ต้นข้าวหรือรวงข้าว: ดวงตราอาเซียน


ดวงตราอาเซียนเป็นต้นข้าวหรือรวงข้าว

ต้นข้าวหรือรวงข้าว: ดวงตราอาเซียน

หลังจากลูกศิษย์ลูกหาสอบถามขอความช่วยเหลือความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในฐานะเขาเหล่านั้นทราบว่า ผมเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับอาเซียนให้กับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กระทรวงการคลัง และภาครัฐ บริษัทเอกชนหลายแห่งทั่วประเทศ จึงสอบถามเข้ามาและผมเห็นว่าเป็นคำถามง่ายๆที่ควรนำมาขยายความเรียนรู้แบ่งปันร่วมกัน คำถามนั้น คือ

ดวงตราอาเซียน เป็นรวงข้าวหรือต้นข้าว?

ผมว่าเป็นคำถามง่ายๆที่อยากจะขยายความ เพราะพบว่า มีหลายเว็บไซด์ หลายสื่อใช้คำว่า ต้นข้าว บางแห่งก็ใช้คำว่า รวงข้าว

ก่อนอื่นเรามาดูแนวทางการใช้ดวงตราอาเซียนหรือ ASEAN Emblem จากเว็บไซด์ทางการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ที่มา www.asean.org/asean/about-asean/asean-emblem) โดยมีข้อแนะนำระบุไว้จำนวน 6 ข้อ ดังนี้

ASEAN Emblem

Guidelines on the Use of the ASEAN Emblem

  1. The ASEAN Emblem shall be the official emblem of ASEAN.
  2. The ASEAN Emblem represents a stable, peaceful, united and dynamic ASEAN. The colours of the Emblem -- blue, red, white and yellow -- represent the main colours of the state crests of all the ASEAN Member States.
  3. The blue represents peace and stability. Red depicts courage and dynamism, white shows purity and yellow symbolises prosperity.
  4. The stalks of padi in the centre of the Emblem represent the dream of ASEAN's Founding Fathers for an ASEAN comprising all the countries in Southeast Asia, bound together in friendship and solidarity.
  5. The circle represents the unity of ASEAN.
  6. The ASEAN Emblem is the reserved copyright of ASEAN.

เราไม่ใช้คำว่า Logoนะครับ เราใช้คำว่า emblem (เอม'เบลม) ซึ่งเป็นระดับคำศัพท์ที่เป็นทางการมากกว่าแปลว่า n. สัญลักษณ์, เครื่องหมายตราหรือแผนภาพที่สัญลักษณ์ vt. ใช้ตราเครื่องหมาย, แผนภาพ, เป็นสัญลักษณ์ คราวนี้ เราลองมาดูแปลงร่างเป็นนักแปลภาษาแปลความหมายจากต้นฉบับว่า มันคือ ต้นข้าวหรือรวงข้าวกันครับ

ASEAN Emblem

ดวงตราอาเซียน

Guidelines on the Use of the ASEAN Emblem

แนวทางการใช้ดวงตราอาเซียน

  1. The ASEAN Emblem shall be the official emblem of ASEAN.
    (ดวงตราอาเซียนเป็นดวงตราอย่างเป็นทางการของประชาคมอาเซียน)
  1. The ASEAN Emblem represents a stable, peaceful, united and dynamic ASEAN. The colours of the Emblem -- blue, red, white and yellow -- represent the main colours of the state crests of all the ASEAN Member States.
    (ดวงตราอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของประชาคมอาเซียน สีของดวงตราประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีแดง สีขาวและสีเหลือง ซึ่งแสดงถึงสีหลักของตราประจำชาติของบรรดาสมาชิกอาเซียนทั้งหมด)
  1. The blue represents peace and stability. Red depicts courage and dynamism, white shows purity and yellow symbolises prosperity.
    (สีน้ำเงินแสดงถึงสันติภาพและเสถียรภาพ สีแดงเป็นตัวแทนของความกล้าหาญและพลวัต สีขาวแสดงถึงความบริสุทธิ์)
  1. The ten bound stalks of padi in the centre of the Emblem represent the dream of ASEAN's Founding Fathers for an ASEAN comprising all the countries in Southeast Asia, bound together in friendship and solidarity.
    (รวงข้าวที่อยู่ตรงกลางของดวงตราอาเซียนแสดงถึงความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อให้ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
  1. The circle represents the unity of ASEAN.
    (วงกลมรอบดวงตราอาเซียนแสดงถึงเอกภาพหนึ่งเดียวของประชาคมอาเซียน)
  1. The ASEAN Emblem is the reserved copyright of ASEAN.
    (ดวงตราอาเซียนสงวนลิขสิทธิ์โดยประชาคมอาเซียน)

 

ประโยคสำคัญที่ทำให้ดวงตราอาเซียน แปลความได้ว่าเป็นรวงข้าว คำตอบ คือ The ten bound stalks of padi

ความหมายของคำว่า stalks คำนามแปลว่า ก้านพืช ส่วนคำว่า padi มาจากคำว่า Paddy แปลว่า ข้าว ข้าวเปลือก ส่วนคำว่า Padi เป็นศัพท์แสลงของชาวมาลายันและอินโดนีเซียน (Padi is a Malayan/Indonesian word and the etymological origin of the English word 'paddy', i.e. 'rice before threshing'.) แล้วอะไรที่มั่นใจว่าคือ รวงข้าวเล่า มันคือ คำขยายความคำนี้ 'rice before threshing' คือ ข้าวก่อนที่จะได้รับการนวดข้าว (threshing แปลว่า นวดข้าว)

ดังนั้น The ten bound stalks of padi แปลว่า ก้านของข้าวก่อนจะได้รับการนวดข้าว จำนวน 10 ต้น ข้าวก่อนจะได้รับการนวด ภาษาไทยของเราเรียกว่า รวงข้าว นั่นเอง

 

หลักฐานสำคัญยืนยันดวงตราอาเซียนคือ รวงข้าว

หลักฐานหนึ่งยืนยันจากภาคราชการของประเทศไทย คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ระบุความหมายที่ชัดเจนของรูปภาพใจกลางดวงตราว่าเป็นรวงข้าวในเอกสารเผยแพร่แนวทางการใช้ดวงตาอาเซียน และหลักฐานชิ้นสำคัญที่สุดที่จะยืนยันว่า รูปภาพนั้นเป็นรวงข้าว คือ กฎบัตรอาเซียน โดยกฎบัตรอาเซียนระบุไว้ ภาคผนวก 3 (ANNEX 3) หน้า 50 และภาคผนวก 4 (ANNEX 4) หน้า 52

ที่มา: กฎบัตรอาเซียน ฉบับภาษาไทย ภาคผนวก 3 ธงอาเซียน

 

ที่มา: กฎบัตรอาเซียน ฉบับภาษาไทย ภาคผนวก 4 ดวงตราอาเซียน

อะไรที่ทำให้เราแปลความจากรวงข้าวเป็นต้นข้าว

อาจจะเป็นเพราะกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของคนไทย มีความเชื่อ ยึดถือว่า รวงข้าวนั้น จะต้องมีลักษณะตรงปลายก้านต้องมีเมล็ด แต่การออกแบบดวงตราอาเซียนนั้นเป็นสัญลักษณ์สากล จึงใช้สัญญะในการออกแบบเป็นลักษณะต้นข้าว ซึ่งคนไทยเชื่อว่า น่าจะเป็นต้นข้าว แต่หากศึกษาจากภาษาอังกฤษที่มาจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามที่อธิบายข้างต้นก็จะเข้าใจได้ว่า แท้จริง เราใช้ความเชื่อจากกระบวนทัศน์เดิมๆของเราตัดสินว่า ดวงตรานั้นมิใช่รวงข้าว เพราะไม่มีสัญลักษณ์เป็นเมล็ดตรงปลาย อีกทั้ง ความเชื่อเกี่ยวกับข้าวของทั้ง 10 ชาติสมาชิกนั้นมีความคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับข้าวคือ เมื่อข้าวแตกออกออกเมล็ด นั่นหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์ อุดมสมบูรณ์ ดังเช่นแนวคิดการออกแบบตรากรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

         อธิบายความไว้ว่า เป็นดวงตรงรูปทรงกลม มีรูปแม่โพสพ (เทพธิดาดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม) นั่งบนท้องนามือ ขวาถือรวงข้าวแบกบนบ่า หมายถึง การยกย่องเชิดชูอาชีพการทำนามีรวงและใบข้าวล้อมรอบ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของพืชอาหารหลักของคนไทย และมีพื้นที่นาด้านล่าง หมายถึง เนื้อที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศ เบื้องล่างมีอักษรข้อความ "กรมการข้าว" โค้งรับอีกทั้ง ความเชื่อเกี่ยวกับข้าวถือเป็นวัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียนสอดรับกับบทความเรื่องวัฒนธรรมข้าว: วัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียนของนายพิทักษ์สิน สิวรุจน์ นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตอนหนึ่งกล่าวว่า

“...อย่างไรก็ดี การที่ประเทศทั้ง 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะประสานรวมตัวกันในรูปแบบ“ประชาคม” หรือแม้แต่ได้รวมตัวกันแล้วก็ตามประเทศต่าง ๆ ต้องรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะสามารถร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้สึกดังกล่าวนั้นจำต้องอาศัย “ความเชื่อมต่อ” (Connectivity) เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความเชื่อมต่อกันระหว่างชาติต่าง ๆ ในอาเซียน สามารถมองเห็นได้เด่นชัดที่สุดผ่านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมและ “วัฒนธรรมข้าว” นี้เอง ถือได้ว่าเป็น “วัฒนธรรมร่วม” ของบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

บทความนี้ชี้ให้เห็นถึง “วัฒนธรรมข้าว” (ในที่นี้หมายถึง วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับข้าว) ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก การปลูกข้าว ภาษา และคติความเชื่อ ซึ่งชาติต่าง ๆ ของอาเซียนมีความคล้ายคลึงกัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมกัน จากจุดนี้เอง บทความนี้นำเสนอว่าชาติอาเซียนสามารถอาศัยความเชื่อมต่อนี้พัฒนาความรู้สึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการประสานและรวมตัวกันภายใต้ประชาคมเดียวกัน

ประการแรก คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริโภคของคนอาเซียน “ข้าว” เป็นอาหารหลักหรือวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร ประชาชนชาวอาเซียนสร้างสรรค์อาหารจากข้าวมากมาย ทั้งคาว หวาน หรือแม้แต่เครื่องดื่มที่ทำจากข้าว อาทิ ข้าวแช่ ข้าวเหนียวมะม่วง ของไทย หรือ “นาซิเลอมัก” (Nasi Lemak) ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นอาหารที่ใช้ข้าวสวยหุงกับกะทิเป็นส่วนประกอบหลัก

ประการที่สอง เนื่องด้วยประชาชนในภูมิภาคนี้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักดังที่ได้กล่าวไปแล้ว กอปรกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก ดินฟ้าอากาศแบบมรสุมเขตร้อนเอื้อต่อการทำนาข้าวโดยวิธีไถ่ หว่าน และปล่อยน้ำให้ท่วม (wet rice cultivation) เกษตรกรอาเซียนจึงมักนิยมใช้วิธีนี้และยึดอาชีพทำนาข้าวบนพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก (arable areas) ยกตัวอย่างเช่น
ประเทศกัมพูชา มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 26,931.8 ตารางกิโลเมตร พม่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 80,904.2 ตารางกิโลเมตร ลาวมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 9,080 ตารางกิโลเมตร มีเพียงประเทศสิงคโปร์และบรูไนเท่านั้นที่ไม่มีการทำนาข้าว นอกจากที่ราบลุ่มแล้วยังมีการทำนาบนเขาด้วย คือ นาข้าวบันไดบานาเว (Banaue Rice Terraces) ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย

ประการที่สาม วัฒนธรรมข้าวนี้ยังสะท้อนออกมาในรูปแบบการใช้ภาษา คนชาติหลาย ๆ ชาติในอาเซียน พูดว่า “กิน/ทาน/รับประทานข้าว”โดยหมายความถึงอาหารประเภทอื่น ๆ ที่อาจไม่ใช่ข้าว อย่างเช่น คนไทยมักจะถามว่า “กินข้าวแล้วหรือยัง” และคำตอบอาจตอบได้ว่า “กิน(ข้าว)แล้ว” โดยที่ผู้ตอบอาจไม่ได้กินข้าวจริง ๆ ก็ได้ แต่อาจเป็นอาหารประเภทอื่น นอกจากนี้ คำว่า “ข้าว” ที่ปรากฏอยู่ใน “Htamin Sar” ในภาษาพม่า และ “an com” ในภาษาเวียดนาม ก็อาจหมายถึงอาหารโดยทั่ว ๆ ไปได้เช่นกัน ไม่จำกัดแต่เฉพาะข้าวเท่านั้น แสดงถึงอิทธิพลของข้าวที่ปรากฏออกมาในลักษณะของการใช้ภาษาเป็นอย่างดี

ประการสุดท้าย ด้วยเหตุที่ว่าข้าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของคนอาเซียน อิทธิพลของข้าวจึงแทรกซึมอยู่ในคติความเชื่อจนสะท้อนออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมด้วย กล่าวคือ ประชาชนในหลาย ๆ ชาติมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพีที่ปกปักรักษาข้าว ช่วยให้ข้าวเจริญงอกงาม และอำนวยความอุดมสมบูรณ์ ยกตัวอย่าง พระแม่โพสพ ของในคติความเชื่อของคนไทย “Po Ino Nogar” ในความเชื่อของชาวกัมพูชา และ “Dewi Sri” ของชาวอินโดนีเซีย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมข้าวมีอิทธิพลต่อชาวอาเซียนในด้านต่าง ๆ หลากหลายและสอดคล้องคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก เกษตรกรรมนาข้าว ภาษา หรือแม้แต่คติความเชื่อ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมของประชาชาติอาเซียนเลยก็ว่าได้ ฉะนั้น การตระหนักรู้และใช้วัฒนธรรมร่วม อย่างวัฒนธรรมข้าว (แม้จะเป็นเพียงมิติหนึ่งก็ตาม) ให้เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างจุดเชื่อมต่อร่วมกัน สร้างความรู้สึกเป็นพวกพ้องและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็จะยังประโยชน์ต่อการรวมตัวกันภายใต้ประชาคมอาเซียนในอนาคต และเอื้อต่อการประสานกันเมื่อยามที่ประเทศต่าง ๆ อยู่ภายใต้ประชาคมดังกล่าวแล้วอีกด้วย…”

ลองคิดกันเล่นๆนะครับว่า ถ้าเราเอาต้นข้าวมามัดกัน 10ต้น มันมีความหมายว่าอะไร ต้นข้าวเอามามัดกันมันก็กลายเป็นแค่กองฟางที่มีประโยชน์เพียงน้อยนิดเท่านั้นเอง แต่รวงข้าวมีความหมายที่เราเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า หมายถึง ความรุ่งโรจน์ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง และข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของภูมิภาค มีวัฒนธรรมข้าวคล้ายคลึงกัน คิดแบบเล่นๆ

สรุปว่า ต้นข้าวหรือรวงข้าวในดวงตราอาเซียน แท้จริงแล้ว คือ รวงข้าว

อาจารย์สุดปฐพี เวียงสี
Edutainer คนแรกของประเทศไทยและอาเซียน
บริษัท เติมเต็ม จำกัด
www.sudpatapee.com

หมายเลขบันทึก: 562106เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท