อำนาจอธิปไตย...การเลือกตั้ง...นักการเมือง…?


 

          เชื่อว่าทุกคนไม่อยากให้ประเทศมีการ ‘คอรัปชั่น’

          หากเอา ‘คอรัปชั่น’ เป็นตัวตั้ง...ตัวแปรเด่นชัดที่ผ่านมา คือ ‘นักการเมือง’

          หากได้นักการเมืองที่ไม่ดี (เลว)...เข้ามาเพื่อแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจโดยการคอรัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ ...โดยใช้เสียงข้างมากลากไป...ประเทศไทยก็คง...

          ปัจจุบันกระแสของการ ‘ปฏิรูปประเทศ’ เรื่องใหญ่อีกเรื่อง คือ การคอรัปชั่น...ต้องยอมรับความจริงว่าที่ผ่านมามีการคอรัปชั่นทุกยุคทุกสมัย...และวิวัฒนาการการคอรัปชั่นก็พัฒนาตามความเลวของผู้กุมอำนาจ...

 

         จริง ๆ แล้วทุกคนอยากได้ ‘นักการเมืองที่ดี’ เข้าสู่สภา...นั่นคือ อยากได้ที่เหตุ...เพราะหากเหตุดี...ผล (การบริหารประเทศ) ก็คงจะดีไปด้วย...

         แต่ก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า...การเลือกตั้งในไทยสุดท้ายทุน (เงิน)...เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตลอดมาในหลาย ๆ สมัย...ไม่ว่าจะมีกฎหมายการเลือกตั้งที่ดียังงัย...สุดท้ายปัจจัยที่ทะลุทะลวงเกราะ (กฎหมาย) ในเบื้องต้นของการเลือกตั้งมาได้มีหลากหลาย...ทั้งเงิน...อำนาจ...อิทธิพล...สุดท้ายก็จะได้พวกเหล่านี้เข้ามาอีก...

    

          ในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นของประชาชน และประชาชนได้มอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ผู้แทนผ่านกระบวนการและวิธีการที่เรียกว่า “การเลือกตั้ง”  (Election) เพื่อให้ตัวแทนดังกล่าวเข้าไปบริหารจัดการประเทศเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตทุกด้านของคนในสังคมให้สูงขึ้น การที่ประชาชนโดยส่วนใหญ่มอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ มิใช่ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมอบสิทธิ์โดยผูกขาดให้ผู้แทนไปใช้อำนาจโดยใจชอบ และแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ดังนั้นเมื่อใดที่ผู้แทนในการใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวนั้น มีความคิดที่จะผูกขาดการใช้อำนาจไปในทางบริหารจัดการประเทศเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องเป็นที่ตั้งแล้ว จึงถูกต่อต้านจากประชาชนผู้มอบอำนาจให้ดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะถูกพัฒนามาตามยุคสมัย เพื่อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้แทนทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ ในขณะเดียวกันผู้แทนที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนก็มีพัฒนาการทางด้านการใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องอย่างแยบยลนัก…ทั้งวางกับดักในระบบตรวจสอบของรัฐสภาให้เป็นอัมพาตใช้ขับเคลื่อนไม่ได้...รวมทั้งวางกับดักในการให้ประชาชนเสพติดประชานิยมปนเปื้อนที่เจือปนไปด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองแบบมีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝง...สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพัฒนาการทางประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในยุคปัจจุบัน จนเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในทางความคิดที่ฝ่ายหนึ่งมองว่าตัวเองมีความชอบธรรมเพราะมาตามระบอบประชาธิปไตยโดยผ่านการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก...ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่ต่อต้านก็มองว่าอำนาจที่ได้มานั้น (มีการซื้อเสียง) และใช้ไป (การบริหารจัดการประเทศ โดยเอื้อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง) ไม่ชอบธรรมขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม...

 

          การที่เรามอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ผู้แทนผ่านกระบวนการเลือกตั้ง...

           - ในฐานะประชาชนที่มอบอำนาจก็คาดหวังให้ผู้แทนทำประโยชน์ต่อส่วนรวม...ไม่คอรัปชั่น...

           - ในฐานะ ‘ผู้แทน’ ก็สัญญา (ประชาคม) กับประชาชนว่าจะทำประโยชน์...ไม่คอรัปชั่น...(ไม่เห็นมีใครตอนหาเสียงว่าจะคอรัปชั่นแม้นิดหน่อยซักคน)...

       

           หากมองที่ ‘ผู้แทน’ ที่รับอาสาเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง...นั่นย่อมแสดงว่าบุคคลเหล่านั้นพร้อมที่จะเสียสละส่วนตัวเพื่อทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมใช่หรือไม่...?

          - หาก ‘ใช่’ ก็สมควรที่จะบังคับใช้ ‘กฎหมายความผิดทางคอรัปชั่น’ ให้เด็ดขาดและรุนแรงไปเลย...เพราะพวกคุณ (ผู้สมัครรับเลือกตั้ง) ขันอาสามาทำงานรับใช้ประชาชนเอง...นั่นย่อมแสดงว่าพวกคุณพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่ หวังเข้าไปกอบโกยประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง…

          - หากว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งมีความตั้งใจดีที่จะรับใช้ประชาชน...ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ...จะกลัวไปทำไมกับการบังคับใช้กฎหมายที่ลงโทษอย่างรุนแรงทางความผิดคอรัปชั่น...หากพวกคุณกลัวนั่นก็ย่อมแสดงว่าพวกคุณมีความคิดเข้าเข้าไปกอบโกยจึงได้กลัว...หากมีความบริสุทธิ์ใจจะกลัวไปทำไม...?

 

            สิ่งที่อยากเห็น...ก็คือ การบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาดและรุนแรงสำหรับ  ‘การคอรัปชั่น’ ซึ่งในทางปฏิบัติกฎหมายก็มีรองรับอยู่แล้วทั้งจำคุกตั้งแต่ 20 ปีหรือจำคุกตลอดชีวิต ...จนถึงประหารชีวิต...แต่การบังคับใช้ยังหย่อนยานรวมทั้งไม่โปร่งใส...ซึ่งนักกฎหมายก็ต้องไปหาวิธีการแก้ไขข้อด้อยดังกล่าวต่อไป...ทั้งการตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต เพิ่มอายุความเป็นกรณีพิเศษ ฯลฯ...เพราะหากทำอย่างนี้ได้ก็เท่ากับสังคมได้ไล่คนเลวออกจากระบบเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับคนดีได้มีที่ยืน...

           ดังนั้นหากใครที่ต้องการจะอาสามาเป็นผู้แทนเพื่อเข้าไปหวังกอบโกย...ก็จะได้ฉุกคิดถึงความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงที่พึงมีในภายภาคหน้า...

 

          อาจจะมีคำถามว่า :..?

           - กฎหมายรุนแรงอย่างนี้แล้วใครจะกล้าอาสาเข้ามา...? ก็ต้องบอกว่า...คนที่ตั้งใจดีๆ เพื่อประเทศ...เชื่อว่ายังมีอีกเยอะไม่ต้องห่วงครับ...คิดว่าพวกเขาคงไม่กลัวเพราะไม่คิดจะทำผิดกฎหมาย...ในเมื่อไม่คิดจะทำผิดกฎหมายแล้วจะกลัวไปทำไม...คนที่กลัวก็คือ...คนที่คิดจะทำผิดกฎหมายนั่นต่างหาก...

           - แล้วไม่กลัวกลั่นแกล้งจากพวกตรงข้ามกันเหรอ...ประเด็นนี้คิดว่ามันก็คล้าย ๆ กับประเด็นแรก...ที่สำคัญปัจจุบันประชาชนตื่นตัวเรื่องนี้มาก หากมีการกลั่นแกล้งคนดีพลังประชาชนก็จะเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่คอยเป็นภูมิคุ้มกันให้...และเพิ่มเติมนิดนึงก็คือ...อาจจะมีกฎหมายเอาผิดกับคนที่กลั่นแกล้งหรือสร้างหลักฐานเท็จให้รุนแรงเท่าหรือมากว่าไปเลยก็ได้...อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับนักกฎหมาย...

           สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ : จะบังคับใช้กฎหมายความผิดทาง ‘คอรัปชั่น’ ให้เด็ดขาดและรุนแรงรวมทั้งโปร่งใสได้อย่างไร...?...นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรม...เพื่อให้นักการเมืองที่ชั่วหวาดกลัวในกฎหมาย...

 

       คงแก้ไขเหตุได้ยาก : การเลือกตั้งที่หาคนดีไม่ได้ทั้งหมด...เพราะเหตุปัจจัยดังที่กล่าวมาทั้งเงิน...อำนาจ...อิทธิพล...ที่ครอบงำอยู่ในสังคมไทย...

       เมื่อเหตุแก้ได้ยาก : ก็ต้องมาแก้ที่ผล (ผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้ามา)...โดยการบังคับใช้กติกาทางกฎหมายที่ลงโทษการคอรัปชั่นให้เด็ดขาดและรุนแรง...เพราะพวกคุณขันอาสาว่าจะเข้ามาทำประโยชน์ให้ประเทศชาติไม่ใช่ขันอาสาเข้ามาคอรัปชั่น...เพราะหากรับไม่ได้ในการบังคับใช้กฎหมายที่รุนแรง...นั่นย่อมแสดวงว่ามีนัยแฝง ซ่อนเร้นของการขันอาสาเข้ามา...

      ...เฮ้อ...

 

หมายเลขบันทึก: 556787เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีคำโบราณ..ที่..ใช้กับผู้..ทรยศ...ว่า..ตัดหัว..เจ็ดชั่วโคตร...(ตอนเด็กๆ..ได้ยิน..คำนี้..ก็งงหัวจน..หัวหดเป็นเต่าเลย....อิอิ)..เป็นเรื่องสมัย..ที่ยังไม่มี..ธงชาติ..น่ะอ้ะะ..

มีคำโบราณ..ที่..ใช้กับผู้..ทรยศ...ว่า..ตัดหัว..เจ็ดชั่วโคตร...(ตอนเด็กๆ..ได้ยิน..คำนี้..ก็งงหัวจน..หัวหดเป็นเต่าเลย....อิอิ)..เป็นเรื่องสมัย..ที่ยังไม่มี..ธงชาติ..น่ะอ้ะะ.

ขอบคุณมากครับ คุณยายธี สำหรับความเห็น...เอาเป็นสมัยนี้แค่เฉพาะคนทำผิดก็พอ...แต่ขอให้ทำจริงครับ...:)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท