แนะผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยง


แนะผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยง
นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงค่าเงินบาทในช่วงเช้าของวันที่ 26 ต.ค. 2549 ได้แข็งค่าขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 36.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ว่า เกิดขึ้นเนื่องจากมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของไทย แต่ยอมรับว่าการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้เร็วเกินไปและเป็นเงินระยะสั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวัง และ ธปท.กำลังจับตาดูเงินที่ไหลเข้าอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม มองว่าเป็นโอกาสที่ผู้นำเข้าน่าจะซื้อเงินดอลลาร์เอาไว้ และผู้ส่งออกต้องป้องกันความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ค่าเงินบาทที่แตะระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์ครั้งนี้ถือเป็นค่าเงินบาท         ที่แข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และพบว่าค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ       ดอลลาร์ สหรัฐฯ เงินยูโรของสหภาพยุโรป และค่าเงินเยนของญี่ปุ่น โดยอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของ ธปท. วันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 37.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งขึ้นจากวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา 0.3% แต่หากเทียบกับสิ้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาพบว่าค่าเงินบาทแข็งขึ้น 1.38% และหากเทียบกับสิ้นเดือน ธ.ค. 2548 แข็งค่าขึ้น 10.83% ขณะที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร อยู่ที่ 46.7473 บาทต่อยูโร แข็งค่าขึ้นจากวันก่อนหน้า 0.23% และแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.89% แต่หากเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมา แข็งค่าขึ้น 4.37% ส่วนค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินเยน อยู่ที่ 31.84 บาทต่อ 100 เยน แข็งขึ้นจากวันก่อนหน้า 0.05% และแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 2.2% แต่หากเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า แข็งค่าขึ้น 11.4%ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในเอเชียเมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมาได้แข็งค่าถ้วนหน้า อาทิ ญี่ปุ่นอยู่ที่ 118.74 เยนต่อเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 0.35%,   สิงคโปร์อยู่ที่ 1.5702 เหรียญสิงคโปร์ต่อเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 0.13%,   เกาหลีอยู่ที่ 949.60 วอนต่อเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 0.64%,   ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 49.87 เปโซต่อเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 0.12% เป็นต้นคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า    ได้แนะนำผู้ส่งออกทำการขายฟอร์เวิร์ดในระยะเวลาสั้น เพื่อเป็นการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น    อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธปท. คงจะดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป และจะต้องพิจารณาสกุลเงินของประเทศคู่ค้าว่ามีทิศทางปรับตัวไปเช่นเดียวกันกับประเทศไทยหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับประเทศจีน ค่าเงินหยวนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงไปตามค่าเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินบาท ก็อาจจะทำให้ ประเทศไทยเสียเปรียบจีนได้ไทยรัฐ  27  ต.ค.  49
คำสำคัญ (Tags): #ค่าเงิน
หมายเลขบันทึก: 56050เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท