การเก็บ Set sterile กับภาวะอุณหภูมิต่ำ-ความชื้นสัมพัทธ์สูง


เป็นคำถามที่พวกเราชาวหน่วยจ่ายกลาง ต้องตอบให้ได้ หลายปีที่ผมไม่เคยเข้าใจว่า ทำไมห้องเก็บของ sterile ต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เป็นที่มาทำให้ผมต้องค้นหาที่มาของคำถามนี้

คำตอบง่ายๆ อยู่ที่ “หยดน้ำ”

หยดน้ำ ที่เกิดขึ้นบน set ที่ sterile มันอันตรายกว่าที่เราคิด ด้วยความเป็นของเหลวของหยดน้ำ ทำให้มันสามารถซึมผ่านผ้า กระดาษ วัสดุหลายชนิดได้ มันจึงเป็นตัวนำเชื้อโรค , ฝุ่น ให้สามารถซึมผ่านผ้า กระดาษ ฯลฯ เมื่อมีหยดน้ำบนห่ออุปกรณ์ (รวมถึง set ต่างๆ) ที่ทำจากผ้า , กระดาษ

เมื่อหยดน้ำที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งอันตราย มันจึงต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดหยดน้ำขึ้นบน set หรือหีบห่อของที่ sterile    

ภายใต้สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิลดลงถึงจุดจุดหนึ่ง ไอน้ำในอากาศจะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ สิ่งเหล่านี้ คือ ธรรมชาติของน้ำ ที่เราพบเห็นได้เสมอ อุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ เรียกว่า อุณหภูมิจุดน้ำค้าง (Dew point) การเกิดจุดน้ำค้าง เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ ความดัน และความชื้นในอากาศ

เรามาดูโอกาสที่อาจเกิดหยดน้ำบน set ได้ด้วยการประมาณค่าอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศจากตารางการเกิดจุดน้ำค้าง ดังนี้

เช่นถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตอนหัวค่ำ 70% และมีอุณหภูมิในอากาศ 26.5 องศา C (80 องศา F) โอกาสเกิดหยดน้ำตอนหัวรุ่งซึ่งมีอากาศหนาวจะต้องมี...อุณหภูมิลดลงเท่ากับ 20.5 องศา C (69 องศา F) (ต้องดูอุณหภูมิในตู้เก็บของ sterile นะ) เมื่อดูๆ อุณหภูมิตามตาราง (ที่แนบมา) โอกาสที่จะเกิดหยดน้ำก็น่าจะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะ รพ.ไหนไม่เก็บ set ในตู้และไม่อยู่ในห้องปิด

หน่วยงานใดที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง และมีอุณหภูมิลดลงเป็นอย่างมากในตอนหัวรุ่ง ควรมีวิธีการติดตามการเกิดหยดน้ำบน set ด้วยการจัดหาเครื่องวัดอุณหภูมิ-ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 70% เราต้องตรวจสอบ ด้วยการแวะเวียนไปคลำๆ set sterile บ่อยๆ ว่ามีหยดน้ำ หรือ set เปียกหรือไม่

แนวทางง่ายๆที่ควรทำเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ >70% คือ

1.ถ้าวัดค่าได้ >70% และเจอ set เปียก set นั้นห้ามนำมาใช้

2.ถ้าวัดค่าได้ >70% ไม่เจอ set เปียก set เหล่านั้นยังใช้ได้ตามปกติ

3.ต้องติดตามความชื้นสัมพัทธ์ต่อไปถ้ายัง >70% ต่อเนื่องอีก 24 ชม. (เป็นไปได้ยาก) ต้องพิจารณาควบคุมห้อง sterile ด้วยอุณหภูมิหรือพิจารณาวัสดุที่ใช้ห่อ set ที่สามารถป้องกันไอน้ำในอากาศได้เช่นห่อด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่งฯลฯ

ในหลายประเทศได้กำหนด มาตรฐาน (ห้อง) บริเวณที่เก็บของ sterile ไว้ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาข้อมูล แต่ได้อ้างอิงจากต่างประเทศ

มีผู้มาตรวจเยี่ยมหน่วยจ่ายกลาง ตั้งคำถามถามผมว่า ทำไมไม่เก็บ set sterile ไว้ในห้องแอร์ (ห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น) ผมยิ้มๆ และตอบเขาไปว่า โรงพยาบาลมีงบน้อย ติดแอร์ไม่ได้

แต่ลึกๆ จากข้อมูลที่ผมมีอยู่ โอกาสเกิด dew point ในอาคาร ในห้องที่เก็บของ sterile ของโรงพยาบาลผม เป็นไปได้น้อยมาก     

หมายเลขบันทึก: 560429เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2014 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2014 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท