ในปีงบประมาณ 2550 ดิฉันของบประมาณมาจัดทำหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยทำร่วมกับอาจารย์น.พ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร จากชมรมป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ทางสถาบันได้ทำงานร่วมกันมาประมาณ3ปี ท่านอาจารย์ได้เสนอหลักสูตรที่มีแต่ทฤษฎีโดยไม่มีภาคปฏิบัติโดยฝึกอบรม5วัน ดิฉันและทีมงานคือคณะกรรมการโรคติดเชื้อได้ร่วมกันคิดหลักสูตรที่สั้นและมีภาคปฏิบัติโดยทดลองทำคู่กับหลักสูตรแรกของน.พ.สมหวัง
การอบรมครั้งนี้ทางบำราศยังต้องอาศัยวิทยากรจากชมรมซึ่งเป็นแพทย์และพยาบาลจากศิริราชซึ่งมีประสบการณ์การสอน ทำให้เราสามารถจัดได้ง่ายและมีความพร้อมมากขึ้นโดยใช้วิทยากรร่วมกัน
ดิฉันเป็นคนที่เชื่อในพลังของNetwork ว่าจะทำให้เราพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้ค่ะ ถ้าเราตั้งใจจะเรียนรู้ร่วมกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ไม่เป็นคู่แข่งกัน แต่จะเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเรียนรู้เหมือนที่ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืดได้ให้ข้อคิดไว้ค่ะ
ดิฉันจะให้พวกเราเรียนรู้โดยการ Teaching และ sharingค่ะ
ตารางที่เราคิดคร่าวๆมีดังนี้ค่ะ
การอบรมระยะสั้น เรื่อง การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลสำหรับพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ วันที่ 1 :
08.00 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 พิธีเปิด
09.30 – 10.00 ทดสอบก่อนการอบรม
10.15 – 12.00 Principle of Infectious Diseases (โดย นพ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร)
· Introduction
· โครงสร้างองค์กรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
13.00 – 14.30 Epidemiology of Nosocomial Infection (โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลศิริราช)
-
Introduction and Definition
-
Epidemiology and Impact of Nosocomial Infection
14.45 – 16.30 Microbiology and Immunology (โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลศิริราช)
-
เชื้อก่อโรคที่เป็นปัญหาในโรงพยาบาล
-
แบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance)
10.45 – 12.00 การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
-
การวินิจฉัย
-
การควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระบบต่างๆ
13.00 – 16.30 การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (ต่อ)
วันที่ 3 :08.30 – 12.00 การเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (โดยพยาบาลจากโรงพยาบาลศิริราช)
-
ขบวนการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
-
การสอบสวนการระบาด และฝึกปฏิบัติ
-
ความสัมพันธ์และแปลผลผลข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
-
การนำข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลมาใช้
13.00 – 14.00 โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ (Emerging + Re-emerging diseases) (โดยวิทยากรจากสถาบันบำราศนราดูร)
14.00 – 15.15 การพยาบาลผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและการจัดเตรียมสถานที่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Isolation Precautions) (โดยพยาบาลสถาบันบำราศนราดูร)
15.30 – 16.30 การพัฒนาระบบงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในการรักษาและการพยาบาล สู่มาตรฐานเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (โดย วิทยากรจาก พรพ.)
วันที่ 4 :
ฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ (รพ.ศิริราช / รพ.รามาธิบดี หรือศูนย์การแพทย์ ม.ธรรมศาสตร์)08.30 – 16.30 การเฝ้าระวัง การวินิจฉัย การติดเชื้อในโรงพยาบาล ในแต่ละระบบ
( Surveillance and Intervention of outbreak)
(ฝึกปฏิบัติโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม)วันที่ 5 :
08.30 – 12.00 ศึกษาดูงาน สถาบันบำราศนราดูร
-
การทำลายเชื้อการทำให้ปราศจากเชื้อ
-
การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานบริการสาธารณสุข
-
การบำบัดน้ำเสีย
13.00 – 14.30 ประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
14.45 – 15.15 ทดสอบหลังการอบรม
15.15 – 15.45 อภิปราย สรุปผลการฝึกอบรม
15.45 – 16.30 พิธีมอบวุฒิบัตร และปิดการฝึกอบรม
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช ใน Dr.Achara bamras
คำสำคัญ (Tags)#network#การฝึกอบรม#การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
หมายเลขบันทึก: 56053, เขียน: 27 Oct 2006 @ 15:58 (), แก้ไข: 19 Jun 2012 @ 05:21 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก