“ไซโล” เป็นจำเลย


 

          ในการประชุม PMAC 2014 เรื่อง Education Reform for Health Equity    มีการพูดถึง “ไซโล” บ่อยมาก ในหลาย session    ว่าเป็นสาเหตุของความล้าหลังของการจัดระบบการศึกษา    ทำให้ปฏิรูปการเรียนรู้ได้ยาก 

          keyword ที่พึงประสงค์คือ integration   ซึ่งหมายถึงบูรณาการ หรือความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆ 

          “ไซโล” หมายถึงพฤติกรรมแยกส่วน ต่างหน่วย/ต่างสาขาวิชา ต่างทำ     ไม่ทำงานร่วมกัน   

          ในระบบการศึกษา เป็นการทำงานแบบเอาง่ายเข้าว่า    เพื่อความสะดวกของคนทำงาน     ทำเพียงเพื่อให้งานตรงหน้าของตนผ่านไป    โดยไม่คำนึงถึงผลงานของส่วนรวม     ไม่คำนึงถึงผลงานที่แท้จริง

          การทำงานแบบไซโล ตรงกันข้ามกับการทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    สร้าง synergy ระหว่างหน่วยงาน    หรือ synergy ระหว่างศาสตร์    ทำให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพสูง ที่การทำงานแบบไซโล ไม่สามารถบรรลุได้

          ปัจจุบันเป็นยุคความรู้ระเบิด    ความรู้แบบแยกส่วนหาง่าย จาก อินเทอร์เน็ต    ส่วนที่หายากและ มีคุณค่าสูง คือความรู้ที่บูรณาการอยู่กับการปฏิบัติ บูรณาการกับบริบท บูรณาการกับศาสตร์อื่น     คน/หน่วยงาน ที่ทำงานแบบ ไซโล จะไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่มีคุณค่าสูงได้

          เนื่องจากความรู้มีมาก เพื่อสะดวกต่อนักวิชาการ จึงแยกส่วนความรู้ แยกย่อยลงไปเรื่อยๆ     แล้วสอนเฉพาะส่วนย่อยนั้น    การศึกษาใด จัดหลักสูตรให้มีวิชาแยกย่อยลงลึกจำนวนมาก นศ./บัณฑิต จะรู้ไม่จริง    เพราะขาดพลังเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์

          เวลานี้ มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูง จะจัดหลักสูตรให้มีน้อยรายวิชา     จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นรายวิชาบูรณาการ    ซึ่งในชั้นต้นอาจารย์จัดการเรียนรู้ยาก    แต่เมื่อดำเนินการได้แล้ว จะมีคุณต่อศิษย์ล้นเหลือ    และจะทำให้การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นมีคุณภาพสูง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 563199เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท