตประภัสสร มีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาในเรื่อง ความพึงพอใจต่อผู้สอน สถานที่ ระยะเวลาที่ใช้ สื่อการสอน การนำเนื้อหาไปปรับใช้ โดยเก็บแยกในหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด และ WCC

ปี 2552 เพิ่มตัวชี้วัดในเรื่องความรู้และการปฏิบัติตัว การมีส่วนร่วมของสามี/ญาติ

ปี 2553 ได้สอบถามผู้รับบริการว่าเนื้อหาที่เรากำหนดไว้ เค้าอยากรู้หรือไม่

ปี 2556 ได้ศึกษารูปแบบในมารดาวัยรุ่น เพราะอยากรู้ว่ารูปแบบที่สอนอยู่วัยรุ่นจะโดนใจมั้ย แล้วความรู้เป็นอย่างไร การปฏิบัติจะเป็นอย่างไร สุดท้ายผลที่เกิดขึ้นกับลูกล่ะ

พบว่า 18 คนที่เข้าหลักสูตรครบ มีความพึงพอใจมากทั้งในมารดาระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด และระยะเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 88.9 ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด ทารกทุกคนคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักมากกว่า 2500 กรัม แล้วความรู้กับการปฏิบัติตัวก็ไม่ต่างจากกลุ่มแม่ทั่วไป

  เสื้อคุณพ่อตั้งครรภ์

 โมเดลนับลูกดิ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 564622เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2014 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมการใช้วิจัยสนับสนุนการทำงานครับ

เป็นวิจัยเล็กๆ แบบR2R น่ะค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท