มวลสาร "พุทธคุณ" ของพระสมเด็จวัดระฆัง


ในวงการพระเครื่องจะมีคำที่กำหนดขึ้นมากมาย ที่ใช้เฉพาะกลุ่ม และเข้าใจเฉพาะคนที่สนใจศึกษาความหมายของคำเหล่านี้

แต่ก็ปรากฏว่ามีมือใหม่จำนวนมากที่ทั้งตีความผิด ไม่เข้าใจ และสับสนในคำที่วงการใช้ ทั้งโดยเจตนาในการสื่อตรงๆ และอ้อมๆ ให้เข้าใจเอาเอง

ที่อาจจะใช้คำตามความรู้ของตนเอง และคำที่สื่ออ้อมๆ แบบเลี่ยงบาลีก็มีมากมาย

เช่นคำว่า "มวลสารพระสมเด็จวัดระฆัง" นั้น สามารถตีความได้หลากหลายมาก

เพราะสามารถครอบคลุมตั้งแต่

ก. มวลสารพื้นฐาน ได้แก่ (1) ปูนเปลือกหอย  ที่นำมาตำเป้นเนื้อปูนที่ยังไม่เผา เป็นมวลสารหลักที่ทำให้เนื้อพระแกร่ง ที่ผมขอใช้คำว่า "ปูนดิบ" (2) ปูนที่นำมาเผาจนเป็นปูนขาว เป็นตัวประสานเนื้อปูนดิบให้เกาะกัน ที่ผมขอใช้คำว่า "ปูนสุก" และ (3) น้ำมันพืช ผสมเล็กน้อย เพื่อให้เนื้อปูนนุ่ม ไม่ปริร้าวได้ง่าย ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในการผสมพระเนื้อดินดิบ ที่เรียกกันว่า "น้ำว่าน 108" แต่พอระยะหลังๆ อาจจะหายาก จึงใช้ "ตังอิ้ว" แทน "น้ำว่าน  เป็นส่วนใหญ่ จนถึงปัจจุบัน

ข. มวลสารพุทธคุณ ที่ถือว่าเป็นมวลสารพิเศษ ที่มีหลากหลายมาก ตั้งแต่ (1) ผงพุทธคุณ ที่ทำมาจาก เศษตัดขอบของพระสมเด็จที่น่าจะมาจากครกก่อนๆ หรือองค์ก่อนๆ จะมีลักษณะเป็นก้อนปูน ขาวๆใหญ่ๆ ที่จะพบเฉพาะในพระวัดระฆัง ไม่พบในพระวัดบางขุนพรหม หรือวัดอื่นๆ (2) ผงชอล์คเขียนคาถาบนกระดาน เมื่อลบมาแล้ว ก็นำฝุ่นที่ได้มาใช้ผสมกับมวลสารหลัก ที่โดยหลักการทางเคมีก็น่าจะเป็นปูนสุกเช่นเดียวกันกับกับปูนที่เผาแล้ว (3) มวลสารที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระ เช่น ฝุ่นธูป ก้านธูป ดอกไม้แห้ง ฯลฯ (4) มวลสารที่เกี่ยวกับอาหารประจำวันที่เหลือของท่านสมเด็จฯ เช่น ข้าวแห้ง กล้วยบด ฯลฯ (5) มวลสารที่เป็นของ "ศักดิ์สิทธิ์" ที่ท่านสมเด็จโต ได้เก็บรวบรวมไว้ เช่น แร่ดอกมะขามจากกำแพงเพชร พระธาตุ หลังคาโบสถ์ ทรายจากโบราณสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ

ดังนั้นในการบอกกล่าวกันนั้น ภาษาที่ใช้ในวงการพระเครื่องนั้น มักจะเป็นภาษาคามความรู้สึกของคนรุ่นก่อนๆ ที่ทำให้คนรุ่นหลังๆ เกิดความสับสนได้โดยง่าย

เช่นในวงการชอบพูกกำกวมว่า "มวลสารสมเด็จวัดระฆัง" ที่ไม่น่าจะหมายถึงสิ่งที่ท่านสมเด็จโต ท่านได้รวบรวมไว้

แต่น่าจะหมายถึง "มวลสาร" แบบเดียวกัน มากกว่า เพราะของเก่านั้นได้อ้างว่าใช้กันมานานมาก ไม่น่าจะเหลือแล้ว

แต่ถ้ามวลสาร "แบบเดียวกัน" นั้นยังน่าจะพอหาได้ไม่ยากนัก

ณ ที่นี้ ผมคิดว่า มวลสารที่สามารถดูพระเก่าได้นั้น ก็น่าจะอยู่ในสองกลุ่มใหญ่ๆ ดังกล่าวข้างต้น

ถ้ามวลสารหลักนั้น ก็คงต้องดู พัฒนาการของปูนดิบ ปูนสุก และตังอิ้ว ที่เคยกล่าวไว้ในหลายที่แล้ว

วันนี้ขอเน้นเฉพาะ มวลสารพุทธคุณที่ยังคงเหลือให้เห็นชัดๆ ก็คือ กลุ่มที่ 5

ที่จะเห็นทั้งความหลากหลาย และความเก่าได้ไม่ยากนัก

พระเก๊เฉียบที่พบในตลาด มักจะใส่เฉพาะแร่ดอกมะขาม เพราะเป็นแร่เนื้ออ่อน สามารถทำให้ผิวกร่อน และหรือ สามารถขัดแต่งได้โดยง่าย ถ้าจะมีแร่อื่นๆ มักจะน้อย เพราะจะขัดแต่งยาก จับพิรุธได้ง่าย 

ดังนั้น จึงเพียงสังเกตความหลากหลายของมวลสารเหล่านี้ และความมนของแร่ ก็จะช่วยแยกแยะเก๊-แท้ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดังภาพ

พระสมเด็จที่สามารถดูได้ชัดๆ มักจะเป็นพระที่เนื้ออ่อนมวลสารหลัก การงอกคลุมผิวเกิดไม่มาก

สำหรับพระที่ผิวงอกคลุมทั้งองค์นั้น ต้องสังเกตจากจุดที่กร่อน และด้านข้างเท่านั้นครับ ดังรูป

ลองดูนะครับ

เข้าใจแล้วจะช่วยการหยิบพระแท้ ได้มากจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 555151เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท