งานวิจัย Social media ที่น่าสนสำหรับครู


ในยุคที่สื่อ Social media เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์อย่างเรา ๆ มาขึ้น นักวิจัยหรือนักศึกษาก็คงไม่มองข้ามที่จะหยิบ Social media มาเป็นหัวข้อในการทำงานวิจัยอย่างแน่นอน และเมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวกับ
Social media จึงไม่พลาดที่จะนำมาเสนอในวันนี้ ซึ่งเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนของนายณัฐพล บัวอุไร นักศึกษาระดับปริญญาศึกษา
มหาบัญฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการประเมินการศึกษา ภาควิชาการศึกษา

จากงานวิจัยผลการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม
เรื่องคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ท ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา

ซึ่งได้วิจัยโดยมีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองในประเด็นของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ทั้ง 4 ครั้งของการวัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีแนวโน้มว่า ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และความสามารถใชการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) นักเรียนมีความพึ่งพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในระดับมาก

 

ไฟล์งาน : รายงานการวิจัยผลการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง
วิชาการสร้างงานสื่อผสมเรื่องคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ท ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา

แหล่งอ้างอิงค์ :

ณัฐพล บัวอุไร. 2555. งานวิจัยผลการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง
          วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ท ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
          พัฒนาการ ลำลูกกา.
ปริญญาศึกษามหาบัญฑิต ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

หมายเลขบันทึก: 561994เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท