หลักการและขั้นตอนการใช้และการประเมินสื่อการเรียนการสอน


หลักการและขั้นตอนการใช้และการประเมินสื่อการเรียนการสอน

หลักการเลือกสื่อการสอน 

 1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน 

 2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย

 3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และ ประสบการณ์ของผู้เรียน

 4. สื่อนั้นควรมีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป

 5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่

 6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป

หลักการใช้สื่อการสอน 

1. เตรียมตัวผู้สอน

2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม

3. เตรียมตัวผู้เรียน

4. การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการ

5. การติดตามผล  

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน !!!

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน

2.  ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นที่จะให้ความรู้ เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอน 

3.  ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติ เช่น สมุด แบบฝึกหัด เป็นต้น
 
4.ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง  และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นใส เป็นต้น 

5. ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้

 การประเมินผลการใช้สื่อการสอน 

1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ  เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไป ตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป

2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ  เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง    มีสาเหตุมาจากอะไรและมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่ 

3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน

การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgement)  เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่ดีเพียงใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่

  การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน

  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล  สื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นต้น

ขั้นตอนของการวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน

   การวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ในเบื้องแรก
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ

  • การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
  • การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)

 ขั้น 1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)

1. ลักษณะสื่อ

   1.1ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ  สื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ

-สื่อบางชนิด ให้สาระเป็นรายละเอียดมาก บางชนิดให้น้อย บางชนิดให้แต่หัวข้อ เช่น แผ่นโปร่งใส
-สื่อบางประเภทสื่อสารด้วยการดู บางประเภทสื่อสารทางเสียง หรือบางประเภทสื่อสารด้วยการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส เช่น การสื่อสารด้วยภาพ

    1.2  มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards) การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบต่างๆ ตามประเภท และองค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา

  การออกแบบสื่อที่ดีจะต้องช่วยทำให้การสื่อสารชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่ายสำหรับกลุ่มเป้าหมาย

  ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อ สิ่งที่ผู้ตรวจสอบสื่อจะต้องพิจารณา คือ การชี้หรือแสดงสาระสำคัญตามที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจ กระชับและได้ใจความครบถ้วน มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนหรือ  กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระ

     1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards) เทคนิควิธีการเสนอสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน

   วิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์กำหนด อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง 

2. เนื้อหาสาระ          

   เนื้อหาสาระที่ปรากฏในสื่อการเรียนการสอนนั้น  ต้องผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา  เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง  อีกทั้งต้องมีลำดับของการเสนอเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย ไม่สับสน หรือวกวน  การยกตัวอย่าง และการกำหนดกิจกรรมต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และช่วยสนับสนุนเนื้อหาสาระให้มีความกระจ่าง และน่าสนใจ

ขั้นที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) 

ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี 2 แบบ คือ

1. แบบทดสอบ แบบทดสอบที่ใช้ในที่นี้ เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรเป็นแบบทดสอบที่มีความตรงเชิงเนื้อหา(Content validity)สูงและสามารถวัดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในแต่ละจุดประสงค์
 โดยทั่วไปการพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
 1.1 กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ   
 1.2 พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
 1.3  สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ1.2โดยสามารถวัดตาม   เกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
 1.4  พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
 1.5 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
 1.6  วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น และ ค่าความยากง่าย
 1.7  คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ และสามารถวัดตาม เกณฑ์กำหนดสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์
 
2. แบบสังเกต ในระหว่างการทดลองใช้สื่อ ผู้ตรวจสอบควรจะสังเกตและบันทึกการแสดง ของสื่อ และพฤติกรรมการใช้สื่อในการเรียนการสอนของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง สิ่งสำคัญ ที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต

 สิ่งสำคัญ ที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ

     1.ความสามารถเข้าใจได้ง่าย
     2.การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น  มีขนาด  อ่านง่าย  ฟังง่าย ฯลฯ   
     3.การเสนอตัวชี้แนะสำหรับสาระสำคัญเด่น  ชัดเจน  สังเกตง่าย
     4.ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม  ทั้งเวลาการนำเสนอ และตอบสนอง
     5.วิธีการใช้ที่ง่าย  สะดวก  ไม่ยุ่งยาก
 
การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ

1. หลักการเลือกสื่อการสอน

  • สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
  • เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
  • เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น 
  • สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้
  • ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี
  • มีราคาไม่แพงจนเกินไป
2.การดัดแปลงสื่อ
  • การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย

3.การออกแบบผลิตสื่อใหม่

การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง 
  • จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร 
  • ผู้เรียน  ควรได้พิจารณามีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน 
  • ค่าใช้จ่าย  มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
  • ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค
  • เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ 
  • สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
  • เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่ 
คุณค่าของสื่อการเรียนการ   

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนต่อผู้เรียน   

1. ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน      
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
3. ช่วยแก้ปัญหาด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
4. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้เรียน
5. ช่วยทำให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
6. ช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
7. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินไม่รู้สึกน่าเบื่อหน่าย 

 คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนต่อผู้สอน

  1. ช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น  
  2. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการสอน  
  3. ช่วยลดภาระของครูผู้สอนในด้านการบรรยายลง
  4. ช่วยกระตุ้นให้ครูผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ ตั้งแต่ขั้นเตรียมผลิตสื่อการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียนการสอนหรือการจัดหาสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้สอน 
 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 557205เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท