ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) :ผู้สอน


ลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive)

  

ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) :

ผู้สอน

 

สำหรับแนวคิดเรื่องผู้สอนของลัทธิพิพัฒนาการนิยม(Progressive) นั้นพบว่า บทบาทของผู้สอนไม่ใช่เป็นผู้บงการหรือออกคำสั่ง   เพียงแต่ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำและคำปรึกษา   เพราะผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดว่าตนเองต้องการอะไร  มีแผนการในการเรียนอย่างไร  ผู้สอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการให้คำแนะนำ  ซึ่งผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์กว้างขวาง มีบุคลิกดีเห็นใจเด็กมีความรู้ความสามารถ  และเข้าใจความต้องการของผู้เรียน เพื่อคอยเฝ้าดู หรือสังเกตว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับการอำนวยการ  การเรียนได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน หรือความสนใจของผู้เรียนที่อยากจะเรียน หรือต้องการ  และ เป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้นเตือนและอบรม สั่งสอนผู้เรียนตามแนวทางที่รัฐกำหนด

 

 

ลัทธิพิพัฒนาการนิยม ได้ให้ความสำคัญกับผู้สอน ให้บทบาทในฐานะเป็นผู้กระตุ้นหรือปลุกเร้าให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ใคร่ครวญด้วยตัวเขาเอง เป็นการเรียนที่มิได้มีเพียงรับเอาจากผู้สอน แต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เริ่มต้นการเรียน   แต่การเรียนรู้เกิดจากความต้องการของผู้เรียน โดยเป็นการเอาสิ่งที่ประสบพบเห็นอยู่ ในแต่ละวันเข้ามาเป็นโจทย์ในการตั้งคำถามแล้ว ช่วยกันค้นหาคำตอบ หาทางออกร่วมกัน 

หมายเลขบันทึก: 560412เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2014 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


ผู้สอนปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive

คุณลักษณะของผู้สอน

ผู้ทำหน้าที่สอนปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive ไม่มีบทบาทเป็นผู้บังคับบัญชา ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว จะมีแต่ผู้เชื่อฟังอย่างเดียว ย่อมขาดการเป็นตัวของตัวเองนั่นหมายถึง ต้องให้ผู้อื่นมีบทบาทเหนือตนอยู่เสมอ และทุกอย่างที่ใช้ปัญญาและการปฏิบัตินั้นขาดมิได้ต้องใช้พิราณาร่วมเหตุและผลอย่างลงตัว ผู้เข้าศึกษาแนวคิด

ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive นั้นมีขอบเขตรับการศึกษาได้ไม่เท่ากัน สิ่งนั้นผู้สอนย่อมต้องศึกษาโคลงสร้างระดับปัญญาของผู้ร่วมเข้าศึกษานั้นมีความถนัดเกณฑ์ใดอันรวมถึงรัศมีการจับต้องด้วย อำนวยการให้

การศึกษาแนวพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนด้วยความเห็นชอบ และสนุกกับการศึกษาแนวนั้น

ดังมี.....................


1. สมควรที่จะมีความรู้เป็นสหนานาวิทยาที่เป็นองค์ประกอบของเอกวิชาต่อในรายการที่จะต้องสอนไว้ด้วยการเตรียมการเรียนการสอนสาระตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

2. กระทำมิได้เป็นผู้มีระบบใช้ตนเป็นศูนย์กลางแนวการคิดของลัทธิพิพัฒนาการนิยมเน้นผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ

3. ไม่มีบทบาทเป็นผู้ออกคำสั่ง โดยใช้กิจกรรม - โคลงงาน - โคลงการต่อการคิด - มีใจ - ฝึกฝนผลิตชิ้นงานเพื่อการมีคุณภาพ

4. ตรวจผลงานขณะที่ผู้เรียนกำลังศึกษาแจ้งไขปัญหาให้อย่างเป็นระบบขั้นตอน เพื่อความเข้าใจของผู้เรียนที่ต้องการนำใช้ในกิจงานต่อไป

5. ช่วยกันค้นหาคำตอบและหาทางออกร่วมกัน ด้วยการเปิดประเด็นปัญหาข่าวประจำวัน

6. หลักสูตรและแนวทางการอบรมสั่งสอนเป็นไปในแนวทางซึ่งรัฐเป็นผู้กำหนดให้เสริมด้วยความรู้ประจำถิ่นจากผู้มีผลแห่งประสบการณ์แต่ละถิ่นนั้นๆ

พระอาจารย์ฉันเสร็จแล้วลงนั่งหน้าคอมเลยหรือเปล่า......ไม่ต้องกังวลต่อกระผมนะครับ...แต่กระผมตามกันไปเรื่อยๆ.........กระผมจะกล่าวแนวกติกากฏลัทธิปรัชญาเฉพาะแนวนั้นๆไป..............................................................

.........................................................................................................กราบสาธุครับ....พระอาจารย์จาตุรงค์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท