การจัดการเรียนรู้ Play + learn = Plearn


การจัดการเรียนรู้ Play + learn = Plearn

PLEARN เป็นศัพท์บัญญัติที่ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์  สมุทวาณิช  อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยบัญญัติขึ้นจากคำว่า Play + Learn  ซึ่งเมื่อออกเสียงเป็น “เพลิน” แล้วให้ความหมายที่ดี  กล่าวคือการเล่นเรียนทำให้เด็กเพลิน  เพราะถ้าเรียน (learn) อย่างเดียวก็เกิดความเบื่อ  เล่น (play) อย่างเดียวก็จะเป็นการไร้สาระจนเกินไป  ด้วยดร.ชัยอนันต์  เห็นว่าการเรียนในระบบโรงเรียนล้มเหลว และทำให้ทั้งครูและนักเรียนเกิดความทุกข์เพราะระบบโรงเรียนพยายามจะบังคับให้เด็กเรียนและรับในสิ่งที่เด็กไม่สนใจ   แต่การที่ให้ ทางเลือก ก็ต้องให้เด็กเข้าใจด้วยว่าเด็กๆควรรู้จักเลือก  ไม่ใช่เลือกที่จะเล่นโดยไม่เรียน  และก็ ไม่ใช่การเลือก ที่จะเรียนอย่างเดียวโดยไม่เล่น  กล่าวคือเป็นทางสายกลาง  ซึ่งครูควรเข้าใจและต้องมีความคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) จึงจะสร้างกระบวนการเพลินได้

          บทสรุปเกี่ยวกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้

1) ความรู้ของบุคคลใด คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่นๆ ได้

2) ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น

3) ครูมีหน้าที่จัดนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนเอง ภายใต้ข้อสมมติฐานต่อไปนี้

•   สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา

•   ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น Dewey ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการไตร่ตรอง (Reflection) เป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบ กิจกรรมการไตร่ตรองจะเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่เป็นปัญหา น่าสงสัย งงงวย ยุ่งยาก ซับซ้อน เรียกว่า สถานการณ์ก่อนไตร่ตรอง และจะจบลงด้วยความแจ่มชัดที่สามารถอธิบายสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแก้ปัญหาได้ ตลอดจนได้เรียนรู้และพึงพอใจกับผลที่ได้รับ

•   การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา

          ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ Play + Learn = Plearn เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และครูเป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

หมายเลขบันทึก: 563355เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2014 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2014 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัญญาระดับเด็กประเภทใดที่จะทำตามครูได้หมดจดครับ.. ทางออกคือ ครูคือ ตัวแปรหรือผู้ขับเคลื่อนกระบวนการคิด การเรียน การจัดการความจำ โดยพื้นฐานเด็กมักจะชอบเล่นมากกว่าเรียน ครูจึงต้องยืดหยุ่นหรือหาเทคนิคการสอนแบบแปลกๆใหม่ๆ..

เล่นกับเรียนคือ ความรู้?

ส่วนมากเราจะเอาบันทัดฐานของผู้ใหญ่ใส่เด็ก..แต่พอเด็กเก่ง กล้าคิด กล้าทำ กลับมองว่า กล้าเกินวัยหรือก้าวร้าว หรือท้าทายครู ผู้ใหญ่...อีก๑๐ปี ข้างหน้าเด็กจะเก่งกล้ามากขึ้น ครูอาจมาเรียนจากเด็กมากกว่า มาสอน..ดังนั้น ครูต้องมีวิสัยทัศน์ในอนาคต พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทำนองล้ำหน้าสพฐ.หรือหลักสูตรและมีจิตวิญญาณความเป็นครูอยู่ในอาชีพของตน เหมือนผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ นั่นแหละครับ

ขอบคุณครูอุไรวรรณครับที่ให้แง่คิดดีๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท