การอ่าน..ทักษะทางภาษา ..วาระแห่งชาติ


เรื่องนี้..สอนให้รู้ว่า..จะทดสอบสมรรถนะเด็ก แต่แท้จริงแล้ว สมรรถนะของครู ยังไม่เท่ากันเลย ครูยังลำเอียงกันเอง ยังใช้ความรู้สึกส่วนตัวมากกว่าดูเกณฑ์ ยังแข่งดีแข่งเด่นกันอยู่ จนไร้ยางอาย มีอยู่มากมายในวงการศึกษาไทย ที่เรียนรู้น้อยและเน้นสอบเป็นสำคัญ

ในยุคของการศึกษาไทย พูดได้เต็มปากว่า เป็นยุคที่เรียนน้อยสอนน้อย แต่สอบเยอะ..ได้มาถึงแล้ว อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น นักการศึกษาระดับรากหญ้าอย่างเรา ไม่พูดถึงการเรียนการสอนคงไม่ได้แล้ว

เริ่มต้นด้วย ความรู้สึกส่วนตัวผมคนเดียว ที่คิดเสมอว่า..น่าอายมวลมหาประชาชน ผู้ปกครองมากๆ ในเมื่อตัวผมเอง เป็นครู เงินเดือนตั้งหลายหมื่น ถ้าทำ ๓ อย่างนี้ไม่สำเร็จ แก้ปัญหา..สิ่งต่อไปนี้ไม่ได้..ก็อย่าเป็นครูสอนคนเลย..

๑.  เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ลายมือไม่สวย

๒.  โรงเรียน-ห้องเรียน ไม่สวยงามสะอาดตา

๓.  กิจกรรมเกษตรไม่ตระหนัก ปลูกผักไม่งาม

เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขและทำให้สำเร็จ ถ้ารักจะมีอาชีพครู แค่เพียงใส่ใจ รู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ เติมเต็มความเสียสละ มุ่งมั่นและทุ่มเทบ้าง..ก็เท่านั้น

การทดสอบการอ่าน ป.๓ และ ป.๖ พร้อมกันทั่วประเทศ ได้ผ่านไปแล้ว จึงเป็นกิจกรรมระดับชาติไปโดยปริยาย ข้อมูลที่ได้ แน่นอนหนีไม่พ้น ต้นสังกัด คิดโครงการ อบรมสัมมนา ตั้งคณะทำงาน เพิ่มงบประมาณและนิเทศติดตามอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆต่อไป

ผลสัมฤทธิ์การอ่านของนักเรียนที่โรงเรียน..ออกมาแล้ว ผมวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จสรรพ ป.๓ อ่านดี ตอบคำถามดี..ภาพรวมเฉลี่ยจึงออกมาดี/ ป.๖ อ่านดี ตอบคำถามไม่ดี ผลจึงออกมา..พอใช้

ป.๓ ดีเพราะอะไร ก็เพราะช่วงที่เขาอยู่อนุบาล - ป.๓ เขามีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ฝึกทักษะการอ่านอย่างหนัก สอนเสริมพิเศษกันตลอด ครูผู้สอนทุกคนไม่ได้มองข้ามกระบวนการคิดและวิเคราะห์

ป.๖ คิดวิเคราะห์ ไม่ค่อยจะละเอียด ความคิดรวบยอดและสร้างสรรค์(นอกกรอบ)จะน้อย เพราะช่วงชั้นอนุบาล - ป.๑ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่ขาดครู การเรียนรู้จึงขาดความต่อเนื่อง..คิดจากฐานข้อมูลแบบนี้แล้ว ก็รู้สึกให้อภัยเด็กขึ้นมาทันที

พอรู้ปัญหา เตรียมหาทางแก้ไขเพื่อก้าวต่อ แต่ก็อดคิดถึง"ความแตกต่างระหว่างบุคคล"ไม่ได้ ศักยภาพของเด็ก ความพร้อม..สมองและเงื่อนไขเวลา ตลอดจนเครื่องมือ ล้วนเป็นตัวแปรที่สำคัญทั้งสิ้น

นักเรียนต้องอ่าน ๒ ครั้ง จึงจะต้องตอบคำถามของกรรมการฯ ผมคิดว่า เด็กจะถูกฝึกมาอย่างไรก็ตาม แต่สภาพกาล ณ เวลานั้น สมอง ทักษะ ความรู้ ความจำและการแก้ปัญหา มีไม่เท่ากันหรอก ผู้ใหญ่บางคน(ครู)บางครั้งก็คิดและตอบอะไรไม่ได้มากเหมือนกัน ดังนั้น..ผลที่ได้ อย่าคิดว่าเป็นคำตอบสุดท้ายเสมอไป.

ยังไม่รวม หน้าตา..น้ำเสียงและความรีบเร่งของกรรมการ รวมทั้งบรรยากาศในการสอบ..ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่เราอาจต้องให้อภัยเด็ก และหันมาเก็บรายละเอียด ในมุมมองของข้อมูลที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง ที่เราก็รู้อยู่เต็มอกไม่เพียงแค่ภูมิใจว่าเด็กอ่านได้อ่านดีเท่านั้น

มีเรื่องเล่าล่าสุด ที่เพื่อนครู ได้ไปคุมสอบที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็กมาก/อ่านไม่ออกเยอะ ต้องใช้เวลาสอบนาน ครูประจำชั้นกลับมาจากคุมสอบที่โรงเรียนอื่นเหมือนกัน ทักว่าทำไมยังสอบไม่เสร็จอีก สงสัยจะจริงจังและกดคะแนนหรือเปล่า.....

เพื่อนครูตอบว่า ต้องฟังและดูให้ละเอียดและช่วยได้ก็จะพยายามช่วย จากนั้นครูท่านนั้นก็เข้าไปอีกห้องหนึ่ง ซึ่งมีเด็กเก่งกว่าและครูที่เป็นกรรมการกลับไปแล้ว และพบว่าเด็กอ่านได้คะแนนน้อยมาก ถึงกับหัวเสียและกระแทกเสียงอย่างรุนแรง ประมาณว่า ทีใครทีมัน คราวหน้าเจอกันแน่.... (แบบว่าจะไม่เผาผีกันเลยทีเดียว)

เรื่องนี้..สอนให้รู้ว่า..จะทดสอบสมรรถนะเด็ก แต่แท้จริงแล้ว สมรรถนะของครู ยังไม่เท่ากันเลย ครูยังลำเอียงกันเอง ยังใช้ความรู้สึกส่วนตัวมากกว่าดูเกณฑ์ ยังแข่งดีแข่งเด่นกันอยู่ จนไร้ยางอาย มีอยู่มากมายในวงการศึกษาไทย ที่เรียนรู้น้อยและเน้นสอบเป็นสำคัญ

ต้องขออภัย ที่จบด้วยเรื่องจริง ที่ไม่สร้างสรรค์ ท่านใด..อยากฟังเรื่อง..การอ่าน..ทักษะทางภาษา ที่แก้ปัญหาได้ไม่ยาก ยกมือขึ้น..ขอบคุณครับ แล้วผมจะกลับมาบอกนะครับ รับรองงานนี้..สพฐ.ต้องบอกว่า..ใช่เลย

                                                     

                                                                      ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

                                                                        ๖ มีนาคม ๒๕๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 563353เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2014 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ไม่ว่าวงการไหน ๆ ส่วนใหญ่ก็ชอบทำตามความรู้สึกของตนเองกันค่ะ...ไม่ค่อยทำตามหลักเกณฑ์...

ยังเข้มข้นเหมือนเดิมเลยนะ ท่านผอ.


ปัญหาในการอ่าน .... เกิดจากตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้น่ะแหละ...

อีเรียมเคยเรียนมาเขาเรียกว่า ตัวแปรสอดแทรก และตัวแปรแทรกซ้อน คะ อิ อิ



มาแจ้งผอ.ว่า

ทันทีที่พบผอ.จะนำค่าเครื่องดูดน้ำให้นะครับ

พอดีติดงานต่างจังหวัด

ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท