นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน


นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน

นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้วก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หรือ นวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็นนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไปในวงการศึกษา

ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน

3. นวัตกรรมสื่อการสอน

4. นวัตกรรมการประเมินผล

5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น นวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

1.หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ

2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ

3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

 4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน[ E-learning / M-Leaning ]

                การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning รูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา(delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม และใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร

ลักษณะสำคัญของ e-Learning (Feature of e-Learning)

1. ทุกเวลาทุกสถานที่ (Anywhere, Anytime) หมายถึง e-Learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง

2. มัลติมีเดีย (Multimedia) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ประโยชน์จากสื่อประสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคงทนในการจดจำและ/หรือการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

3. การเชื่อมโยง (Non-linear) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรง

4. การโต้ตอบ (Interaction) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ(มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหา หรือกับผู้อื่น

ระดับของสื่อสำหรับ e-Learning<br> การถ่ายทอดเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับด้วยกัน

1. ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online)

2. ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด

3. ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง

m-Learning (mobile learning) คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริงได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่ หรือที่เรียกว่า 3Ps

1. PDAs (Personal Digital Assistant)

2. Smart Phones

3. IPod, เครื่องเล่น MP3 จากค่ายอื่นๆ และเครื่องที่มี ลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน

ข้อดีและข้อด้อยของ M – Learning

ข้อดีของ M – Learning

1. มีความเป็นส่วนตัว และอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้

2. ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เพิ่มความเป็นไปได้ในการเรียนรู้

3. มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น

4. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง

5. สามารถรับข้อมูลที่ไม่มีการระบุชื่อได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่ไม่มั่นใจกล้าแสดงออกมากขึ้น

6. เครื่องประเภทพกพาต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทางการเรียนและมี ความรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง

 ข้อด้อยของ M – Learning

1. ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่าน ข้อมูล

2. การเชื่อมต่อกับเครือข่าย ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจ

3. ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไปไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์แบบพกพาได้

4. ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

5. อัพเกรดยาก และเครื่องบางรุ่นก็มีศักยภาพจำกัด

 6. เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น ทำให้การรับส่งสัญญาณช้าลง

7. ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล

ผลกระทบต่อการศึกษาและการเรียนการสอน

เมื่อมีอุปกรณ์ที่สะดวกต่อการเรียนการสอนเช่นนี้แล้ว จะช่วยส่งผลให้การศึกษา เป็นไปได้โดยง่าย เพราะผู้เรียนสามารถที่จะเข้าถึงความรู้อย่างง่ายดายมากขึ้น ในปัจจุบันนั้นเป็นยุค ที่วัยรุ่น วัยเรียน ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีมาก โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ น้อยคนมากที่จะไม่มี มือถือไว้ใช้ ดังนั้น M-learning จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับการศึกษาในสมัยปัจจุบันมากที่สุด เพื่อเป็น การเสริมความรู้ให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการศึกษา

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลต่อสถานศึกษา สถานศึกษาในยุคปัจจุบันมี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก อิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สภาพแวดล้อมทางการเรียนและสถานการณ์ของการเรียนการสอนแตกต่างไปจากเดิม

1. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

2. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิธีการ

3. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของการเรียน

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยี แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนอง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่ และทุกเวลา

 

ปัญหาและอุปสรรคในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย

จากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการจึงทำให้กระบวนการจัดการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาไม่ว่าจะเป็นสื่อวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆรวมทั้งเทคนิควิธีการและแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

1. ปัญหาที่พบในการใช้นวัตกรรมการศึกษา

2. ปัญหาด้านบุคลากร

3. ปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ

4. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม และสถานที่การใช้นวัตกรรม

5. ปัญหาด้านสภาพการเรียนการสอน

6. ปัญหาด้านการวัดผลและประเมินผล

ปัญหา อุปสรรค การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา

1. ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา

2. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

3. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา

4. ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

หมายเลขบันทึก: 557207เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2013 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2013 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท