Priyapachara
นางสาว ปรียาพัชร ตุลาเนตร

《ชาวนาอีสาน...กับสภาพจริงในอดีต》


ความจริงแล้ว ชาวนาอีสานรักในหลวงมาก เทิดทูลมาก รู้จักการทำนาที่ถูกต้องมีการหว่านกล้า แล้วถอน และปักดำ ถูกต้อง ไม่ใช่นาหว่านแล้ว จบ ได้ข้าวดีเหลือกินเหลือขาย เวลาที่ลูกหลานไปทำงานกรุงเทพ แล้วไม่พอกิน จะได้ยินชาวบ้านพูดเสมอว่า " กลับบ้านเถอะลูก ไปไม่รอด กลับบ้านเราซะ" นั่นหมายความว่ากลับบ้านแล้วรอด มีอยู่มีกิน และพอลูกหลานไปทำงานกรุงเทพ ไปสวยงาม เที่ยวกันมาจนพอใจแล้ว ก็จะกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิดทั้งนั้น ซึ่งชาวบ้านเขาเรียกว่า " ลูกหลานไปเที่ยว ไม่ใช่ไปทำงาน"

 

 

เลิกเชื่อสักทีจะได้ไหมว่าจะมีคนหยิบยื่นความร่ำรวยมาวางใส่มือ !?

 

 

 

 

 

 

 

ความร่ำรวยเกิดจากการรุ้จักเก็บออม ขยันหมั่นเพียร และร่ำรวยในแบบที่อาชีพนั้นๆควรจะเป็น ไม่ใช่การแบมือขอ หรือโยนมาให้

 

 

าวนาจริงๆแล้วมีความสุข ชาวนาอีสาน ไม่ได้จนจริง แต่จะเป็นความจนเทียม ในทางทฤษฎี เมื่อมีการตรวจสอบรายได้ครัวเรือน เป็นรายปี ตามความต้องการเก็บข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ พอตรวจสอบออกมา มันประมาณรายได้ ได้ยาก เวลากรอกข้อมูลอะไรก็ตาม ชาวนาอีสาน จะประมาณเอาค่ะ บางคนประมาณต่ำๆไว้ นั่นจึงเป็นที่มาของตัวเลขรายได้ ที่เอามาบ่งชี้ว่า ชาวนาอีสานยากจน

วามจริงแล้ว ชาวนาอีสานรักในหลวงมาก เทิดทูลมาก รู้จักการทำนาที่ถูกต้องมีการหว่านกล้า แล้วถอน และปักดำ ถูกต้อง ไม่ใช่นาหว่านแล้ว จบ ได้ข้าวดีเหลือกินเหลือขาย เวลาที่ลูกหลานไปทำงานกรุงเทพ แล้วไม่พอกิน จะได้ยินชาวบ้านพูดเสมอว่า " กลับบ้านเถอะลูก ไปไม่รอด กลับบ้านเราซะ" นั่นหมายความว่ากลับบ้านแล้วรอด มีอยู่มีกิน และพอลูกหลานไปทำงานกรุงเทพ ไปสวยงาม เที่ยวกันมาจนพอใจแล้ว ก็จะกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิดทั้งนั้น ซึ่งชาวบ้านเขาเรียกว่า " ลูกหลานไปเที่ยว ไม่ใช่ไปทำงาน"

 

 

 

 

 

 

ชาวนาสมัยก่อน หมดหน้านา เก็บเกี่ยวขายข้าวแล้ว ถือเงินสดไปซื้อหาของที่อยากได้กันทั้งนั้น ชอบเก็บทองกัน ไม่ชอบเก็บเงินสด และไม่ชอบเอาเงินเข้าธนาคาร นั่นก็เป็นที่มาว่าชาวนาอีสาน จนอีก ในขณะที่เรามองคนที่ บ้านก็กู้มาสร้าง ตู้เย็น ทีวี โซฟา โต๊ะกินข้าว รถรา ทุกอย่างเงินเชื่อหมด ว่าคนนั้นรวย นั่นเลยเป็นบรรทัดฐานว่า คนรวยคือคนที่ต้องมีหนี้ นี่ใช่ไหม เป็นค่านิยมที่หวังดี ที่นายทุน และภาครัฐพยายามสนับสนุน และหยิบยื่นให้เขา ในคราบผู้หวังดี

 

ชาวนาไม่เคยต้องลำบากในสมัยก่อน  มีที่ดินมากมาย มีข้าวกิน เหลือขาย เก็บทอง ซื้อของด้วยเงินสด ใช้เงินวะละ สามสิบบาท ซื้อเพียง เนื้อและหมูพอกินในครัวเรือน ผัก ปลา ไก่ ข้าว ไม่เคยต้องหาซื้อ ปัจจุบันนร้เล่า  ที่ดินก็ถูกขาย สร้างความเจริญทางวัตถุ ที่ทุกคนบูชา บ่อ บึง สระ ที่เคยเก็บผัก หาปลา ต้องหมดไป ทุกสิ่งทุกอย่างต้องซื้อหา ในราคาที่สูงจนชั่วชีวิตนี้ ยังไม่เคยต้องเจอ

 

 

นี่น่ะหรือ คือความเจริญ ความก้าวหน้าที่ทุกคนใฝ่ฝันถึง สร้างค่านิยมบูชาวัตถุ จนแก่งแย่งเงินทอง และล่าชื่อเสียง ล่าคนกราบเท้า กันอย่างบ้าคลั่ง....นี่เป็นสิ่งที่คนไทยต้องการหรือ??  

 

หมายเลขบันทึก: 561575เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2014 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2014 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชาวนาปัจจุบันจนเพราะรัฐบาล

ชุมชนขาดความเข้มแข็ง รอการพึ่งพาจากภายนอกมาก ต้องเปลี่ยนมุมมองหรือแนวคิดใหม่ หันมาพึ่งตนเอง ถึงจะหายจนครับ

ชาวนาสมัยรุ่นตายาย พ่อแม่นี่ล่ะค่ะ พอเพียง และรู้จักความเป็นเกษตรกรดีพอ สอนลูกหลานเสมอ มีน้อยเก็บน้อย สมัยเด็กจนเรัยนหนังสือ

ถึงมหาวิทยาลัย ไม่เคยเห็นชาวนาจนจริงเลย หมดหน้านาซื้อทองหยองกัน มีเงินให้ลูก แบบเป็นแบ้งค์ร้อย แบ้งค์ยี่สิบ มีเท่าไหร่ห่อไว้ มัดไว้

ซื้ออะไรซื้อเงินสด มอไซด์ โน๊ตบุ๊ค ทีวี ให้ลูก หอบเงินสดๆไปซื้อตลอด ชาวบ้านสมัยก่อนเป็นแบบนั้น ไม่ได้มาดิ้นรน เป็นหนีเป็นสิน แสวงหา

สิ่งอำนวยทางวัตถุ แข่งกับใครเขามากมาย อย่างนั้นหรือ เขาจะเอามาอ้างว่าชาวนายากจน จะพาชาวนารวยนะ...ยอมรับจริงๆว่า ชนบทเราอ่อนแอมาก อ่อนแอทางด้านจิตใจจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท