สภาประชาชน / สมัชชาประชาชน จดหมายจากผู้ใหญ่(ที่มีคุณธรรม)ในบ้านเมือง (2)


ถึงพี่น้องทุกคน ครับ
 
คืนวันนี้( ๒๘ พย.) กำนันสุเทพ ได้ออกมาตอกย้ำเรื่องเจตจำนงของการก่อกำเหนิด "สภาประชาชน" อันเป็นการโต้แย้งนายกฯยิ่งลักษณ์ที่อ้างว่าสภาประชาชนนั้นไม่มีในรัฐธรรมนูญ และดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ นักนิติศาสตร์คนสำคัญที่ได้ศึกษามาจากเยอรมันนีได้กล่าวตอกย้ำสิทธิ และหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ และมาตรา๓ ของรัฐธรรมนูญ  ว่าเราสามารถสร้าง "สภาประชาชน"ที่ปกป้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  และมีอำนาจอธิปไตยที่จะปั้แต่งอนาคตและออกกฎหมายได้  ควบคุมรัฐบาลได้

 
หลัง จากที่ผมได้ครุ่นคิดทบทวน เรื่องสภาประชาชนและสมัชชาประชาชนและส่งความเห็นมาให้พวกเราได้พิจารณาไปแล้ว เมื่อวันก่อน  วันนี้หลังจากที่กำนันสุเทพและอาจารย์กิตติศักดิ์ได้พูดถึงเรื่องนี้  ทำให้ผมต้องรีบเขียนถึงพี่น้องมิตรสหายอีกครั้ง..
 
ในข้อเขียนสุด ท้ายผมได้ย้ำเตือนเรื่องต้องระมัดระวังการทำ "เสียของ" คือทำ"สภาประชาชน"ที่เราปรารถนาจะให้เกิดนั้น  ไม่ก่อเกิดพลังปัญญาและความสามารถพิเศษในการควบคุมทิศทางการพัฒนาแผ่นดิน ไทย  เพราะเราไม่สามารถเลือกสรร กลั่นกรองคนดีมีความสามารถจากกลุ่มชนและอาชีพหลากหลายมาสู่สภาประชาชนได้ ผมได้เห็นบุคคลที่"เยี่ยนตำแหน่ง เยี่ยนสายสะพายและเยี่ยนเกียรติยศจอมปลอมมามาก  ทำการออกแบบดีๆดังตัวอย่าง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคม  ที่มีการล้อบบี้ บล็อตโหวต กลุ่มอาชีพมาแล้ว..เราต้องไม่ให้ "สภาประชาชน"ทำผิดซ้ำเป็นอันขาด  เพราะมันเท่ากับทำลายความตั้งใจและความหวังในการสร้างอนาคตของชาติให้เป็น อัมพาตไปเพราะเราไม่สามารถสร้างกระบวนการที่ไร้ช่องโหว่ป้องกันคน "เยี่ยนอำนาจและอัตตาสูง"มาเข้าสภาประชาชนได้..ผมจึงให้ความสำคัญของ สมัชชาหรือสภาที่ "ไม่เป็นทางการ"...ซึ่งจะเป็นการจัดตั้งตนเองแบบวิถีธรรมชาติ
 
แต่ วันนี้ผมพบว่านอกจาก สมัชชาประชาชนหรือสภาประชาชนที่ไม่เป็นทางการแล้ว  เราจำเป็นต้องมีสภาประชาชนที่เป็นทางการในระดับชาติด้วย  เพื่อควบคุมทิศทางการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยทุกด้าน  อีกทั้งสภาประชาชนนี้ควรมีอำนาจในการออกกฎหมาย  เพื่อทำให้นโยบายปฏิรูปดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง  มีพลังและมั่นคง  ไม่หมุนกลับมาสู่สภาพอำนาจเดิม  สภาประชาชนจะวางรากฐานการปฏิรูปใหญ่ให้มั่น คง  ทั้งเชิงโครงสร้างและกระบวนการ  เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปให้ลุล่วงในระยะยาว  เพราะมีบางเรื่องที่ทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน  แต่บางเรื่องเป็นเรื่องยากต้องใช้เวลานาน   ดังนั้นสภาประชาชนที่ต้องทำงานให้สำเร็จเป็น"โครงการแห่งความหวัง"(project of hope) จึงต้องใช้เวลาประมาณ ๑ ถึง ๒ปี
 
ผมจึงใคร่ฝากให้เราช่วยกันครุ่นคิด สนทนาหารือกันถึง
 
๑)ที่มาของกลุ่มคนจากทุกสาขาอาชีพที่จะส่งตัวแทนมาเข้าสู่ภาประชาชน
๒)จำนวนที่เหมาะสม  ที่ไม่น้อย  แต่ไม่มากจนเกินไปจนทำให้สภาฯทำงานยาก ทำให้ปริมาณและคุณภาพ ไมสมดุลกัน
๓) กระบวนการสรรหา และเลือกสรร หรือเลือกตั้งแบบใด ที่ได้คนที่ตั้งใจทำงานเพื่อชาติโดยไม่หวังผลตอบแทนทางการเมือง และผลประโยชน์ส่วนตัว
๔) หลักการ ปรัชญาและจิตวิญญาน รวมทั้งกฎ กติกา มารยาทของการประชุม  ที่จะได้ทั้งคุณภาพในทุกๆด้าน   
๕) โครงสร้างที่สร้างสรร (innovative infrastructure)และโปร่งใส ที่จะเอื้ออำนวยการทำงานของสภาประชาชน ในสถานการณ์ที่ไม่ปรกติ หรือในสถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Phase of Transition)
 
อยากฝากพวก เราแต่ละจังหวัด  แต่ละองค์กร  ช่วยตั้งวง dialog  แล้วเสนอข้อสรุปมาทางผมภายใน ๗ วัน (ขอร้องอย่าคิดคนเดียว  ไม่มีใครจะเห็นรอบด้าน)
 
 
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕
หมายเลขบันทึก: 555157เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท