ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๑. ไปสตูล พบผลงานของคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม


 

          เป็นผลงาน ๒ ชิ้น    เรื่องแรกคือ สภาองค์กรชุมชน    ไปพบที่ ต. ขอนคลาน  อ. ทุ่งหว้า    และเป็นสภาองค์กรชุมชนที่มีผลงานน่าชื่นชม    คือโครงการ การจัดการพื้นที่ทางทะเล ผ่านบทบาทสภาองค์กรชุมชน    ทำให้ผมเห็นลู่ทางใช้กลไกสภาองค์กรชุมชนสร้างความยั่งยืน ของกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่

          คุณไพบูลย์เป็นผู้ต่อสู้ผลักดันเพื่อออก พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑    โดยตอนนั้นกระทรวงมหาดไทยไม่อยากให้มี    กำนันผู้ใหญ่บ้านก็กลัวสูญเสียอำนาจ    มาคราวนี้ ผมพบว่าผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าโครงการเอง    ชื่อผู้ใหญ่สมนึก ขุนแสง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑

          หากคุณไพบูลย์ได้ล่วงรู้ด้วยญาณวิถีใด คงจะมีความสุขมาก    ในการใช้กลไกของสภาองค์กรชุมชน เพื่อสร้างการเรียนรู้ สร้างปัญญา และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่บ้าน   

          รศ. ดร. ปาริชาต วลัยเสถียร บอกว่า กิจกรรมสภาองค์กรชุมชน มีผลงานดีในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง กับภาคตะวันตก

          ผมจะหาทางยุให้มหาวิทยาลัยที่สนใจ social engagement เข้าไปทำงานวิชาการเชื่อมโยง

          เรื่องที่ ๒ คือ ชมรมชาวประมงพื้นบ้าน จ. สตูล    ซึ่งมีที่ดิน ๒ ไร่  และอาคารหอประชุมอย่างดี ติดเครื่องปรับอากาศ    ได้ความว่าซื้อด้วยเงิน SIF (Social Investment Fund) สมัยปี ๔๐   ซึ่งเป็นงานที่คุณไพบูลย์ ดำเนินการสมัยเป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน    ชุมชนที่มีความเข้มแข็งจะสามารถใช้เงิน SIF สร้างทุนทางสังคมของตนไว้ใช้ประโยชน์ระยะยาวได้เช่นนี้

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ม.ค. ๕๗

 

สภาองค์กรชุมชน  ต. ขอนคลาน

 

ภายในห้องประชุม

 

ป้ายชมรมประมงพื้นบ้าน

 

ภายในห้องประชุม

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562003เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท