จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

พัฒนาทักษะการระดับความคิดเห็นและการจดบันทึกแบบ mind map


ผมเริ่มสอนด้วยวิธีการใหม่สำหรับวิชาการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาได้สักสามสัปดาห์ โดยกระบวนการสอนที่เน้นการพูดคุยซักถามของนักศึกษากันเองในชั้นเรียน โดยนักศึกษาจะทำการศึกษาค้นคว้ามาและนำเสนอ โดยเงื่อนไขคือ นำเสนอด้วยสไลด์แผ่นเดียว เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นสามารถซักถามได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้บรรยายๆ เสร็จก่อน

แต่จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาพบว่า การซักถามพูดคุยทำให้เกิดข้อสงสัยและการคุยในประเด็นที่ลึกซึ้ง นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง แต่ก็พบว่าเกือบจะไม่มีใครจดบันทึกระหว่างที่มีการสนทนาเลย ในวันนี้ (04-12-56) ผมเลยปรับกิจกรรมการสอนใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ครับ

1) นั่งเรียนกันแบบวงกลม และให้ทุกคนทำเสนอความรู้ที่ไปค้นคว้ามาเพียงหนึ่งประเด็นแบบสั้น (หัวข้อในการเรียนวันนี้คือ “อะไรที่จะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวหากมีการนำแนวคิด teach less, learn more มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในประเทศไทย”)

2) หลังจากได้ฟังกันครบถ้วนทุกความเห็น ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนประเด็นความเห็นของตนเองในกระดาษ ประเด็นละแผ่น (เล็กๆ) แล้วโยนไปรวมกันในกลางวง

3) จากนั้นให้นักศึกษาศึกษาแยกแยะทุกความเห็นของเพื่อนร่วมชั้นจากกระดาษกลางวง ซึ่งปรากฏว่า กระบวนการต่อจากนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติครับ นักศึกษาเขาหาแนวทางในการทำงานของเขาเอง โดยครั้งแรกต่างคนจากเก็บ และแยกประเด็น

(เริ่มการเข้าไปเก็บกระดาษความเห็นครับ จากนั้นก็อ่านและแยกแยะประเด็น)

4) จากนั้นนักศึกษาเริ่มการแยกแยะประเด็นข้อเสนอครับ

5) จากนั้นนักศึกษาเกิดกลุ่มการคุยโดยธรรมชาติครับ ขึ้นอยู่ประเด็นที่ตนเองสนใจจะเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ

6) เมื่อเกิดกลุ่มและพูดคุยภายในกลุ่ม ผมได้เพิ่มประเด็นการคุยไปอีกหนึ่งประเด็นคือ จากปัจจัยข้างต้นในแต่ละประเด็น ให้นักศึกษาเสนอแนวทางการแก้ไขด้วย จุดนี้น่าสนใจครับ คือ เกิดการแลกเปลี่ยนประเด็นระหว่างกลุ่ม มีการจัดบันทึกรายบุคคลไปพร้อมๆ กับการแลกเปลี่ยน

7) จากนั้นนักศึกษาสรุปเป็น mind map ครับ โดยเอาประเด็นที่เพื่อนเสนอร่วมกับการข้อเสนอใหม่ของกลุ่ม

8) นักศึกษาเอาข้อมูลทุกกลุ่มมารวมกันครับ แล้วสรุปประเด็น โดยให้ทุกคนนำเสนอความเห็นของตนเองต่อปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ตนเองคิดว่าสำคัญสุด ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการของการตรวจสอบความเห็นของนักศึกษาครับ ดูการสะท้อนคิดว่า เขามีรูปแบบการคิดอย่างไร นำเสนออย่างไร

จบการสอนโดยที่ทุกคนได้พูดได้คุย และนำเสนอความเห็นของตนเองต่อกลุ่มใหญ่ถึงสองครั้ง มีการบันทึกความรู้ของตนเอง เห็นกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ต้องอาศัยการบรรยายจากอาจารย์เพียงอย่างเดียว

1476268_10202807084883810_2107364780_n (1)

หมายเลขบันทึก: 555429เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบการสอนแบบนี้

ผมสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ทำแบบนี้ด้วย

เด็กเล็กทำแค่ของครัวของฉัน

ถ้าในระดับประถมปีที่ 5-6 ทำเรื่องชุมชนของฉัน สถานที่สำคัญในชุมชน

ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องชุมชนที่ตนเองอยู่ เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว

เช่นศาลประจำหมู่บ้าน ภูมิปัญญาในชุมชนชื่ออะไร ในป่าชุมชนมีอะไรบ้าง

นักเรียนจะเขียนบรรยายหลังจากทำแผนทีความคิดเสร็จแล้วครับ

รู้สึกได้ว่านักศึกษาอภิปรายกันครบรสและจดบันทึกได้ดีขึ้นด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท