ฐานข้อมูลออนไลน์


ประเทศไทยเสียงบประมาณสำหรับบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์หลายสิบล้านบาทต่อปี

ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มผู้ใช้งานระดับอุดมศึกษามานาน แต่จากสถิติการใช้งานนับว่าน้อยมาก สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก เป็นข้อมูลภาษาอังกฤษ (ซึ่งไม่น่ามีปัญหากับคนเรียนในแต่ละสาขาวิชามากนัก)แต่ในกลุ่มนิสิต นักศึกษา นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ ข้อหนึ่ง และความไม่สะดวกในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ใช้บางคนไม่ทราบว่ามีฐานข้อมูลเหล่านี้ให้บริการ

ในแต่ละปี ประเทศไทยเสียงบประมาณสำหรับบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์หลายสิบล้านบาท  ดังนั้นหากมีจำนวนผู้ใช้บริการน้อย น่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ฐานะที่เป็นบรรณารักษ์ จึงอยากเสนอฐานข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้ หวังว่าจะไม่เป็นการนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน

ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีใช้ร่วมกัน มีดังนี้

1. ฐาน Science Direct http://www.sciencedirect.com/  ฐานสุดฮิตและเป็นที่รู้จักในหมู่อาจารย์ นิสิต นักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ เพราะเป็นฐานข้อมูลที่พัฒนามาจากวิทยาศาสตร์กายภาพ แม้ในปัจจุบันจะมีฝั่งเทคโนและมนุษยศาสตร์เพิ่มเข้ามาบ้าง แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงเป็นของสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ มีจุดเด่นที่ การปรับปรุงฐานข้อมูลตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ไม่พลาดความเคลื่อนไหวทางวิชาการ และใช้ง่ายถึงง่ายที่สุด

2.  ฐาน Proquest Dissertation & Theses  http://proquest.umi.com/login/ipauto ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา มีข้อมูลหลากหลายภาษา ในเอเชียมีภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี(แต่ไม่มีภาษาไทย) เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมจำนวนวิทยานิพนธ์จากสถาบันการศึกษา ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป เอเชียกว่า 1,000 สถาบัน ผู้ใช้บริการสามารถดึงข้อมูล 24 หน้าแรกมาอ่านได้ พิเศษ มีวิทยานิพนธ์จำนวนหนึ่งที่ สกอ. ซื้อขาดมาให้บริการผู้ใช้คนไทยเรา ทำให้ดึงข้อมูลทั้งเล่มมาอ่านได้ จาก http://202.28.18.234/ 

3. ฐานข้อมูล H.W.Wilson หรือ The Wilson Web Solution  http://hwwilsonweb.com/ เป็นฐานข้อมูลที่มีฐานข้อมูลย่อยแยกตามสาขาวิชาให้เลือกใช้ บางมหาวิทยาลัยมีจำนวนฐานข้อมูลย่อยมากกว่า หากบอกรับบางฐานเพิ่ม แต่โดยปกติของฐานข้อมูลที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาบอกรับให้ มี 13 ฐาน

4.ฐานข้อมูล LexisNexis.com https://www.lexisnexis.com/ap/auth/default.asp?customer=MUA1&ie6check=no  รวม 2 ฐานข้อมูลด้านกฎหมายและธุรกิจเข้าด้วยกัน Lexis.com เน้นเนื้อหากฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีบทความมากกว่า 4 ล้านบทความจากแหล่งข้อมูลมากกว่า 1,000 แหล่ง  ส่วน Nexis.com เน้นเนื้อหาด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ

5. ฐาน ISI Web of Knowledge  http://portal.isiknowledge.com เป็นฐานข้อมูลอ้างอิง ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อตรวจสอบการอ้างอิงของผู้แต่งหรืองานของเขาได้ รวมทั้งอาจได้เอกสารฉบับเต็ม (ค่อนข้างน้อยกว่าฐานอื่น) อย่างไรก็ตามสามารถค้นข้อมูลย้อนหลังไปได้กว่า 100 ปีทีเดียว

6. ฐานข้อมูล IEEE Xplore  http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/dynhome.jsp ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับสูง ที่สำคัญราคาสูงมาก รวบรวมข้อมูลมาตรฐานต่างๆ หนังสือ บทความวารสารและ รายงานการประชุม ด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

7. ฐานข้อมูลสุดท้าย เป็นฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  http://ebooks.springerlink.com/  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฐานนี้พิเศษกว่าฐานข้อมูลของ OCLC http://www.oclc.org  (หน่วยงานให้บริการข้อมูลสำคัญหน่วยงานหนึ่ง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Netlibrary  http://www.netlibrary.com/ ) ในขณะที่ฐานของ เน็ตไลบรารี อ่านได้ทีละคน แต่ฐานของ SpringerLink อ่านได้พร้อมกันหลายคน ซึ่งเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ส่วนเนื้อหาจะดีกว่าหรือไม่ ต้องให้ผู้อ่านทุกท่านลองเข้าไปทดสอบดูค่ะ

         ฐานข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ ท่านสามารถสืบค้นได้จากเครือข่ายในมหาวิทยาลัยของท่าน ในอนาคตเราจะได้ใช้ร่วมทั้งหมดในสถาบันที่สอนระดับอุดมศึกษาค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #ฐานข้อมูล
หมายเลขบันทึก: 5608เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2005 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
   เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับ...

เป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยมากเลยค่ะ 

ขอบคุณนะค่ะ   ไม่ค่อยมีใครให้คำแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดการสืบค้นเท่าไหร่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท