คลังคำ : พวกเราเป็นหนี้เขา


ฉันเปิดเฟซบุ๊คในตอนเช้าเมื่อวานนี้ และก็รู้สึกเสียใจที่ทราบข่าวว่า Dave Willis ได้เสียชีวิตไปแล้ว Dave Willis เป็นคนที่คิดเรื่องการสอนแบบภาระงาน (Task-Based Learning) ขึ้นมา อย่างไรก็ตามเขายังเป็นคนคิดเรื่องการสอนคลังคำ (lexical) ไปในการสอนภาษาด้วย การสอนลักษณะคลังคำตอนนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ล้ำสมัยอยู่ ในความเป็นจริงแล้ว งานยุคบุกเบิกของเขาในเรื่องหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับคลังคำ (lexical Syllabus) เกิดมาก่อนงานของ Michael Lewis ความแตกต่างอยู่ตรงที่ Dave Willis สอนเรื่องคลังคำ ในขณะที่ Michael Lewis เรียกวลีว่าคำปรากฏร่วม (collation)

ในตอนปลายปี 1980 สถาบัน Collins ได้ตีพิมพ์ตำราเรียนภาษาต่างประเทศอันใหม่ มีผู้แต่ง 2 คนก็คือ Dave Willis และ Jane ภรรยาของเขา หนังสือนี้เป็นผลงานของสถาบัน COBUILD หรือ ฐานข้อมูลนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัย Collins Birmingham อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นหนังสือนี้เป็นความพยายามที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในการที่จะรวบรวม (compile) คลังข้อมูล (corpus) เกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ร่วมสมัย หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Collins Cobuild English Course มีเนื้อหาที่ง่ายและชัดเจน คำที่สามัญในภาษาอังกฤษ เช่น do, get, it, way ต่างมีรูปแบบ (pattern) ที่มีความสำคัญอย่างมากที่สุดในภาษาอังกฤษ

แทนที่จะเริ่มต้นอย่างหนังสือทั่วไป ได้แก่เริ่มที่ลำดับ การนำเสนอกริยา to be, ตามด้วย Present Simple ต่อมาก็เป็น Present Continuous และอื่นๆที่เป็นแบบปกติ แต่หนังสือเล่มนี้กลับเน้นไปที่ความหมายของคำที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษ และกล่าวถึงรูปแบบ (pattern) ที่ใช้กับคำเหล่านั้น

ประมาณ 2-3 ปีต่อมา Willis ได้พิมพ์หนังสือชื่อ หลักสูตรกลุ่มคำ (The Lexical Syllabus) ในปี 1990 (ซึ่งจะต้องอ่านและอ่านซ้ำโดยครูภาษาอังกฤษ) นี่เป็นหนังสือเกี่ยวกับกระบวนการการเขียนหนังสือวิชาการ Willis ได้บรรยายถึงเหตุผลเบื้องหลังการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และอธิบายว่าเหตุใดจึงได้เลือกที่จะเน้นย้ำไปที่กลุ่มคำที่พบเห็นกันได้ทั่วไปประมาณ 700 คำ เป็น 700 คำที่สดใหม่ และปรากฏอยู่ในหนังสือภาษาอังกฤษถึง 70 % Willis เคยกล่าวว่า คำเพียงแค่ 700 นี่แหละกลับเป็นตัวแทนของตัวบทในภาษาอังกฤษ นั่นย่อมแสดงถึงอำนาจอันกว้างขวางของคำธรรมดาสามัญเหล่านี้ ถึงแม้จะมีข้อค้นพบนี้ แต่ การศึกษาภาษาอังกฤษของ Willis นั้นก็ยังมีเรื่องของไวยาการณ์แบบดั้งเดิมทุกประการ นอกจากนี้มันยังได้เน้นย้ำถึงลักษณะของไวยากรณ์ในภาษาพูด ( Spoken Grammar) ที่ขาดหายไปจากหนังสือไวยากรณ์แบบดั้งเดิม เช่น การใช้ as ที่แปลว่า เมื่อ/ในขณะที่ (Christ draws a rough map as Phillip talks), โครงสร้างบางอย่าง ดังเช่น go and… (shall we go and see a film?), to do with (Anything to do with sport) ฯลฯ

หลักสูตรคลังคำ (The Lexical Syllabus) (ที่เราสามารถจะเห็นโครงสร้างทั้งหมดได้ในทางออนไลน์ที่เวปไซต์ของมหาวิทยาลัย Birmingham) มีบทที่ฉันสนใจมาก เพราะว่า Willis ได้ตรวจสอบอย่างพิถีพิถันเกี่ยวกับไวยากรณ์ที่เกี่ยวกับวิธีการสอน (pedagotic grammar) ที่มีดังนี้ 1. โครงสร้าง the passive voice 2. โครงสร้างเงื่อนไขแบบที่ 2 3. โครงสร้างแบบ Indirect Speech และได้สรุปว่าพวกเขาทั้ง 3 มีลักษณะของโครงสร้างแบบประโยค (syntactic structure) และควรจะได้รับการสอนแบบคลังคำ (lexically) ใน 3 ปีต่อมา Lewis (1993) ได้สรุปเสริมอีกว่าโครงสร้างทั้ง 3 อย่างนี้ (รวมการใช้ will ในการบอกอนาคตไว้ด้วย) ควรจะต้องถูกกำจัดออกไปจากหนังสือไวยากรณ์ และไม่ควรจะถูกเรียกว่าไม่มีสาระอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม คงต้องยกประโยชน์ให้แก่ Willis ก็เพราะ Willis เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้สามารถเรียนได้ในแบบคลังคำ

อย่างไรก็ตาม ฉันจะขอกล่าวว่าไม่มีอะไรในภาษาอังกฤษอีกเลย นอกจากจะมีความหมายของคำและการจัดวางคำจะมีประโยชน์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

 หนังสืออ้างอิง

Leo Selivan. We are lexically indebted to him. http://leoxicon.blogspot.com/2013/10/dave-willis-lexical-syllabus_4913.html

หมายเลขบันทึก: 558483เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2014 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2014 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท