มาฆบูชา


....มาฆะตถาคตตรัสให้..........โอวาท
ปาฏิโมกข์พึงฉลาด................เร่งรู้
นำปฏิบัติมิหย่อนขาด.............ละเลิก
สันติสงบได้แด่ผู้...................มั่นแท้เพียรเสมอ

....เธอพึงสามหลักค้ำ............มั่นประจำ
อีกสี่หมายหมุดนำ.................ตระหนักแจ้ง
วิธีหกให้กระทำ.....................แบบอย่าง
วจนะไป่ปล่อยแล้ง................"ตื่นรู้"กระจ่างไสว

....๑ ไป่เปิดโอกาสให้............บาปใด
ปวงบาปหนักเบาไว................หลีกเว้น
๒ กายจิตพิสิฐพิสุทธิ์ใส..........ปฏิบัติ
๓ กุศลกิจมิเฉื่อยเร้น..............รับใช้ช่วยเหลือ

โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง
อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6

จากวิกิพีเดีย
 
หมายเลขบันทึก: 561213เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2014 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมบทความครับ...

ขออนุญาติ แชร์ความดี เป็นทำบุญกิริยา แก่ทุกท่านที่มาอ่านพบ

เนื่องในวันมาฆบูชานี้ เพื่อเป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณ เพียงส่วนหนึ่ง ในหมู่ของสรรพสัตว์ ที่อาศัยในวัฏฏะที่หมุนวกหมุนวนอยู่ทุกวี่ทุกวัน เพื่อเจอความสุขบ้างในภพนี้

  1. ก่อสัทธาในการเปิดประตูสู่ความจริงของธรรมชาติของตนกับทั้งหมด หรือ สัจจะธรรม
  2. ใฝ่เข้าหากัลยาณมิตร หรือ มิตร ครุ อาจาริยะ คอยชี้คอยเตือน
  3. สร้างขันติ อดทน และ ความเพียรของตน อันไม่ย่อหย่อน
  4. มีสีลสังวร ระมัดระวัง สำรวม กาย วาจา ให้เป็นปกติ
  5. มีสติ คอยตามรู้ คอยคุ้มครอง รู้แล้วปล่อย วางลง
  6. มีเมตตาต่อสรรพสิ่ง
  7. ด้วยความไม่ประมาท ต่อเหตุ และกิจควรทำ ทั้งปวง

..โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ..

วิญญูชนพึงน้อมมาสู่ตน และพึงรู้ ความจริงของธรรมชาติได้เฉพาะตน เมื่อself action เท่านั้น

โอวาทปาติโมกข์

พระพุทธพจน์คาถาแรก

ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น
อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
1.ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอ
ในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
2.การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
3.พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียน
ทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
4.พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลายมีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง

ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็น
เป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา [2]

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม

หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6
1.การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
2.การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
3.ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
4.ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
5.ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
6.ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

จากวิกิพีเดีย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท