หลุมพรางระบบสมรรถนะ หลุมพรางที่ 3


          สวัสดีครับ มาพบกับหลุมพรางของระบบสมรรถนะกันครับ คราวที่แล้วได้พูดถึงนิยามของสมรรถนะที่เข้าใจกันคลาดเคลื่อนจนตกหลุมกันมาเยอะแล้ว ตอนนี้จะมาชวนทำความเข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว การกำหนดว่าสมรรถนะของบุคคลหรือขององค์กรนั้นเราได้มาได้อย่างไร? หลายที่อาจจะคิดว่าให้ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดขึ้น เพราะว่าเขาเป็นเจ้าของ เป็นผู้บริหาร เป็นผู้มีประสบการณ์ เป็น บลา บลา บลา แต่เอาเข้าจริงแล้วนะครับ บางทีผู้บริหารไม่รู้เลยว่าพนักงานของตัวเองทำงานอะไรบ้าง ต้องใช้ความรู้ ความสามารถอะไรบ้าง แล้วกำหนดมาจากอะไรล่ะครับ?
          #หลุมพรางที่ 3 หา Competency จากบุคลากร
จากนิยามที่แตกต่างกันของ British Approach และ American Approach นำมาสู่การหา Competency ที่แตกต่างกัน
หากยึดตาม British Approach การหา Competency สามารถกำหนดจากบุคลากรทั่วๆ ไปที่ทำงาน เพราะเป็นการกำหนดขีดความสามารถของบุคลากรตามวิชาชีพที่ทำ แต่หากยึดตาม American Approach การหา Competency ต้องเป็นการหาจากบุคลากรที่ทำงานดีที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ เพื่อนำมาเป็นต้นแบบของการพัฒนา Competency ของคนในตำแหน่งนั้น

จะเห็นได้ว่าการพัฒนา Competency ตามแนว American นั้นเป็นการพัฒนา Competency ตามบริบทของแต่ละองค์การโดยเฉพาะ Competency ที่ใช้ได้ดีกับการทำงานในองค์การ หรืองานในตำแหน่งหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ในการทำงานกับอีกองค์การ หรือตำแหน่งงานอีกตำแหน่ง เช่น Competency ของคนที่ทำงานเป็นพนักงานขายบริษัทประกันชีวิต จะต้องมี Competency แตกต่างกันกับพนักงานขายบริษัทรถยนต์

พนักงานขายประกันอาจต้องมี Competency - Product Knowledge มากเพราะข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจของลูกค้า แต่พนักงานขายรถยนต์ Competency ตัวนี้อาจไม่จำเป็นเท่าไร เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เลือกรถยนต์จากยี่ห้อ และรูปร่างหน้าตาของรถยนต์ แต่พนักงานขายรถยนต์ ต้องมีความเอาใจใส่ในลูกค้าอย่างมาก คือมี Competency - Customer Focus สามารถพูดคุยในเรื่องที่ลูกค้าสนใจ

ดังนั้นก่อนที่จะกำหนด Competency ตามแนว American Approach นี้ต้องทำการสังเกต และทำการสัมภาษณ์บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นในตำแหน่งงานดังกล่าว จึงจะสามารถหา Competency ในตำแหน่งงานในบริบทขององค์การนั้นได้ ซึ่งต่างจากการกำหนด Competency ตามแนว British Approach ที่สามารถหาได้จากผู้ปฏิบัติงานทั่วๆ ไป

สรุปแบบง่าย ๆ นะครับ การกำหนดสมรรถนะนั้น จะต้องกำหนดขึ้นจากความจำเป็นที่บุคลากรแต่ละตำแหน่งจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ แล้วใครเป้นคนให้ข้อมูลในการกำหนดสมรรถนะ ก็บุคลากรที่ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ยังไงล่ะครับ พบกันตอนหน้ากับหลุมพรางที่ 4 ครับ

หมายเลขบันทึก: 562345เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..... ขอบคุณค่ะ .....ดีจังเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท