ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>การปกครองระบอบเผด็จการ


การปกครองระบอบเผด็จการ
       ระบอบเผด็จการ เป็นระบบการปกครองที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย ผู้ปกครองจะมีอำนาจสูงสุดในการ
 ปกครองโดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของประชาชน การได้มาของการเป็นผู้นำในระบอบเผด็จการ มักจะเกิดจากการ
 ปฎิวัติหรือรัฐประหาร

        1 หลักการสำคัญของการปกครองแบบเผด็จการ

             หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการเป็นไปในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 
             1. อำนาจรัฐอยู่เหนือประชาชน ไม่ยินยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศแต่ต้องปฏิบัติ
  ตามที่รัฐกำหนดไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือโต้แย้ง 
             2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้อำนาจ แก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง เด็ดขาด ใช้อำนาจทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม    หรือผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งต่อรัฐ 
             3. ปกครองประเทศโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของภาครัฐมากกว่าสิทธิ เสรีภาพของประชาชน 
             4. เน้นการเชื่อผู้นำพาชาติก้าวหน้า เพื่อสร้างศรัทธาและบารมีของผู้นำ 
             5. มีการรวบรวมอำนาจปกครองไว้ในที่แห่งเดียว ศูนย์กลางในการสั่งการ คือ ตัวผู้นำซึ่งจะรวมทั้ง 3 สถาบัน
  อยู่ในปกครองของตนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว

      2 รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ

             ระบอบเผด็จการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้               
             1) เผด็จการแบบอำนาจนิยม 
ผู้นำของรัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง มีการควบคุมสิทธิ เสรีภาพทาง
  การเมืองของประชาชน โดยมักอ้างลัทธิชาตินิยมในการสร้างความชอบธรรม ส่วนด้านเศรษฐกิจ ประชาชน
  ยังมีสิทธิเสรีภาพอยู่บ้าง การปกครองระบอบนี้ในปัจจุบัน เช่น ประเทศนิการากัว คิวบา กานา ไนจีเรีย ลิเบีย ซีเรีย 
  จอร์แดน เกาหลีเหนือ อิหร่าน  สหภาพพม่า 
             2) เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ผู้นำของรัฐมีอำนาจเด็ดขาดในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ควบคุม
  สิทธิเสรีภาพประชาชนสื่อมวลชน ได้แก่
                 2.1) เผด็จการฟาสซิสต์ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศ อิตาลีโดย เบนิโต มุสโสลินี ในช่วงประเทศเปลี่ยนแปลง   ทางสังคมสู่ระบบอุตสาหกรรม มุสโสลินี นำนโยบายการโฆษณา ชวนเชื่อ และสร้างภาพพจน์ให้ยึดมั่นในตัวผู้นำ
  ที่จะนำประเทศไปรอดได้ โดยถือว่า “ถ้าเชื่อผู้นำชาติไม่แตกสลาย” เน้นรักชาติหรือชาตินิยมที่รุนแรง ส่งเสริม
  กลุ่มนายทุน มีความเชื่อว่าสงครามเป็นสิ่งที่ชอบธรรม

เบนิโต มุสโสลินี เป็นผู้นำรูปแบบการปกครอง
เผด็จการฟาสซิสต์ เกิดขึ้นครังแรกในประเทศอิตาลี

                2.2) เผด็จการนาซี เป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนี โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ 
  ได้รับอิทธิพลมาจากเผด็จการฟาสซิสต์ ที่เน้นความเป็นชาตินิยม และเชื้อชาตินิยม และเน้นให้ประชาชนมีความ
  ศรัทธา เคารพ เชื่อฟังผู้นำ และปลูกฝังในเรื่อง ความภูมิใจในชาติ 
                2.3) เผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นแนวความคิดของ คาร์ล มากซ์ ( Karl Marx) มุ่งประเด็นการขัดแย้ง
  ระหว่างชนชั้น โดยถือว่าชนชั้นกรรมาชีพ เป็นพลังสำคัญที่จะสร้างสังคมให้มีความชอบธรรม ผู้คนอยู่ดีกินดี 
  มุ่งทำลายล้างระบบทุนนิยม ผ่านทางพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่เป็นตัวแทนของ
  ชนชั้นกรรมาชีพ  ให้ทำหน้าที่ปกครองบริหารประเทศและขจัดปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคมให้หมดสิ้นไป

         3 ข้อดีของการปกครองแบบเผด็จการ

                1. รัฐบาลสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน หรือภายนอกประเทศได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์    โดยผู้นำมีอำนาจไม่ต้องฟังเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านจากประชาชน 
                 2. รัฐสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งภัยในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชน
  จำนวนมากได้ดีเพราะรัฐเป็นผู้ดำเนินการ 
                 3. ทำให้ประชากรในประเทศเกิดวินัยในสังคมมากขึ้น

           4 ข้อจำกัดของการปกครองแบบเผด็จการ

                   1. อาจเกิดความผิดพลาดในการบริหารประเทศชาติ เพราะประชาชนไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น 
  โต้แย้งหรือคัดค้าน ดังนั้น หากผู้นำบริหารผิดพลาดย่อมส่งผลเสียหายต่อประเทศและประชาชนอย่างร้ายแรง 
                  2. ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว 
  เพราะหากฝ่าฝืนจะต้องมีความผิดและรับโทษ 
                  3. การดำเนินกิจกรรมต่างๆ จะเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมืองที่คุมอำนาจการบริหารประเทศ
  เพียงพรรคเดียว ประชาชนส่วนรวมไม่มีอำนาจโต้แย้ง คัดค้าน หรือได้ร่วมกำหนดนโยบาย รัฐจึงต้องคอยสอดส่อง
  ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยรวมทั้งลงโทษบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ อย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา

 
       
การปกครองระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันมีรายละเอียด ดังนี้ 

สาระสำคัญ

ระบอบประชาธิปไตย

ระบอบเผด็จการ

อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

เป็นของประชาชน

ยึดถืออำนาจรัฐเป็นอำนาจสูงสุด 
โดยผู้นำเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด

สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน

ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

เน้นความสำคัญของรัฐและผู้นำ 
หากประชาชนดำเนินกิจกรรมที่ขัดแย้งต่อนโยบายของผู้นำจะได้รับ
การลงโทษอย่างรุนแรง

การดำเนินกิจกรรมทางด้านนิติบัญญัติหรือการบริหาร

การออกกฎหมายผ่านทาง
กระบวนการทางรัฐสภา การดำเนิน
นโยบายบริหารต้องอยู่ภายใต้
กฎหมาย และมีการควบคุม
ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสจากฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชน

ผู้กำหนดนโยบายและตัดสินใจ คือ 
ผู้นำของประเทศ

ระยะเวลาในการนำนโยบายมาใช้
บริหารประเทศ

การดำรงตำแหน่งของผู้นำทาง
การเมืองเป็นไปตามวาระประชาชน
เสียงข้างมากให้ความเห็นชอบ

ประชาชนไม่มีอำนาจโค่นล้มหรือ
ถอดถอนรัฐบาลออกจากอำนาจได้
การเปลี่ยนผู้นำอยู่ภายใต้การคัดสรร
ของผู้บริหารพรรคการเมือง

รัฐธรรมนูญ

เป็นกฎหมายหลักในการปกครอง
ประเทศ กำหนดสิทธิ เสรีภาพ 
ความเสมอภาคของประชาชน

จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
การเคลื่อนไหวหรือการประกอบ
กิจกรรมทางการเมืองไม่สามารถ
กระทำได้ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

เปิดโอกาสให้มีการตั้งพรรคการเมือง
และมีการแข่งขันทางการเมือง
เพื่อเข้ามาบริหารประเทศ

มีพรรคการเมืองพรรคเดียว

         ระบบการเมืองการปกครองเป็นแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมก่อให้เกิดข้อตกลง รวมทั้งมี
  อำนาจในการบังคับสมาชิกในสังคมให้ปฏิบัติตามอำนาจนั้น ซึ่งระบอบการปกครองที่นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศ
  ทั่วโลก ก็คือ ระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ ซึ่งแต่ละระบอบก็จะมีข้อดี ข้อจำกัดในตัวเอง สำหรับ
  ประเทศไทยใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็  
  สามารถพิสูจน์ได้ว่า ระบอบการปกครองนี้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมไทย และเชื่อว่า
  จะเป็นการปกครองที่จะช่วยสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและสร้างความมั่นคงผาสุขให้กับคนไทยอย่างแน่นอน

ที่มา  สำนักวานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หมายเลขบันทึก: 557211เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2013 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2013 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ บ้านเราคงไม่กลับไปหาเผด็จการอีกนะคะ คงอึดอัดน่าดูเพราะเราเป็นเสรีชนมานาน ขอบคุณที่ฝ่ายรัฐมีความเป็นผู้ใหญ่มาก อดทนอดกลั้นเป็นเลิศ มิฉะนั้นก็คงเกิดสงครามกลางเมืองสมใจบางคน ทำให้อีกฝ่ายจะคลั่งตาย ถ้าเมืองไทยเป็นเผด็จการครั้งนี้น่าจะมีรูปแบบฟาสซิสต์ ฮิตเลอร์ บวกประธานเหมา

ขอบคุณสำหรับความรุ้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท