หินแร่ภูเชาไฟ ใช้เป็นตู้เย็นเก็บอาหารให้พืช


แร่ธาตุและสารอาหารในดินนั้น ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง  โดยเฉพาะแร่ธาตุและสารอาหารของพืชอย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล คลอรีน ฯลฯ ซึ่งก็จัดว่าเป็นแร่ธาตุสารอาหารที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ  เมื่อเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ก็ย่อมต้องใช้แล้วหมดไป ใช้แล้วหมดไปก็ทำให้ไม่เพียงพอต่อการที่พืชจะดูดกินนำไปใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตในระยะยาว ทำให้สภาพต้นแคระแกร็น ชะงัก หยุดการเจริญเติบโตทั้งกิ่ง ก้าน ใบ และลุกลามไปยังผลผลิตที่ก็ย่อมต้องเล็ก ลด น้อยถอยลงไปอีกเป็นธรรมดา ทำให้สูญเสียโอกาสในการเก็บผลิตผลไปจำหน่าย เพียงแค่การดูแลใส่ปุ๋ยทำอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของพืช

ดินที่มีมีโครงสร้างไม่ดีอย่างดินทราย ดินร่วนจัด ดินที่ขาดแคลนอินทรียวัตถุ ขาดแคลนสารอาหาร จะมีความสามารถในการกักเก็บสารอาหารได้ค่อนข้างจำกัด ทำให้เมื่อกระแสน้ำพัดพามาจากที่ต่างๆ ก็ไม่สามารถที่จะกักเก็บแร่ธาตุสาอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชไว้ได้ ทำให้ดินก็จะมีโครงสร้างที่แย่อยู่เช่นนั้นเกือบจะตลอดไป เนื่องด้วยขาดความสามารถในการเหนี่ยวนำ ขาดความสามารถในการกักเก็บ ดินที่จะมีค่าความสามารถในการกักเก็บได้ดีนั้นจะต้องเป็นดินที่ค่อนข้างเหนียวแน่น จะมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุประมาณ 20 -30 เท่า ซึ่งก็ยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับหินแร่ภูเขาไฟ  ซึ่งมีค่าซี.อี.ซี. (Cation Exchange Capacity) มากถึง 180 – 220 meq/100g. อีกทั้งดินเหนียวนั้นมีการระบายถ่ายเทน้ำที่ค่อนข้างแย่ จึงทำให้พืชที่ปลูกในดินเหนียวจัดมักจะพบกับปัญหารากเน่าโคนเน่าตายเสียเป็นส่วนใหญ่

การที่จะปรับปรุงบำรุงดินให้มีความสามารถในการกักเก็บอาหารให้แก่พืชได้ดีนั้น ควรจะต้องปรับปรุงด้วยการเติมหินแร่ภูเขาไฟ อย่าง พูมิช (Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (PumichSulpher) เพื่อให้เนื้อดินมีคุณสมบัติที่มีความโปร่งพรุนเหมือนกับหินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนเป็นล้านๆ องศาจากใต้พื้นภิภพ (Magma) เมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทระเบิดโพร่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ เจอกับสภาพบรรยากาศของเปลือกโลกที่บางเบากว่าใต้พื้นภิภพทำให้เกิดการพองขยายตัวเดือดพล่านเหมือนกับการคั่วป๊อปคอร์น และเกิดการแทนที่ระหว่างอากาศและก๊าซทำให้เมื่อเย็นตัวลงเกิดรูพรุนมหาศาลมากมาก ทำให้มีคุณสมบัติในการกักเก็บแร่ธาตุสารอาหารอีกทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆในดิน (Housing Bacteria)  โครงสร้างที่โปร่งพรุนเหล่านี้นี่เองจึงทำให้ดินที่มีหินแร่ภูเขาไฟอยู่ด้วยจะมีความสามารถคล้ายตู้เย็นกักเก็บอาหารไว้ให้พืชได้กินอย่างประหยัด ยาวนาน ไม่สูญเสียไปกับสายลม อากาศ แสงแดด โดยง่าย หิวก็กิน อิ่มก็หยุด ไม่ปล่อยให้พืชกินอย่างามูมมาม ช่วยลดการเฝือใบ อีกทั้งมีแร่ธาตุซิลิก้า (Sio2) ที่สามารถละลายน้ำได้มากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคแมลง เพลี้ย หนอน รา และไร ได้ดี

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555669เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท