ฮักนะเชียงยืน 20


"ให้ชาวบ้านอยู่กับพันธะสัญญาได้"

โมเดลรุ่นสอง

 

         ระดมความคิด เเลกเปลี่ยนความคิด ปรึกษาผู้รู้ อยู่พักใหญ่ จนก่อเกิดมาเป็นเเนวทางที่มั่นคงในการดำเนินงานในการขับเคลื่อนชุมชน กับการเกษตรเเบบพันธะสัญญา โดยในครั้งเเรกๆนั้นมองว่าจะดันประตูพันธะสัญญานี้ออกไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน เเต่เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ยากมากหรือไม่สามารถทำได้เลย เพราะในตอนนี้ยังไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า เเละผลกระทบต่อชาวบ้านเองในเเง่ของโรคภัยไข้เจ็บ ยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระยะสะสมทำให้ชาวบ้านยังต้องทำอยู่ ทั้งๆที่รู้ว่าผลเสียที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร เพราะเป็นอาชีพที่ได้ทำอยู่กับบ้าน อยู่กับครอบครัว เเล้วยังมีรายได้ที่ดี ทำให้ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่สองมองในมุมที่ว่า ในตอนนี้นั้นเราไม่สามารถผลักประตูนี้ออกไปได้ เพราะสิ่งนี้นั้นต้องใช้ระยะเวลา เเล้วเครื่องมือที่สำคัญพอสมควร เมื่อไม่สามารถดันออกได้ ก็ต้องอยู่กับสิ่งนั้น อยู่กับพันธะสัญญา จึงเป็นการอยู่ร่วมกันของชาวบ้านที่ทำเกษตรกับพันธะสัญญา โดยที่รุ่นที่สองได้มุ่งเป้าไปที่ ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายประมาณ ๓๐ คน ซึ่งต้องเริ่มมาจากจุดเล็กๆ เเล้วค่อนขยายขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือน "น้ำที่ซึมซับ" ฮักนะเชียงยืนใช้เเนวทางการซึมซับนี้ผ่านทางกิจกรรมค่ายซึ่งในรุ่นที่สองนี้นำผลจากรุ่นที่หนึ่งมาพัฒนาต่อ ที่เหมือนกับ "การต่อยอดไปอย่างไม่มีสิ้นสุด" จนกว่าจะทำให้ชาวบ้านอยู่กับเกษตรพันธะสัญญาได้  

         โมเดลของรุ่นเเรกผ่านไป โมเดลรุ่นที่สองได้ถือกำเนิดขึ้นไม่นานมานี้ โดยวันหนึ่งเข้าไปถามผู้รู้ ท่านเเนะนำบอกว่า "ให้มองครบ ๔ มิติ ให้เริ่มจาากจุดเล็กๆ " ซึ่งเป็นคำเเนะนำที่เป็นเเนวคิดที่จุดประกายเสริมโเดล นี้เองขึ้นมาให้ง่ายต่อการทำ เเล้วทำอย่างพอดีกับศักยภาพของฮักนะเชียงยืน เมื่อเรานำพันธะสัญญาออกไปไม่ได้ เราก็ต้องอยู่ร่วมกัน อย่างคอยเฝ้าระวัง โดยมีเป้าหมาย คือ ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ที่ไม่ใช่เพียงในพันธะสัญญา เเต่เป็นการลดสารเคมีในการเพาะปลูกต่างๆ พืชสวน พืชไร่ ตามท้องนาของชาวบ้าน พันธะสัญญานี้เป็นการปลุกแตงต่างๆ โดยเขาให้สารเคมีต่างๆให้มาใช้ โดยชาวบ้านก็ต้องใช้สารเพราะทางเลือกที่เป็นการใช้อินทรีย์นั้น ผลที่ออกมาเเล้วรายได้ จะไม่ดีเท่ากับผลที่ใช้สารเคมี ในตอนนี้การลดสารเคมีที่ปลูกพืชในระบบพันธะสัญญา ฮักนะเชียงยืนจึงทำได้เพียง การผสมปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปในปริมาณหนึ่ง เเล้วยังมีการใช้สารอินทรีย์ในพืชสวนมากยิ่งขึ้นในไร่นาของเเต่ละครัวเรือน ซึ่งโมเดลรุ่นที่สองนี้ มีรายละเอียดดังนี้ 

ข้อค้นพบฮักนะเชียงยืนรุ่นเเรก ได้เเก่ 

ชุมชนยังไม่ลดการใช้สารเคมี 

สารเคมีตกค้างในดินมีสูง 

วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนเเปลงไป 

สุขภาพเสี่ยง (จากผลการตรวจเลือด) 

เเมลงดื้อยา 

เมล็ดพันธ์ เป็นเมล็ดตัดเเต่งพันธุกรรม 

         ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวนำมาวึ่งการพัฒนาข้อค้นพบนั้นต่อไป เป็นเเนวคิดหลัก ให้งานได้ต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นำมาวิเคราะห์ด้วยหลักคิดสำคัญ คือ ลดสารเคมีลงในกลุ่มเป้าหมาย สู่การอยู่ร่วมกันกับระบบเกษตรพันธะสัญญา 

         ละคร "เมล็ดพันธ์หายไปไหน" เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เป็นเครื่องมือในการเปิดประเด็นเวทีเสาวนาชาวบ้าน ร่วมกันโดยมีการออกเร่ละคร สามครั้งด้วยกัน คือ ครั้งที่๑ อยู่ที่โรงเรียน ครั้งที่๒ อยู่ที่ชุมชน เเละครั้งที่๓ อยู่ที่ชุมชน โดยในครั้งที่สามนี้เองที่เป็นการเปิดเวทีเสาวนาให้เกิดขึ้นเพื่อพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชน 

         กลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่าย กลุ่มผู้ปกครอง เป็นเป้าหมายหลักที่เราจะให้ เขาได้ตระหนักมากยิ่งขึ้น เเล้วความฝันเป็น การอยู่ร่วมกันกับเกาตรพันธะสัญญาได้ จากกิจกรรมที่ฮักนะเชียงยืนได้จัดขึ้น 

        ฮักเเพงบ้านเกิด เป็นกิจกรรมที่ย้ำเตือนความตระหนัก เน้นย้ำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด ผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มเด็กๆมีส่วนร่วม โดยมีรายอะเอียดกิจกรรมย่อย คือ แผนที่การเจ็บป่วยของตระกูล การพาน้องศึกษาโครงสร้างของดิน เกษตรอินทรีย์ เเละน้ำหมักชีวภาพ  สอนทักษะการละคร เเละการสอนเด็กกับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายให้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพประจำครัวเรือน 

        หนังสั้น เป็นการใช้ภาพสื่อสะท้อนมุมมองในอีกมุมหนึ่งของวิถีชีวิต ของชาวบ้านเเละของเด้กๆในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้ย้ำลึกเข้าไปอีก ในความคิดของเด็กๆเเละชาวบ้าน 

        Amazing ban bag เป็นเวทีการสรุปข้อมูลโดยในวันนั้นจะจัดตลาดนัดชีวภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยน้ำชีวภาพนี้ได้มาจากจากกิจกรรมฮักเเพงบ้านบ้านเกิดที่พอน้องๆเเละผู้ปกครองทำเเล้วใช้กับไร่นา ไร่สวนของตนเอง เเล้วมาเเลกเปลี่ยนกันระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองจนเกิดเป็นตลาดนัดชีวภาพเกิดขึ้น ละครเร่นี้เป็นผลมาจากการไปสน้องๆในชุมชน ให้ทำละครในค่ายฮักบ้านเกิด โดยเป็นละครที่เด็กคิดเเละทำเอง โดยที่ฮักนะเชียงยืนเป็นตัวจุดประกายให้เกิดขึ้น เเล้วสุดท้ายเป็นการฉายหนังสั้นที่ได้ทำไว้ในระยะการดำเนินโครงการ ที่เหมือนการฉายหนังกลางเเแปลง ที่เราได้เคยเห็น โดยเป็นหนังที่สะท้อนมุมมองให้ชาวบ้านได้รับชม เป็นวิธีการย้พเตือนความตระหนักไปในอีกทางหนึ่งด้วย 

        ภาพฝัน คือ ตลาดเขียวนี้ ฮักนะเชียงยืนรุ่นนี้ถือว่า เดินเข้าสู่บันไดขั้นเเรกของตลาดเขียว คือ ตลาดนัดชีวภาพ โดยเป็นการริเริ่มทำให้ชาวบ้านได้เห็นว่า ควรใช้อินทรีย์สารเพิ่มขึ้น ในการเกษตร เมื่อใช้อินทรีย์สารเพิ่มขึ้นเเล้วนั้น ผลผลิตที่ได้ ก็จะมีผลเป็นผักสีเขียวซึ่งก็จะสามารถสร้างเป็นตลาดนัดสีเขียวได้นั่นเอง เเต่การที่จะไปถึงจุดนั้น ถือว่ายังยากนัก ฮักนะเชียงยืนยังคงต้องดำเนินงานต่อไป เพื่อที่จะให้ชาวบ้านลดใช้สารเคมีลงให้มากที่สุด "ให้ชาวบ้านอยู่กับพันธะสัญญาได้".....

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ฮักนะเชียงยืน 20
หมายเลขบันทึก: 558587เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2014 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2014 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท