อาจารย์สอนปรัชญาที่มีนักศึกษาลงเรียนมากมาย


   เมื่อหลายวันก่อนผมเปิดไปที่ช่องเนชั่น ทราบว่าวันอาทิตย์ประมาณสี่ทุ่ม จะมีรายการสัมภาษณ์อาจารย์ไมเคิล แซลเดล ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาการเมืองมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผมรีบบันทึกลงในโทรศัพท์เพื่อเตือนด้วยหากถึงเวลานั้น แล้วผมก็ได้ดู สิ่งที่ผมเกิดการเรียนรู้คือ งานการศึกษาไม่มีพรมแดนอีกแล้ว และข้อคิดอื่นๆอีกมากมาย เช่น แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลเพียงใด แต่การเรียนรู้ทั้งหมดก็ไม่อาจแทนที่การเรียนในชั้นเรียนได้ ฯลฯ 

  งานทางปรัชญานั้นจะมีลักษณะเด่นๆคือ การถกเถียงด้วยเหตุผล และการยอมรับด้วยเหตุผล แต่ไม่ใช่ความพึงพอใจคือเหตุผล ปรัชญาจะช่วยทำให้เราเห็นว่า ในประเด็นนั้นๆ เหตุผลแบบใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน จึงตัดสินใจไปบนเหตุผลที่มีน้ำหนักมาก การถกเถียงไม่ใช่การโกรธเคืองหรือแยกพวกแต่ประการใด 

 ทุกวันนี้ เราถกเถียงกันด้วยอารมณ์หรือเหตุผล ถกเถียงเพื่อรวมเป็นหนึ่งหรือว่าเพื่อแปลกแยกออกจากกัน ท่านอาจารย์กีรติเคยพูดไว้ในงานสัมมนาแห่งหนึ่งว่า วิชาปรัชญา เป็นวิชาแม้จะโบราณ แต่คุณประโยชน์ของปรัชญาคือเหตุผล วิชาดังกล่าวถูกตัดทอนไปบ้างแล้วจากวงการศึกษาไทย

   

 

หมายเหตุ : ภาพทั้ง ๓ นี้ นำมาจากช่องเนชั่น ของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เก็บภาพด้วยกล้องโทรศัพท์ sony ericsson ray ผ่านโทรทัศน์

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 561399เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2014 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท