“ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)” ครั้งที่ ๔ (๖)


 

เมื่อจบการนำเสนอของห้องภูมิปัญญาภาษาไทย และห้องคณิตศาสตร์แล้ว คุณครูเข้ากลุ่มเพื่อวางเป้าหมายจากการเข้าร่วมฟังการนำเสนอ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในครั้งนี้ รวม ๓ คำถามด้วยกัน

 

คำถามที่ ๑

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

 

คำถามที่ ๒

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

 

คำถามที่ ๓

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

 

กลุ่มครูคณิตศาสตร์

 สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • ทำให้ครูแม่นยำในเนื้อหา  ครูต้องหาข้อมูล และนำความเข้าใจในเรื่องที่จะสอนมาแลกเปลี่ยนกันเรียนรู้กันในกลุ่ม
  • ทำแผนกระดานละเอียด ที่ช่วยให้เห็นการไต่ลำดับความรู้ทีละขั้น
  • ในการสร้างโจทย์สถานการณ์ จะขอให้ครูวิชาอื่นมาช่วยอ่านว่าเข้าใจไหม
  • ฝึกการตั้งคำถามย่อยๆ
  • ทำสื่อช่วยสร้างความเข้าใจ  
  • ให้ความสำคัญกับการบันทึกความรู้ลงในสมุด โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ ๒ ควรมีสารบัญที่ค้นคว้าได้ โดยให้นักเรียนใส่หัวเรื่อง ใส่เลขหน้าเอง
  • เนื้อหาในสมุดมีทั้งบันทึกการสรุปความรู้ตนเอง และความรู้ของส่วนห้อง
  • ฝึกการบันทึกให้เป็นระบบระเบียบ

 

 ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • มีการทำแผนละเอียด ของครูช่วงชั้น ๑ ตั้งเป้าว่าจะเขียนแผนกระดานให้ละเอียดขึ้น ส่วนของครูช่วงชั้น ๒ มีแผนกระดานแล้ว แต่ยังทำเสร็จไม่ตรงเวลาที่กำหนด จึงตั้งเป้าว่าจะทำให้เสร็จให้ทันเวลา
  • ช่วงชั้นที่ ๒ มีการใช้สมุดเป็นการค้นหาร่องรอยการเรียนรู้ของผู้เรียน จะได้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และซ่อมเสริมได้ทันเวลา
  • ช่วงชั้นที่ ๑ มีการบันทึกความคิดเพิ่มเข้าไปสมุดเพิ่มเติมจากการบันทึกเป็นกิจกรรม และใบงาน  

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูมีการหาคำนิยามของความหมายของหัวเรื่องที่จะสอนมาแลกเปลี่ยนกันในวงประชุม
  • สมุดนักเรียนมีการจดบันทึกความรู้ที่เป็นระบบมากขึ้น

 

 

กลุ่มครูภูมิปัญญาภาษาไทย

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • ครูมีความเข้าใจเรื่องที่จะสอน และมีการลำดับกระบวนการเรียนการสอนที่ชัดเจน
  • คิดแผนการสอนให้สอดคล้องกับความรู้สะสมของเด็ก
  • ให้ซึมซับภาษาโดยการสะสมคลังคำ
  • ตั้งเป้าหมายในการสอนแต่ละครั้งให้ชัดเจน
  • ใส่มิติทางจิตวิญญาณให้ภูมิใจในภาษาและภูมิปัญญาไทย
  • ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้
  • การเปิดโจทย์ให้ชัดเจนตั้งแต่แรกเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนไปได้พร้อมๆ กัน
  • ไม่ขวางกั้นความคิด และจินตนาการ เพราะเป็นการขวางกระบวนการเรียนรู้

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • ครูใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่สละสลวยขึ้น
  • นักเรียนใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะ ทั้งการเขียน การพูด
  • นักเรียนเกิดความรักและภูมิใจในภาษา
  • นักเรียนมีพื้นฐานทางภาษาเพียงพอเพื่อการต่อยอดความรู้ ความคิด และ ความงามทางภาษา

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • ดูจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครูให้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
  • ดูจากการใช้ภาษา ทั้งในการทำงานทั้งวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆ
  • ดูจากชิ้นงานที่ทำ
  • ดูจากงานการทำโครงงาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้”
  • ดูจากพัฒนาการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

 

 กลุ่มครู ESL

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน
  • เรียนรู้คำที่มีเสียงคล้ายกัน และมีเสียงคล้องกัน
  • สร้างประโยคจากคำที่เคยเรียนรู้มาก่อน เช่น hot pot  กลายเป็น It is a hot pot.
  • คำนึงทำนองของภาษา ตอนนี้นักเรียนชั้น ๑ ยังพูดภาษาอังกฤษแบบมีโทนเสียงไม่ได้  จึงมีเป้าหมายที่จะสร้าง tonation ในการพูด
  • เพิ่มคลังคำ
  • แบ่งกลุ่มการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน โดยแบ่งเป็นโจทย์ง่าย และโจทย์ยาก

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • ทำให้นักเรียนชื่นชมความงามของภาษาและวัฒนธรรม
  • มีการออกเสียง phonics ที่ถูกต้อง
  • มีการแต่งประโยคที่มีเสียงคล้ายๆ กัน
  • ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนอังกฤษไม่ใช่เรื่องยาก
  • ทำให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • นักเรียนแต่งประโยคจากคำศัพท์ที่มีอยู่
  • อ่าน unseenparagraph ได้
  • นักเรียนได้แต่งกลอนภาษาอังกฤษ โดยเริ่มที่ free word
  • มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเมืองไทยมากขึ้น

 

 

กลุ่มครูมานุษกับโลก

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • บุคลิกภาพ การแต่งกายของครู ที่จูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้
  • ครูความพร้อมในการเตรียมตัวการสอน
  • ครูมีการพูดที่มีจังหวะชัดเจน มีการเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญ และขยายความให้เห็นอย่างชัดเจน
  • ครูแม่นยำทั้งเนื้อหา สติ สมาธิ
  • ครูมีสุขภาพดี
  • เริ่มการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยการประเมินความรู้สะสมของเด็กที่มี
  • ปรับการลำดับและการเชื่อมโยงเนื้อหา และการวางแผนให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้น
  • ปรับการสร้างโจทย์ให้เหมาะสมกับมือเด็ก ซอยโจทย์ให้เล็กลง
  • ให้แรงเสริมเชิงบวก
  • เปิดโอกาสให้นักเรียนคลี่คลายก่อน โดยการทำงานให้เต็มศักยภาพ ในกระบวนการทำงานกลุ่ม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทดลองและสรุปผล

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • ครูมีแผนรายปีและรายภาคให้ชัดเจน
  • นักเรียนทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
  • ทุกคนทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อเรียนรู้จากผู้อื่นอยู่เสมอ

 

 เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • ครูอยากมาทำงาน และมีความสุขกับการทำงาน  นักเรียนมีความสุขในการเรียน  การทำงาน  และเปิดรับรับความคิดเห็นของคนอื่น

 

 

กลุ่มครูธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • การหาความรู้สะสมของผู้เรียน และการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
  • การสร้างให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้
  • การย่อยโจทย์การเรียนรู้
  • ผู้สอนยืดหยุ่น ไม่ปิดกั้นความคิด ไม่ยึดแผนแต่เกาะไปกับแผน
  • ปรับปรุงการทำแผนกระดานให้ดี  ขณะที่สอนครูควรทำอะไรทีละอย่าง
  • กระบวนการการเรียนรู้ที่เอื้อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนมากขึ้น 

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • มีแผนกระดานที่ดี
  • มีทำชุดความรู้ที่ดี
  • การพัฒนาลักษณะของผู้สอนที่มีความยืดหยุ่น

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • แผนกระดานสอดคล้องกับแผนการสอนหรือไม่  สะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้แค่ไหน
  • คุณภาพการสรุปความรู้ในสมุดบันทึกของผู้เรียน
  • การสะท้อนจากคู่วิชา
  • AAR ของตนเอง

 

 กลุ่มครูกีฬา

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • ทดสอบความรู้ความสามารถของนักเรียน ทั้งทางร่างกาย การสื่อสาร
  • การสร้างโจทย์ที่เหมาะสมเพื่อไปสู่เป้าหมายในชั้นเรียน
  • บทร้องขณะวิ่งของนักเรียนในหน่วยวิชากีฬา 
  • เพลงมาร์ชกีฬา
  • เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการการแบ่งกลุ่มฝึกทักษะของนักเรียนออกเป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาทักษะอย่างมาก และกลุ่มที่พัฒนาทักษะได้ดี  และทำการคละกลุ่มช่วงท้าย ให้เกิดการสมดุลกันในทีม มีความยืดหยุ่นในแผน

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • ทำให้ทุกคนสนุกที่ได้เรียนกีฬา มีทักษะทางกีฬาเพิ่มขึ้น และได้ช่วยเหลือกัน
  • มีการใช้คำพูดที่เหมาะสม สุภาพ
  • มีการใช้กลอน และเพลงสั้นๆ ในการปลุกใจ
  • มีการนำเกมภูมิปัญญาไทย  และ brain gym เข้ามาใช้ในชั่วโมง 

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • การสังเกตการสอนของครูคู่วิชา และจากการบันทึกของครู
  • การปฏิบัติ และพัฒนาการของนักกเรียน เช่น มีร่างกายแข็งแรง อดทน เจตคติที่ดี มีคุณธรรม มีความสุข

 

กลุ่มครูดนตรีชีวิต

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • คาดหวังให้ผู้เรียนเกิดความรักในดนตรี
  • ช่วงชั้นที่ ๑  มีการนำโครงสร้างของดนตรีใช้กลอนมาปรับทั้งตัวบทบาทสมมติ  เมื่อสื่อสารทางร่างกายได้แล้ว ใช้โน้ตมาสอดรับกับโคลงกลอน
  • ช่วงชั้นที่ ๒  ฝึกที่จะทำไลน์ cannon ไลน์ประสาน

 

กลุ่มครูแสนภาษา

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • เล่านิทานก่อนสร้างงานศิลปะ
  • นำแนวคิดคำสร้างภาพ ภาพสร้างคำไปลองใช้  เช่นนำรูปแบบของคำนำมาสร้างเป็นสัญลักษณ์ใหม่ๆ  เช่น “รัก” ที่นักเรียนมักจะสร้างเป็นรูปหัวใจ อยากรู้ว่านักเรียนจะสร้างออกมาเป็นแบบไหนได้อีก
  • สื่อความหมายด้วยภาพ
  • มีคลังภาพ  คลังจินตนาการ กิจกรรมที่ส่งเสริมง่ายๆ เช่น เรื่องเส้น ลากเส้นทีละคนจนเกิดเป็นภาพใหม่  สนับสนุนเรื่องแนวคิดของจินตนาการที่แตกต่างกัน

 

 

กลุ่มครูประจำชั้น และครูแนะแนว

สิ่งที่เราจะนำไปใช้ในหน่วยวิชาของตนเองคืออะไร ทำอย่างไร

  • รวบรวมข้อมูลรายบุคคล
  • นำความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงครูประจำชั้นและครูแนะแนว

 

ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อสิ้นภาควิมังสาจะเห็นอะไรในหน่วยวิชาของเรา

  • ได้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล
  • ได้เข้าใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนและพัฒนาการของเด็ก โดยการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงเข้าไปร่วมตีความด้วย

 

เมื่อสิ้นภาควิมังสา จะมีวิธีประเมินผลการนำไปใช้อย่างไร

  • ประเมินความรู้ของครู ด้วยแบบทดสอบความรู้
  • มีแฟ้มรวบรวมข้อมูลรายบุคคล ที่เป็นระบบ ชัดเจน ไว้มองพัฒนาการ และเพื่อการส่งเสริมพัฒนาต่อไป
หมายเลขบันทึก: 555220เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท