spn_it


การประเมินผลโครงการ

ความหมายของการประเมินโครงการ

                         การประเมินโครงการเป็น  ศาสตร์ประยุกต์  (Applied  Science)” หรือเป็น  วิทยาการประยุกต์  ที่เกิดจากการผสมผสานของศาสตร์หลายแขนง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวคิดและวิธีการที่ผูกพันกับวิชาการสาขาเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก   อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาเฉพาะคำว่า   การประเมินโครงการ  แล้ว  อาจบอกได้ว่าเป็นคำผสมของคำสองคำคือคำว่า  การประเมิน  กับคำว่า  โครงการ  ซึ่งทั้งสองคำต่างก็มีความหมายหรือคำจำกัดความเฉพาะของตนเอง                         การประเมิน  หรือ  การประเมินผล   มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  “Evaluation”   ซึ่งหมายถึง  กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   นอกจากนี้ยังมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น ๆ อีกหลายคำ  เช่น  การวิจัย  (Research)  การวัดผล  (Measurement)   การตรวจสอบรายงานผล  (Appraisal)  การควบคุมดูแล  (Monitoring)  การประมาณการ  (Assessment)  และการพิจารณาตัดสิน  (Judgment)  เป็นต้น   ซึ่งคำดังกล่าวแล้วอาจสรุปเป็นความหมายหรือคำจำกัดความร่วมกันได้ว่า   เป็นการประมาณค่าหรือการประมาณผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโดยอาศัยข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสอบถาม  ทดสอบ  สังเกต  และวิธีการอื่น ๆ  แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อตัดสินว่าการดำเนินงานนั้นมีคุณค่าหรือบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด                         พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  .. 2525  ได้ให้คำจำกัดความของ  โครงการ  ว่าหมายถึง  แผนหรือเค้าโครงที่กำหนดไว้   โครงการเป็นศัพท์ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  “Project”   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือระดับหนึ่งของแผนงาน  (Plan)  และในบางตำราถือว่ามีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า  “Program”   ซึ่งหมายถึงแผนงานที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติงานชัดเจน   ฉะนั้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าโครงการคือ  Project  หรือ  Program  ในภาษาอังกฤษนั้นเอง   ความหมายของโครงการ  และรายการปฏิบัติงาน   ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดแล้วในตอนที่ 1                           โดยคำว่า  การประเมิน  หรือ  การประเมินผล  รวมกับคำว่าโครงการ  จึงเป็นคำศัพท์ทางวิชาการโดยเฉพาะว่า   การประเมินโครงการ  (Project  or  Program   Evaluation)   ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้                         การประเมินโครงการ   หมายถึง  การตรวจสอบวัตถุประสงค์ของโครงการว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม่   และบรรลุถึงเป้าหมายนั้นด้วยด้วนมากน้อยเพียงใด                         การประเมินโครงการ   เป็นกระบวนการในการพิจารณาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะและคุณภาพของโครงการ                         การประเมินโครงการ   หมายถึง  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือการใช้วิธีการวิจัยเพื่อหาข้อมูลที่เป็นจริงและมีความเชื่อถือได้ของโครงการ   แล้วพิจารณาตัดสินว่าโครงการนั้นบรรลุถึงวัตถุประสงค์หรือไม่และด้วยคุณภาพของความสำเร็จนั้นเป็นเช่นใด                         การประเมินโครงการ   หมายถึง  การประมาณค่าการดำเนินงานของกิจกรรมใด ๆ  อย่างมีระบบเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานนั้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต                         จากความหมายดังกล่าวแล้วอาจสรุปได้ว่า   การประเมินโครงการหมายถึง   กระบวนการในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินโครงการ   และพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือจุดด้อยของโครงการนั้นอย่างมีระบบแล้วตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นเพื่อการดำเนินงานต่อไปหรือจะยุติการดำเนินงานโครงการนั้นเสีย 

ความหมายและความสำคัญของการประเมินโครงการ

                         การพัฒนาของโลกทางด้านวัตถุได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว  ด้วยกิจกรรมอันสลับซับซ้อนมากมายและผลของการพัฒนาทางด้านวัตถุนี้เอง  ก่อให้เกิดผลสะท้อนหรือผลกระทบอย่างมากต่อจิตใจของพลโลก   จึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการเพื่อการพัฒนาจิตใจของมนุษยโลกควบคู่กันด้วย    ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้มนุษยโลกได้ใช้ความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและการพัฒนาการทางด้านจิตใจให้สอดคล้องกันไป   และมนุษยโลกเหล่านั้นอยู่รวมกันด้วยความสงบสุข   แบ่งปันและใช้ประโยชน์ของความเจริญร่วมกัน   และมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน                         โครงการอันมากมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา   การเกษตร   การสาธารณสุข   ความมั่นคงปลอดภัย   และอื่น ๆ  เพื่อพัฒนาความเจริญดังกล่าวแล้วต้องใช้จ่ายทรัพยากรเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นเงิน  วัสดุอุปกรณ์และกำลังคน  โครงการบางโครงการมีประโยชน์มากและเห็นคุณค่าอย่างชัดเจน   โครงการบางชนิดเมื่อกระทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์และคุณค่าแต่ประการใด   การที่จะตัดสินใจระบุลงไปว่าโครงการใดมีประโยชน์มีคุณค่าหรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดย่อมจะต้องมีการพิสูจน์วิเคราะห์   โดยเครื่องมือที่ใช้ก็คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการประเมินโครงการ                         การประเมินโครงการอย่างมีระบบ   ย่อมจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารโครงการได้ตระหนักถึงคุณภาพของโครงการที่กำหนดขึ้นไว้ว่าจะสามารถตัดสินใจในการดำเนินการ   การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงการให้มีความถูกต้องเหมาะสม   และส่งผลให้โครงการนั้นดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ   บรรลุถึงเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ                         การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายและมีความสำคัญตามความคิดเห็นของนักวิชาการในหลายแง่หลายมุมดังต่อไปนี้                         มิตเซล   กล่าวว่า  การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายที่สำคัญ 3  ประการ1.        เพื่อแสดงผลการพิจารณาถึงคุณค่าของโครงการ2.        เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจมีการตัดสินใจที่ถูกต้องขึ้น3.        เพื่อการบริการข้อมูลแก่ฝ่ายการเมืองเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย                           ค์นอก    กล่าวว่า  การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายเฉพาะดังต่อไปนี้1.       เพื่อแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ชัดเจนของโครงการอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการตัดสินใจ  ว่าลักษณะใดของโครงการมีความสำคัญมากที่สุด   ซึ่งจะต้องทำการประเมินเพื่อการหาประสิทธิผล   และข้อมูลชนิดใดที่จะต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อการวิเคราะห์2.       เพื่อรวบรวมหลักฐานความเป็นจริงและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การพิจารณาถึงประสิทธิผลของโครงการ3.       เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ  เพื่อนำไปสู่การสรุปผลของโครงการ4.       เพื่อการตัดสินใจว่าข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดที่สามารถนำเอาไปใช้ได้5.       เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น                          มอร์ซุนด์   กล่าวถึง  ความมุ่งหมายของการประเมินโครงการไว้ดังนี้1.             เพื่อที่จะทราบว่าการปฏิบัติงานตามโครงการ   บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่2.             เพื่อที่จะทราบว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายที่ปฏิบัติได้จริงหรือไม่   และเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด                          รอสซี่ และฟรีแมน   กล่าวว่าการประเมินโครงการมีความมุ่งหมายตามเหตุผลดังต่อไปนี้1.       เพื่อพิจารณาถึงคุณค่าและการคาดคะเนคุณประโยชน์ของโครงการ2.       เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการ3.       เพื่อเป็นการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขการดำเนินโครงการ4.       เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียหรือข้อจำกัดของโครงการ  เพื่อการตัดสินใจในการสนับสนุนโครงการ5.       เพื่อการตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการบรรลุถึงเป้าหมายมากน้อยเพียงใด อนึ่งพึงระลึกเสมอว่าการประเมินโครงการมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพิสูจน์หรือตรวจสอบโครงการ  แต่เป็นการกระทำเพื่อปรับปรุงแก้ไขส่วนบกพร่องของโครงการเป็นสำคัญดังข้อเขียนของตัฟเฟิลบีม   ที่ว่า                         ความมุ่งหมายที่สำคัญของการประเมินโครงการมิใช่เพื่อการพิสูจน์  แต่เพื่อการปรับปรุง  (The  most  important  purpose  of  program  evaluation  is  not  to  prove  but  to  improve)”                         จากความมุ่งหมายของการประเมินโครงการดังทีได้กล่าวแล้วจะสามารถกล่าวเป็นข้อสรุปที่แสดงถึงควรมสำคัญหรือคุณประโยชน์ของการปะเมินโครงการได้ ดังนี้1.       การประเมินจะช่วยทำให้การกำหนดวัตถุประสงค์และมาตราฐานของการดำเนินงานมีความชัดเจนขึ้นกล่าวคือก่อนที่โครงการจะได้รับการสนับสนุนให้นำไปใช้ย่อมจะได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้บริหารและผู้ประเมิน   ส่วนใดที่ไม่ชัดเจนเช่นวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานในการดำเนินงานหากขาดความแน่นอนแจ่มชัดจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องชัดเจนเสียก่อน   ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการประเมินโครงการมีส่วนช่วยทำให้โครงการมีความชัดเจนและสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างได้ผล   มากกว่าโครงการที่ไม่ได้รับการประเมิน2.       การประเมินโครงการช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์เต็มที่   ทั้งนี้เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ   ข้อมูลใดหรือปัจจัยใดที่เป็นปัญหาจะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในจำนวนหรือปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอแก่การดำเนินงาน   ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นหรือมีมากเกินไปจะได้รับการตัดทอน   และทรัพยากรใดที่ขาดก็จะได้รับการจัดหาเพิ่มเติม   ฉะนั้นการประเมินโครงการจึงมีส่วนที่ทำให้การใช้ทรัพยากรของโครงการเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ3.       การประเมินโครงการช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์  ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผน   ดังนั้นเมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขให้ดำเนินการไปด้วยดี   ย่อมจะทำให้แผนงานดำเนินไปด้วยดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้   หากโครงการใดโครงการหนึ่งมีปัญหาในการนำไปปฏิบัติย่อมกระทบกระเทือนต่อแผนงานทั้งหมดโดยส่วนรวม   ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าหากการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้โครงการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ย่อมหมายถึงการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้แผนงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์และดำเนินงานไปด้วยดีเช่นเดียวกัน4.       การประเมินโครงการมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ  (Impact)  ของโครงการและทำให้โครงการมีข้อที่ทำให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง   ดังตัวอย่างโครงการเขื่อนน้ำโจนซึ่งในการสร้างถนนเพื่อไปสู่สถานที่สร้างเขื่อนนั้นต้องผ่านป่าไม้ธรรมชาติ   ทำให้เกิดการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและสัตว์ป่าหลายชนิดอาจต้องสูญพันธ์การประเมินโครงการจะช่วยให้เกิดโครงการป้องกันรักษาป่า   และโครงการอนุรักษ์และอพยพสัตว์ป่าขึ้นเพื่อการแก้ปัญหาเป็นต้น   ด้วยตัวอย่างและเหตุผลดังกล่าวจึงถือได้ว่าการประเมินโครงการมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาได้5.       การประเมินโครงการมีส่วนช่วยอย่างสำคัญในการควบคุมคุณภาพของงาน   ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าการประเมินโครงการเป็นการตรวจสอบและควบคุมชนิดหนึ่งซึ่งดำเนินงานอย่างมีระบบและมีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างมาก  ทุกอย่างของโครงการและปัจจัยทุกชนิดที่ใช้ในการดำเนินงานจะได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียดกล่าวคือทั้งข้อมูลนำเข้า  (Inputs)  กระบวนการ  (Process)  และผลงาน  (Outputs)   จะได้รับการตรวจสอบประเมินผลทุกขั้นตอนส่วนใดที่เป็นปัญหาหรือไม่มีคุณภาพจะได้รับการพิจารณาย้อนกลับ  (feedback)  เพื่อให้มีการดำเนินงานใหม่จนกว่าจะเป็นไปมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ต้องการ   ดังนั้น จึงถือได้ว่าการประเมินผลเป็นการควบคุมคุณภาพของโครงการ6.       การประเมินโครงการมีส่วนในการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติตามโครงการ   เพราะการประเมินโครงการมิใช่เป็นการควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการ   แต่เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงแก้ไขและเสนอแนะวิธีการใหม่ ๆ  เพื่อใช้ในการปฏิบัติโครงการ   อันย่อมจะนำมาซึ่งผลงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทั้งปวง   โดยลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติมีกำลังใจ   มีความพึงพอใจ   และมีความตั้งใจกระตือรืนร้านที่จะปฏิบัติงานต่อไปและมากขึ้น   ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการประเมินโครงการมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างขวัญ   กำลังใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน7.       การประเมินโครงการช่วยในการตัดสินใจในการบริหารโครงการกล่าวคือ  การประเมินโครงการจะทำให้ผู้บริหารได้ทราบถึงอุปสรรคปัญหาข้อดี   ข้อเสีย   ความเป็นไปได้   และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการโครงการ    โดยข้อมูลดังกล่าวแล้วจะช่วยทำให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการนั้นต่อไป   หรือจะยุติโครงการนั้นเสีย   นอกจากนั้นผลของการประเมินโครงการอาจเป็นข้อมูลอย่างสำคัญในการวางแผนหรือการกำหนดนโยบายของผู้บริหารและฝ่ายการเมอืง

กระบวนการของการประเมินโครงการ

                         การประเมินโครงการเป็นกระบวนการของการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของโครงการอย่างมีระบบโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น   กระบวนการในการประเมินผลโครงการอาจมีขั้นตอนและรายละเอียดของขั้นตอนแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักวิชาการทางการประเมินผลโครงการแต่ละบุคคลหรืออาจมีรายละเอียดที่แตกต่างเพราะรูปแบบหรือประเภทของการประเมินผล   หรือประเมินไปตามแต่ละประเภทของโครงการ  อย่างไรก็ดีการประเมินผลโครงการนอกจากจะประเมินโครงการทั้งหมดโดยส่วนรวมแล้ว   แต่ละส่วนของโครงการจะต้องได้รับการประเมินควบคู่กันไปด้วยเสมอ   คือ การประเมินข้อมูลนำเข้า  (Inputs)  การประเมินตัวกระบวนการ  (Processor)  และการประเมินผลงาน  (Outputs)  ซึ่งแต่ละส่วนและโดยทั้งหมดของโครงการจะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้  1.           การศึกษาและพิจารณาถึงรายละเอียดของวัตถุประสงค์โครงการ   ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อให้ทราบว่าโครงการที่กำหนดขึ้นนั้นมีวัตถประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่สามารถดำเนินการได้หรือไม่   จะมีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ให้มีความเฉพาะเจาะจงและปฏิบัติได้โดยลักษณะใด   การประเมินผลโครงการในขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นการประเมินก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานจริง   เป็นการตรวจสอบและทบทวนความเรียบร้อยวัตถุประสงค์โครงการเป็นสำคัญ2.           การศึกษาความเป็นไปได้ของข้อมูล  ซึ่งเป็นการประเมินข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ดำเนินการว่ายังมีความเหมาะสมเพียงพอที่จะใช้ปฏิบัติงานหรือไม่ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่สามารถที่จะสนองตอบวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด   และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้หรือไม่  การประเมินในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบทบทวนความเหมาะสมของทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อการบริหารโครงการนั่นเอง3.           การเก็บรวบรวมและการกระทำกับข้อมูลและทรัพยากร  ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงกระบวนการในการดำเนินโครงการในลักษณะเป็นการเก็บรวบรวมและจำแนกข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่   เป็นสัดส่วน   และให้มีความเป็นจริงมากที่สุด  เพราะหากการดำเนินงานในขั้นตอนนี้มีปัญหาย่อมทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีปัญหาตามไปด้วย   กล่าวคือ  แม้ว่าผู้บริหารโครงการจะทราบถึงทรัพยากรที่จะต้องใช้ทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นอย่างดีแล้ว  แต่ในขั้นตอนของการรวบรวมและจัดดำเนินการกับข้อมูลไม่ดีพอ   ผลที่เกิดขึ้นย่อมไม่มีคุณภาพหรือด้อยคุณภาพ   ตัวอย่าง  เนื้อย่าง   ดีย่างกับเตาที่ไฟแรงเกินไป   ย่อมได้เนื้อย่างที่ไหม้เกรียม   เป็นต้น   การประเมินในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบกระบวนการว่าเหมาะสมกับข้อมูลหรือทรัพยากรที่นำเข้าหรือไม่4.           การวิเคราะห์   การแปลความหมาย   และการสรุปผลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ข้อมูลได้ผ่านกระบวนการเรียบร้อยแล้ว   และผู้ประเมินจะต้องทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นเช่นใด   ตรงตามวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่   จะมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดียิ่งขึ้นในลักษณะใด   และผลที่เกิดขึ้นจะมีแนวโน้มไปในลักษณะใด   การประเมินในขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลงานของโครงการที่เกิดขึ้น   และรวมไปถึงการประเมินโครงการโดยทั้งหมดด้วยว่าทรัพยากรหรือข้อมูลนำเข้าที่มีอยู่   ด้วนกระบวนการที่ใช้   และด้วยผลงานที่ปรากฏนั้นโครงการโดยรวมเป็นเช่นใด   เป็นโครงการที่ให้ผลประโยชน์คุ้มค่ากับการดำเนินงานหรือไม่   ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นแล้วดำเนินงานต่อไป  หรือจะล้มเลิกยุติโครงการนี้เสีย       โดยกระบวนการที่กล่าวแล้วเป็นกระบวนการทั่วไปของการประเมินโครงการหรือประเมินการปฏิบัติงานทุกชนิด   และในการประเมินโครงการแต่ละโครงการนั้นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องเกี่ยวข้องและมีส่วนสำคัญในการพิจารณาเพื่อการประเมินผลโครงการด้วย  คือ ระยะเวลา  (Timing  periods)  ของการดำเนินงานโครงการ   นอกจากนี้ในการประเมินผลโครงการจะต้องอาศัยสิ่งสำคัญหรือข้อคิดที่สำคัญอีกหลายชนิด  เช่น  ข้อเท็จจริง  ผลประโยชน์   ข้อผูกพัน   ความเป็นไปได้   มาตรฐาน  และอื่น ๆ เพื่อประกอบในการพิจารณา   ข้อคิดดังกล่าวแล้วจะได้กล่าวต่อไป
                         อนึ่ง เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงกระบวนการในการประเมินผลโครงการที่ชัดเจนและเป็นระบบขึ้น   แผนภูมิ 3-1  จะแสดงรายละเอียดและขั้นตอนการประเมินผลโครงการได้พอสังเขป  ดังนี้                                                  จากแผนภูมิ 3-1  แสดงให้ทราบว่าทุกส่วนของโครงการจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ   โดยข้อมูลนำเข้า  กระบวนการดำเนินงานและผลงานตามที่คาดหวัง   กับ ข้อมูลนำเข้า   กระบวนการดำเนินงานและผลงานที่เกิดขึ้นจริงจะต้องมีการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันและจะต้องเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ของโครงการและรายละเอียดของโครงการอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน   แล้วจึงจะตัดสินหรือลงความเห็นได้ว่าโครงการที่กำหนดขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดีที่เหมาะสมและสามารถจะดำเนินงานต่อไปได้หรือไม่                         อย่างไรก็ดีการปฏิสัมพันธ์ของรายละเอียดโครงการซึ่งมีสองลักษณะ คือ 
หมายเลขบันทึก: 56428เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท