ฟังบรรยาย "การเขียนวิเคราะห์งาน"


     วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 8.30 น.-12.00 น.ข้าพเจ้าพร้อมพยาบาลจากหอผู้ป่วยต่างๆ ผู้บริหารในแผนกการพยาบาลต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายเรื่อง"การเขียนวิเคราะห์งาน" วิทยากรคือดร.สุพร วงศ์ประทุม และ"การเขียนคู่มือการพยาบาล" วิทยากรคือพี่แก้ว อุบล จ๋วงพานิช รองหัวหน้าพยาบาลฝ่ายพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศและพี่แขก พนอ เตชะอธิก ผู้ช่วยฝ่ายพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศ  ที่ห้องประชุม1 ชั้น 18  อาคาร สว. โรงพยาบาลศรีนครินทร์  

      จัดโดยคณะกรรมการพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

เรื่องแรก

"การเขียนวิเคราะห์งาน"

      วิทยากรคือ ดร.สุพร วงศ์ประทุม พยาบาลชำนาญการพิเศษ จากแผนกการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤติ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

สรุปเนื้อหาที่บรรยาย

       ในการวิเคราะห์งาน สามารถวิเคราะห์ได้จากงานหลายๆ ด้านในสมุดเล่มสีเหลือง "มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

        เรื่องที่สามารถวิเคราะห์ได้มีหลายเรื่อง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างหัวข้อย่อย เช่น ระยะเวลาการรอคอย กระบวนการดูแลด้านกาย จิตสังคม จิตวิญญาณ  ความปลอดภัย  อัตราการติดเชื้อ อุบัติการณ์ การกลับมารักษาซ้ำ การเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ การรักษาสิทธิ์ผู้ป่วย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การจัดการดูแลต่อเนื่อง การบันทึกและรายงาน และการสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ

 

          ในเรื่องการดูแลต่อเนื่อง แผนการจำหน่ายเป็นอย่างไร  เอามาวิเคราะห์ การใช้แบบบันทึกการส่งต่อ การดูแลรักษา จากwardถึง PCU  จาก OPD ถึงชุมชน การติดตามผู้ป่วย เช่น ตามทางโทรศัพท์ซึ่งได้ผลดี เอามาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ               

           เรื่องการจัดการความปวดปวด มีการวิเคราะห์จาก pain score เรามีบทบาทอิสระ มีกิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจ สร้างความผ่อนคลาย เช่น การสัมผัส การนวด การเปิดเพลง ดนตรีบำบัด หาแนวทางบันทึกนำมาวิเคราะห์

           ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ตั้งเป้า 80% ขึ้นไป เพราะเป็นความรู้สึก เอาเป็นตัวประกอบเพิ่มเข้าไปเพื่อยืนยันผลลัพธ์ในเรื่องต่างๆได้ 

           ในเรื่องความปลอดภัย  เรื่องการพลัดตกหกล้ม เรื่องยา การติดเชื้อ  แผลกดทับ นำรายงานอุบัติการณ์ต่างๆ มาวิเคราะห์  เกิดช่วงไหน จัดการอย่างไร จุดอ่อนที่ไหน เป็นต้น หาทางวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางป้องกันต่อไป อาจระดมสมองวิเคราะห์เป็นแผนภูมก้างปลา  

          หากวิเคราะห์ผู้ป่วยเฉพาะโรค ควรมี 20 รายขึ้นไป ถ้าหากมีน้อยจริงๆ สามารถวิเคราะห์ ราย case ได้

          การวิเคราะห์ ต่างกับการวิจัย การวิเคราะห์เราสร้างเครื่องมือเองได้ ไม่ต้องสุ่ม ไม่ต้องคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ไม่ต้องทดสอบหาความเชื่อมั่น ทำได้ง่ายกว่าการวิจัย การวิเคราะห์สามารถนำสู่การวิจัย R2Rได้  ซึ่งเมื่อถึงขั้นตอนนั้นต้องทำตามระเบียบวิธีวิจัย

           ท้ายสุด เป็นเรื่องการทำรูปเล่มผลงานเชิงวิเคราะห์

       

     

เรื่องที่ 2

"การเขียนคู่มือทางการพยาบาล"

โดยพี่แก้ว  อุบล จ๋วงพานิช

      พี่แขก พนอ เตชะอธิก

 

ในการเขียนคู่มือการพยาบาล ต้องประกอบด้วย

            บทนำ

            ความรู้เรื่องโรคและการรักษา

            การพยาบาลผู้ป่วย....(กลุ่มโรคที่ทำ)

            กรณีศึกษา (แนะนำให้ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม)

             บทสรุปและข้อเสนอแนะ

             เอกสารอ้างอิง

             ภาคผนวก ก

             ภาคผนวก ข

      (วิทยาการได้อธิบายรายละเอียดแต่ละหัวข้อพร้อมยกตัวอย่าง) 

           นอกจากนี้ยังให้ความรู้เรื่องเอกสาร การตั้งค่าหน้ากระดาษ  หลักการแบ่งหัวข้อ  พิมพ์ด้วย font Angsana   new หรือ font ใด font หนึ่ง ตลอดเล่ม  การเคาะ  การย่อหน้า การตัดคำ เป็นต้น  งานที่ทำอย่าลอกงานมา ต้องปรับเป็นคำของตนเอง 

            แต่ละระดับต้องยื่นงานอะไรบ้าง ?

            ในพนักงานมหาวิทยาลัยมีระเบียบล่าสุดออกมาแล้วโดย

                   ชำนาญการ ยื่นคู่มือและเอกสารวิเคราะห์งาน

                   ชำนาญการพิเศษ ยื่นงานวิเคราะห์หรือสังเคราะห์งานไม่ต้องทำคู่มือ  

            ส่วนกลุ่มข้าราชการ เป็นช่วงปรับปรุงระเบียบ ให้ศึกษาค้นคว้าเองจาก website ของคณะแพทย์ เพื่อให้ทันข่าวสาร ได้ข้อมูลที่ update อยู่เสมอ

 

 

 

 การอบรมครั้งนี้มีประโยชน์มากทั้งต่อคน ต่องานและต่อองค์กร  

       ประโยชน์กับบุคลากรคือ ผู้ที่จะ Maintenance ผลงาน ผู้จะทำผลงานใหม่เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ผู้บริหารโดยเฉพาะหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้ตรวจการแผนกฯ ที่จะตรวจงานให้บุคลากรในความรับผิดชอบ ได้ความรู้แนวทางการทำงาน ทำผลงานวิชาการ

       ที่สำคัญคือประโยชน์ในการพัฒนางาน พัฒนาองค์กร การวิเคราห์งานอย่างต่อเนื่องและนำผลวิเคราะห์มาพัฒนา ปรับปรุงการทำงาน จะส่งผลให้คุณภาพ ประสิทธิภาพการบริการเพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ

       

หมายเลขบันทึก: 562342เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014 04:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-เก็บภาพดอกไม้ป่า(กินได้)มาฝากครับ..

.... ตามมาอ่านและให้กำลังใจ นะคะ

สาระเยี่ยมค่ะพี่อุ้ม

ขอบคุณมากค่ะคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบคุณมากค่ะพี่หมอ Ple

ขอบคุณมากค่ะคุณหมออ้อ

ช่วงนี้กำลังเร่งวิเคราะห์งานส่งด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์อ.นุ

อาจารย์บุษยมาศ

และอาจารย์ดร.ขจิตค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท