การเตรียมพร้อม... เพื่อการ.. จากไปอย่างสงบ


           คุณ สมชาย  ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย มีอาการเหนื่อยหอบมากทำให้ผู้ป่วยต้องออกจากงาน    สิ่งที่ผู้ป่วยยึดเหนี่ยวทำให้มีพลังและกำลังใจ คือ ความรักของภรรยาและน้องชาย ทำให้เป็นห่วงผู้ป่วยเพราะในระยะสุดท้ายของชีวิตจะยิ่งทำให้ ผู้ป่วยทุรนทุรายเพราะความห่วงในคนที่ตนรัก จึงพูดคุยกับผู้ป่วยตลอดถึงสิ่งที่จะเป็นหลักยึดของจิตเมื่อเราเขาสู่อาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นแต่ทุกครั้งที่พบกันผู้ป่วยก็ปฏิเสธตลอดและทุกครั้งที่พบกันอาการเหนื่อยหอบก็ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงได้สอนให้   ผู้ป่วยรู้ตามลมหายใจ   ( จัดให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่ชอบและรู้สึกสบาย วางมืือไว้บนตักหรือข้างร่างกายที่รู้สึกผ่อนคลาย ในสมองให้ปล่อยวางทุกสิ่ง หลับตาลงเบาๆ หายใจเข้า......... รู้ หายใจออก .......รู้) ทุกครั้งที่พบกับ ผู้ป่วยก็มีการทบทวนและให้  ผู้ป่วยทำให้ดู แนะนำให้ผู้ป่วยทดลองปฏิบัติ ช่วงนอนไม่หลับ หรือ เหนื่อยหลังทำกิจกรรม

         และแล้ววันนั้นก็มาถึง ได้รับการส่งเวรจาก น้องพยาบาล หอผู้ป่วย    อายุรกรรมชาย มีผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่เหนื่อยหอบมากใส่ท่อช่วยหายใจ ขอย้ายมาใส่เครื่องช่วยหัวใจในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยดิ้นหายใจต้านเครื่องช่วยหายใจตลอด เมื่อเข้าไปรับ ผู้ป่วยจึงทักทาย     “คุณสมชาย จำกันได้ไหมค่ะ ถ้าจำได้นอนนิ่งๆนะค่ะ เดียวพยาบาลจะช่วยดูแลทุกอย่างให้ค่ะ ” หลังจากนั้นก็จัดท่านอนห่มผ้า จับมือและยิ้ม ให้กำลังใจผู้ป่วย สักพักผู้ป่วยก็นอนนิ่งไม่ดิ้นน้องพยาบาลที่มาส่งผู้ป่วยบอกว่าพี่ตอนอยู่ข้างบนดิ้นมากเลยหายใจต้านเครื่องช่วยหายใจตลอด ไม่ให้ความร่วมมือเลย เมื่อปรับเครื่องช่วยหายใจ ปรับยาและ เครื่องติดตามต่างๆเรียบร้อยก็อนุญาตให้ญาติคือภรรยาและน้องชายเขาเยี่ยมเมื่อ ญาติเข้ามา ผู้ป่วยก็เริ่มดิ้นเพื่อต้องการสื่อสารกับญาติ จึงเอากระดาษพร้อมปากกามาให้ผู้ป่วยเขียนสื่อสารกับญาติเมื่อเห็นว่าผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้โดยการเขียนแล้วก็ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่กับญาติ มองดูผู้ป่วยห่างๆ

         ผ่านไป 2 เวร อาการผู้ป่วยก็ทรุดลงเรื่อย ๆ จึงจัดให้ภรรยาและน้องชายมาอยู่ด้วยกับ    ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย น้องชายเอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระกรอบทองใส่มือให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยก็มอบให้ภรรยา ทราบที่หลังว่าผู้ป่วยซื้อเตรียมให้ภรรยา โดยให้น้องชายเป็นผู้จัดการให้ภรรยาร้องไห้ในสิ่งที่ผู้ป่วยทำเช่นนั้น จึงกั้นม่านให้ภรรยาและผู้ป่วยอยู่่ด้วยกัน ให้ ผู้ป่วยน้องชายและภรรยากล่าว ขออโหสิกรรมกันและกันหลังจากนั้นให้กอดให้กำลังใจผู้ป่วยและจัดที่นั่งให้ ภรรยาและน้องชายนั่งจับมือผู้ป่วยอยู่คนละข้างปล่อยให้อยู่ด้วยกันสักพักเมื่อเห็นความดันโลหิตผู้ป่วยเริ่มลดลง จึงเข้าไปหาผู้ป่วยและบอกให้ผู้ป่วยรับทราบว่าน้องชายและภรรยาอยู่ข้างๆตลอดไม่ต้องกลัวเมื่อมีอาการรบกวนอะไรทางด้านร่างกายให้ แค่รู้นะ ลองนะค่ะขณะเดียวกันก็ให้รู้แค่ ลมหายใจ อย่างที่พยาบาลเคยสอน (ขณะนั้นจับมือทั้ง 2 ข้าง  ผู้ป่วยมาประสานกันไว้ที่หน้าท้อง) ให้ตามรับรู้แต่ลมหายใจนะ หายใจเข้า..........หายใจออก...หายใจเข้า....หายใจออก.........พูด ซ้ำๆ หยุดเป็นช่วงๆ ประมาณ 3 นาที) แล้วก็เปลี่ยนให้เป็นภรรยาทำแทนเราโดยตอนแรกให้ภรรยาจับมือก่อนเราเป็นคนออกเสียงหลังจากนั้นให้ภรรยาออกเสียงแทน ประมาณ 20 นาที ผู้ป่วยก็จากไปอย่างสงบโดยไม่ดิ้นทุรนทุราย

หมายเลขบันทึก: 557027เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2013 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วประทับใจในความสัมพันธ์ของคำว่า "มนุษยสัมพันธ์" เชิงลึก มิใช่คำว่า หน้าที่ การงานหรือเงินเดือน แต่สิ่งที่จะช่วยมนุษย์ที่อ่อนแอ ในวาระสุดท้าย..คือ การเดินทางที่สงบไร้ความยึดมั่นถือมั่น ตามหลักพุทธวิธี ..สักวันเราจะเขียนประเด็นนี้ให้กระจ่าง เนื่องจาก ยังมีความประทับใจพยาบาลที่ รพ. สมเด็จพระยุพราช จอมบึง เมื่อผู้เขียนป่วย นอนอยู่เตียง แล้วเฝ้ามองพยาบาลดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้..มันทำให้จิตที่เราไม่ได้ป่วยคิดถึง "คุณค่าเพศแม่ที่แท้จริง" คือ การดูแลผู้ป่วยเสมือนบุตรของตน นี่คือ คุณสมบัติความเมตตาของ "พระโพธิสัตว์กวนอิม" แท้ๆ

...ชื่นชม และประทับใจมากค่ะ

ขอขอบพระคุณสำหรับกำลังใจ จาก ท่าน ส.รตนภักดิ์ และ ดร.พจนา แย้มนัยนา

ท้า: ประเด็นท้าทาย ปัญหา

- การสื่อสารขณะผู้ป่วยมีอาการหนัก ขัดขืนการรักษา

- ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ สื่อสารด้วยการพูดไม่ได้

ทาง: แนวทางปฏิบัติ

- การแนะนำตัว

- การใช้กระดาษและปากกาเพื่อการสื่อสาร

- การกล่าวนำให้ผู้ป่วยจัดการกิจสุดท้าย

- การกล่าวนำทางผู้ป่วย

- การสอนและเสริมพลังผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย

ขอบคุณมากครับ ขออนุญาตเอาไปรวบรวมไว้ ที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท