ข้อเสนอในการจัดการปัญหาคนตกหล่นทางทะเบียนราษฎร


สถานการณ์เด่นด้านกฎหมายนโยบายเกี่ยวกับสถานะและสิทธิในพื้นที่สึนามิ

 

กฎหมายการทะเบียนราษฎรที่ว่าด้วยการเพิ่มชื่อของคนไทยตกหล่นทางทะเบียน ไม่เอื้อต่อการพิสูจน์สถานะ

 

ผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว

 

ระยะสั้น : เด็ก เยาวชนและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน คนไทยพลัดถิ่น หรือคนไทยตกหล่นมาแต่อดีต ไม่สามารถพิสูจน์ความมีสัญชาติไทยของตนเอง แม้มีพยานหลักฐานที่ชัดเจน เนื่องจากกฎหมายไม่ได้จำกัดการใช้ขอบเขตดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และไม่มีบทสันนิษฐานที่เป็นคุณต่อประชาชน

ระยะกลาง : ประชาชนที่ตกหล่นทางทะเบียนมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความล่าช้า

 

ระยะยาว: กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากประชาชนที่เป็นคนสัญชาติไทยตามกฎหมายไม่มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตเพราะการมีสถานะไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ต้องเป็นกำลังของชาติ

  

ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา

 

ต่อฝ่ายราชการ

     จังหวัดพังงา ควรเป็นเจ้าภาพในการดำเนินโครงการนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาคนไทยตกหล่น โดยร่วมมือกับภาคประชาชน คือมูลนิธิเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งจัดทำฐานข้อมูลคนตกหล่นไว้ชัดเจนแล้ว

     กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ควรจัดทำระเบียบเฉพาะในการพิสูจน์คนไทยตกหล่นทางทะเบียน รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน และคนไทยพลัดถิ่นที่เป็นคนดั้งเดิม โดยมีการวางกรอบดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ , ขั้นตอนการพิสูจน์ให้ชัดเจน และมีบทสันนิษฐานที่เป็นคุณ ที่เหมาะสมกับการพิสูจน์ตน

       โดยการจัดทำระเบียบควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและนักวิชาการเข้าร่วม

     สถาบันนิติวิทยาศาสตร์  ควรเข้าช่วยเหลือคนไทยตกหล่นทางทะเบียนที่ไม่ปรากฏหลักฐานการพิสูจน์ตนใดๆ และมีความจำเป็นต้องใช้ การตรวจ DNA โดยอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายการตรวจในราคาต่ำ

ต่อฝ่ายวิชาการ

 นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในการพิสูจน์สถานะ หรือ การร่างกฎหมาย ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างระเบียบดังกล่าว

ต่อฝ่ายองค์กรเอกชน

 มูลนิธิเด็ก มูลนิธิกระจกเงา เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ควรเร่งดำเนินการสำรวจและจำแนกข้อมูลของบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประสานงานกับภาคราชการในการให้ความช่วยเหลือประชาชนภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย อย่างอดทนไม่ย่อท้อ

ต่อฝ่ายองค์กรสนับสนุนงบประมาณ

 องค์กรแพลน ยูนิเซฟ หรือองค์กรทุนอื่นๆ ควรสนับสนุนงบประมาณในโครงการนำร่องแก้ปัญหาของจังหวัดพังงา รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลของภาคประชาชน

หมายเลขบันทึก: 56453เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท