ผลของการใช้ Facebook ในการให้คำปรึกษานักศึกษาในการเรียนรายวิชาที่มีการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการวิจัย


วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง ผลของการใช้ Facebook ในการให้คำปรึกษานักศึกษาในการเรียนรายวิชาที่มีการบูรณาการการเรียนการสอน

การบริการวิชาการและการวิจัย:วิชาประเด็นแนวโน้มทางการพยาบาล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพยวรรณ นิลทยา

คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556

 

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยเรื่อง ผลการให้คำปรึกษาโดยใช้ Facebook ในรายวิชาทีมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการและการวิจัย รายวิชาประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาลมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลการใช้ Facebook ในการให้คำปรึกษาในรายวิชาทีมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการและการวิจัย และเพื่อประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้ Facebook ในการให้คำปรึกษาในรายวิชาทีมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการและการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง และมีประสบการณ์ การใช้บริการ Facebook มากกว่า 1 ปี ร้อยละ 100 จำนวนนักศึกษาที่ขอคำปรึกษาผ่าน Facebook มากที่สุดในการบริการวิชาการ และ การวิจัย คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนนักศึกษาที่ส่งงานตรงเวลาผ่านFacebook มากที่สุดในการบริการวิชาการ และ การวิจัย คิดเป็นร้อยละ 100  ค่าเฉลี่ย จำนวนครั้งของการเข้าทำกิจกรรมรายบุคคลใน Facebook มากที่สุดในการวิจัยคิดเป็น 7-8 ครั้งต่อกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้รายบุคคลในกิจกรรมผ่านFacebookมากที่สุดในการวิจัยคิดเป็น 3-4 ชั่วโมงต่อกิจกรรม ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการให้คำปรึกษาโดยใช้ Facebook ในรายวิชาทีมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการและการวิจัย พบว่าในการเรียนการสอน เป็นการใช้สื่อออนไลน์ในการปรึกษาและส่งงานทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและแก้ไขงานได้ทันมากที่สุดร้อยละ100

 

หมายเลขบันทึก: 555931เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท