ผลของการปฏิบัติสามารถกำหนดความจริงได้หรือไม่ ?


ผลของการปฏิบัติสามารถกำหนดความจริงได้หรือไม่ ?

*********

ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ในความหมายปฏิบัตินิยม คือ การปฏิบัติ หรือ ภาคปฏิบัติ ที่เอนเอียงในด้านประจักษ์นิยมแต่ค่อนข้างที่จะคัดค้านด้านเหตุผลนิยม เนื่องจากมุมมองของปฏิบัตินิยมมองว่าการรู้โดยอาศัยปัญญาหรือเหตุผลนั้นไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงที่จะทำให้บุคคลเข้าใจลักษณะที่แท้จริงของประสบการณ์ได้ เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ  อีกประเด็นหนึ่งปฏิบัตินิยมปฏิเสธด้านอภิปรัชญาที่มีลักษณะหยุดนิ่ง คงที่ เพราะปัญญาเป็นพื้นฐานของจิต เพราะปฏิบัตินิยมยืนยันว่าจิตเป็นเพียงกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา   ในด้านลักษณะหน้าที่ของความรู้ ปฏิบัตินิยมถือว่าความรู้ทุกชนิดเกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย ดังนั้นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ผ่านการเลือกนำไปพิสูจน์ทดลองจนเห็นผล เมื่อกล่าวถึงทัศนะแห่งความเป็นจริง ปฏิบัตินิยมจะเน้นผลสัมฤทธิ์มากกว่าอภิปรัชญา ข้อเสนอความจริงที่ว่าความจริงเป็นสิ่งที่บุคคลสามารถรับรู้ได้โดยตรงเพราะมีขอบเขตอยู่ที่ประสบการณ์ โดยอาศัยประสาทสัมผัสที่มีความสัมพันธ์กันแล้วทำให้เกิดสิ่งใหม่  William James ได้ยืนยันว่าความจริงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในจิต อาศัยจิตเกิดขึ้น ทำหน้าที่รับรู้แล้วแปลตามความหมาย เปรียบเทียบกับรูปสามเหลี่ยมซ้อน

ในมุมมองจากภาพบางคนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน บางคนจะเห็นเป็นดวงดาว หรือบางคนจะเห็นเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่ากัน 6 รูปเป็นต้น ขึ้นอยู่กับการแปลภาพจากประสบการณ์และแสดงออกมาให้เห็นในมุมมองที่แตกต่างกัน แต่การแสดงออกนี้ก็คือความเป็นจริงทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าปฏิบัตินิยมเป็นความคิดที่เรามีอยู่ ทำให้เกิดความเข้าใจ คาดการณ์ได้ เป็นความแท้จริงอยู่ภายใต้ขอบเขตของประสบการณ์ปกติของแต่ละคน โดยถือเอาความสนใจและประโยชน์เป็นหลักไม่ใช่จากความเป็นจริงเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง และตัวมนุษย์เองเป็นผู้สร้างความจริงขึ้นมาและไม่มีความจริงแท้สูงสุด (Plastic) แต่มีความแตกต่างขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์สุดท้าย ความพอใจที่เกิดตามมาเมื่อเรานำความจริงสู่ภาคปฏิบัติ[1]

พุทธปรัชญาในฐานะปฏิบัตินิยม

(ปรัชญาปฏิบัตินิยมมิได้สอดคล้องกับพุทธปรัชญา หรือปฏิบัตินิยมแบบพุทธปรัชญามีพื้นฐานและแตกต่างกันมากกับปฏิบัตินิยมของพวกฝรั่ง)[2]

ปฏิบัตินิยมเป็นลัทธิ ซึ่งมีมาในยุโรปนานแล้ว แต่เพิ่งจะได้รับการประกาศอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1878 โดยนักคิดชาวอเมริกันชื่อ ชาร์ลส์ เอส. เพียร์ส (Charles S. Peirce) ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1839- 1914 เป็นลัทธิปรัชญาซึ่งมีแก่นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของความหมายและความจริง กล่าวคือ

ข้อความใดๆ จะมีความหมายอย่างไร ขึ้นอยู่กับผลทางปฏิบัติของข้อความนั้นๆ ดังนั้น ข้อความ 2 ข้อความที่มีผลในทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน ก็ต้องถือว่ามีความหมายเหมือนกัน

ข้อความใดที่นำไปใช้ได้ผลจริงตามที่คาดหมาย ข้อความนั้นถือว่าจริง

ชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล เชื่อมั่นในอำนาจของดวงดาว เชื่อฤกษ์ยาม เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ และพิธีกรรมต่างๆ พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธความเชื่อเหล่านั้น โดยตรัสไว้ว่า สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด

เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี

ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล

สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำในแม่น้ำบางสายหรือท่าน้ำบางแห่ง นิยมลงอาบน้ำในแม่น้ำหรือท่าน้ำนั้น เพราะเชื่อว่าตนจะเป็นผู้บริสุทธิ์ พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธความเชื่อเหล่านั้น ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า

คนพาลมีกรรมชั่ว แม้จะไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี เป็นประจำ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้จะพึงชำระคนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วนั้น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์

เป็นฤกษ์ดีทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ อุโบสถเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ วัตรปฏิบัติสมบูรณ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ มีกรรมสะอาดพราหมณ์ ท่านจงอาบน้ำในศาสนาของเรานี้เถิด ท่านจงทำความปลอดภัยในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่พูดเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ ท่านจะไปยังท่าน้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำจากท่าน้ำคยา จักมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน

คำสอนของพุทธองค์มีธรรมชาติแห่งความจริงทางปฏิบัติผู้จะบรรลุสัจธรรมในพุทธปรัชญาได้ จะต้องลงมือปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ มรรคมีองค์ 8 เพราะคำสอนของพระพุทธองค์เป็นความจริงสามารถพิสูจน์ได้ทุกเมื่อ ไม่ติดอยู่กับ กาละ และ เทศะ อันบุคคลย่อมสามารถน้อมนำมาปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และพุทธปรัชญาแสดงกระบวนการของพุทธธรรม 3 ประการ คือ ปริยัติ คือทฤษฎี ปฏิบัติ คือการลงมือพิสูจน์ และปฏิเวธ คือการบรรลุความสำเร็จ ดังนั้นพุทธองค์ จึงทรงแสดงหลักอริยสัจ 4 กฏแห่งกรรม ปฏิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์ เป็นต้น พร้อมกันนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธ ความศักดิ์สิทธิ์ของฤกษ์ยาม มายาศาสตร์ เป็นต้น[3]

*********

 

 

 

[1] http://philosophysee.blogspot.com/2012/01/6-pragmatism.html

[2] http://www.gotoknow.org/posts/70072

[3] http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-/the_educational_issues_in_buddhist_philosophy/01.html

 

คำสำคัญ (Tags): #ฆ.ระฆัง
หมายเลขบันทึก: 555694เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท