"เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลง" ผ่านกิจกรรมจิตอาสา จากกลุ่มนักเรียน "ฮักนะเชียงยืน" (๒) AAR


วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗  กลุ่มนักเรียน "ฮักนะเชียงยืน" ลงพื้นที่ทำโครงงานจิตอาสาพัฒนาชุมชน โดยใช้เครื่องมือ "ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง"  ผม ดร.เพชร และนิสิตอีก ๒ คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ผมได้เรียนรู้คุ้มค่ายิ่งกับการมาครั้งนี้ ดัง AAR ต่อไปนี้

สะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง

ข้อมูลที่รู้จากคนในพื้นที่

  • "สาเหตุการตายของคนแถวนี้ ๙๘ เปอร์เซ็นต์ คือ มะเร็ง" 
  • "อายุเฉลี่ยของคนตายลดลงจาก ๘๐-๙๐ ปี เป็น ๖๐-๗๐ ปี"
  • โอกาสของชุมชนบ้านแบกและชุมชนใกล้เคียงคือ "มีน้ำ" (มีคลองส่งน้ำ ๒ สาย) แต่ปัญหาคือ หอยเชอร์รี่ และ การปลูกแตงที่ "เงินดีแต่มีพิษ" 
  • ชาวบ้านแบกปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง และพอกินในหมู่บ้านด้วย 
  • ปัญหาจริงๆ ของชาวบ้าน น่าจะเป็น "ความไม่พอเพียง" การบริโภคแบบทุนนิยม แข่งขันกันหาสตางค์ อวดมั่งอวดมี
  • การปลูกแคนตาลูปตามพันธะสัญญา สร้างรายได้ให้ชาวบ้านสูงสุดถึงไร่ละ ๒ แสนต่อปี ... ขณะนี้ไม่มีอะไรที่จะทำให้พวกเขาหยุดทำได้......
  • ชาวบ้านบางคนมีความเชื่อว่า การทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลิตมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ถึง ๓ เท่า....(ตีความจากข้อมูลที่ได้จากการฟัง ถ้าไม่ใช้ได้ไร่ละ ๓๐๐ กิโล ถ้าใช้ได้ไร่ละ ๑ ตัน)
  • ผู้นำชุมชนมีประสบการณ์ไปศึกษาดูงานมาแล้วหลากหลายที่ มีความรู้เพียงพอ แต่ก็ไม่ทำเป็นตัวอย่างชาวบ้าน และ(ดูเหมือน)ไม่มีความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ที่จะช่วยชาวบ้านในเรื่องนี้ ... หรืออาจเป็นเพราะท้อแท้ต่อการรณรงค์ไปแล้ว ....
  • ชาวบ้านมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการป้องกันตัวจากยาฆ่าแมลง คือ เข้าใจว่า การสวมเสื้อและถุงมือหลายชั้นจะป้องกันได้ แต่เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลยืนยันชัดว่า ไม่ใช่ ... ต้องใช้ชุดที่ทางบริษัทให้มาอย่างเคร่งครัดเท่านั้น ..... แม้กระนั้นก็ป้องกันไม่ได้ทั้งหมด 
  • สาเหตุอีกประการ ซึ่งเป็นจุดอ่อน จุดตาย คือ ความมักง่าย ไม่เคร่งครัด เช่น .... ใช้มือคนสารพิษโดยตรง ไม่สวมชุดป้องกัน ฯลฯ 
  • ชาวบ้านปลูกแคนตาลูปตามพันธะสัญญา บอกว่า บริษัทมารับซื้อเมล็ด ส่งไปขายเมืองนอก .... ส่วนเนื้อหอมหวานหลังปอกเปลือก ส่งขาย มมส. ....ฮา

 สะท้อนสิ่งที่สังเกตเห็น

  • นักเรียนน้องใหม่ของกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" (๘๐ เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด เป็นลูกหลานบ้านแบก) ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมี น้องเจมส์ บอกว่า หากพ่อแม่ตายายส่งเขาเรียนจนได้ใบปริญญา มันจะมีค่าอะไร ถ้าพ่อแม่ตายายต้องมาตายเพราะยาฆ่าแมลง...  ผมประทับใจตอนนี้มากครับ ทั้งเจมส์และยาย (ผมเข้าใจว่าเป็นยาย) ต่างคนต่างร้องไห้ เมื่อพูดถึงประโยคนี้ 
  • กระบวนการและโครงการของ "ฮักนะเชียงยืน" ได้บรรลุผล "หมุด" หนึ่งแล้ว ....  ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เจมส์ ไงครับ ... กำลังตระหนักเปลี่ยนจากภายในเลยล่ะครับ 
  • ผมเห็นชาวบ้าน อายุระดับยาย มากหลายคน อายุเฉลี่ยน่าจะ ๗๐ ปี (ผมประมาณเอง) มาช่วยกันทำขันหมากเบ็ง ... ผมคิดว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมี น่าจะเป็นคนรุ่นถัดจากนี้ 
  • แสดงว่า ตัวอย่างการเสียชีวิตของ คนอายุ ๕๐ ปี ๒ คน ที่ชาวบ้านเล่าให้ฟัง เป็นผลจากสารเคมีจากการปลูกแคนตาลูปตามพันธะสัญญาจริงๆ ชัดๆ
  • ชาวบ้านยังไม่มีทีท่าว่าจะเลิกใช้สารเคมี 

สะท้อนกลับด้านกระบวนการ เพื่อการพัฒนา

  • ขาดลำโพง .... สำหรับการแสดงไม่มีปัญหา ดึงสมาธิคนดูได้หมด แต่ตอนที่มาเสวนา หัวหน้า "เอ็ม" ที่พูดน้ำเสียงสุภาพ เบา โมโนโทน อาจต้องใช้ไมโครโฟน ช่วยดึงสมาธิและคุมวง
  • จัดวิธีนั่งให้ดีได้กว่านี้อีก  หลักการ คือจัดวงนั่งให้ทุกคนรู้สึกว่าอยู่ในวง ไม่ได้อยู่นอกวง สลับสับระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองก็ได้ 
  • สามารถออกแบบกิจกรรมให้ทุกคนมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเฉพาะคนสำคัญ ๒ คน คือ นักเรียนลูกหลานบ้านแบกกับผู้ปกครองของเขาเอง ถ้าออกแบบคำถามที่ให้ ๒ คนนีต้องปรึกษาหาคำตอบร่วมกัน จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและปัญญาของพวกเขา ..... เป็นต้น 
  • ควรเน้นให้เกิดการเสวนาแบบ ภายในสู่ภายนอก จากล่างขึ้นบน และจากปฏิบัติไปสู่ทฤษฎี กล่าวคือ 
    • ภายในสู่ภายนอก หมายถึง คุยเรื่องของตนเอง จากใกล้ตัว ครอบครัว ไปสู่ชุมชน ผลกระทบ 
    • จากล่างขึ้นบน หมายถึง เริ่มคุยจากผู้พูดน้อย อายุน้อย ประสบการณ์น้อยก่อน แล้วค่อยให้ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ พูดทีหลัง .... โดยมากทำแบบนี้ จะได้ผู้ฟังทั้งกลุ่ม ...เช่น ให้ชาวบ้านผู้ปฏิบัติหรือน้องใหม่ลูกหลานบ้านแบกเป็นผู้พูดก่อน แล้วค่อยให้วิทยากรจากกาฬสินธุ์ หรือเกษตรอำเภอพูดทีหลัง 
    • พูดจากปฏิบัติไปสู่ทฤษฎี คือ การเน้นมิติของการแลกเปลี่ยน มากกว่าการถ่ายทอดความรู้ หรือแนะนำพร่ำสอน....  การให้นักวิชการ พูดก่อน โอกาสที่ชาวบ้านจะ "นอน" ก็เยอะครับ...
  • ความเชื่อมโยงจาก "ละครสู่ชีวิต"ทำน้อยเกินไป ....  ละครสามารถดึงชาวบ้านได้หมด แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากละครเท่าที่ควร เหมือนชาวบ้านจะชอบใจและสนุก แต่ความหมายและคุณค่าที่ซ่อนอยู่ใน "บทละคร" ไม่ได้ถูก "ย้อน" สู่ใจชาวบ้าน.... ละครจึงกลายเป็น "หนังขายยา" ไป....(ขออภัยอาจแรงไป... แต่ความเชื่อมโยง "เรื่องราว" สำคัญยิ่ง)


คำถามและคำแนะนำ

  • ทำไมละครดีๆ จึงต้องมีแค่ ๑๐ นาที 
  • ศึกษาบันทึกข้อมูลเชิงลึก จากการสัมภาษณ์ ให้รู้วิธีการและจำนวนแน่ชัด เช่น วิธีการและขั้นตอนการทำเกษตรตามพันธะสัญญา (วาดโฟลชาร์ตได้) วิธีการปลูก ตั้งแต่ต้นจนขาย รายได้ ตุ้นทุน กำไร ค่าใช้จ่าย ฯลฯ
  • ศึกษาพืชชนิดนี้อย่างละเอียด คืออะไร ทำเหมือน "กบนอกกะลา" สืบหา "วงจร" ตั้งแต่ต้นจนขายเมืองนอก และปริมาณที่ส่งไปขายที่ มมส.....  ฮา
  • ศึกษาเรื่องสารเคมีเหล่านั้น ยาฆ่าแมลง......  ศึกษาทางเคมี..... 
  • ฯลฯ 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 561165เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท